วิดีโอช่วยตัดสิน หรือ วีเออาร์ (VAR) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของฟุตบอลในระดับของหลายๆ ลีกทั่วโลก โดยเฉพาะในลีกยุโรป (VAR) ถูกนำมาใช้ครั้งแรกบนเวทีฟุตบอลระดับใหญ่คือในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2018 ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพ ก่อนได้รับการยกย่องว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยตัดสินระหว่างแข่ง
โดยในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 20 พ.ย.-18 ธ.ค. นี้ ทำให้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ยังคงใช้ระบบ VAR รวมถึงจะใช้เทคโนโลยีล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ ด้วยเช่นกัน
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำนายทีมแชมป์ ฟุตบอลโลก 2022
ฟีฟ่า ประกาศ ฟุตบอลโลก 2022 แข่งวันแรก 20 พ.ย.
กกท.ยันซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายบอลโลกให้ดูฟรี!!
เทคโนโลยีการจับล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ SAOT (Semi-automated offside technology ) คือ เทคโนโลยีที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ผู้ตัดสินและผู้กำกับเส้น เพื่อช่วยให้ได้ตัดสินในเรื่องของการล้ำหน้าได้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีใหม่นี้จะใช้กล้องติดตามเฉพาะ 12 ตัวซึ่งติดตั้งที่จุดต่างๆ ใต้หลังคาสนามกีฬา เทคโนโลยีล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติจะสามารถติดตามลูกบอลและจุดข้อมูลมากถึง 29 จุดสำหรับผู้เล่นแต่ละคนในสนามเพื่อคำนวณทุกจุดในตำแหน่งที่จะเกี่ยวกับการการตัดสินว่าล้ำหน้าหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแขนและขา และให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพสามมิติ ทั้งนี้ อัล ริห์ลา (Al Rihla) ซึ่งเป็นลูกฟุตบอลทีใช้อย่างเป็นทางการจะให้องค์ประกอบที่สำคัญเพิ่มเติมในการช่วยตรวจจับเหตุการณ์ล้ำหน้า ลูกบอลแต่ละลูกจะมีเซ็นเซอร์อยู่ตรงกลางของลูกบอล ซึ่งจะส่งข้อมูลบอลไปยังห้องพิจารณาด้วยความเร็วที่ 500 ครั้งต่อวินาที ทำให้สามารถตรวจจับตำแหน่งการเตะลูกฟุตบอลก่อนล้ำหน้า ได้อย่างแม่นยำ
กระบวนการดังกล่าวจะช่วยเร่งการตัดสินใจ ในระยะเวลา 2-3 วินาที โดยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (Artificial Intelligence: AI) ที่เลือกช็อตและระบบจะทำการสร้างเส้นการล้ำหน้า ทำให้ผู้ตัดสินสามารถตัดสิน การล้ำหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ โดยฟีฟ่าประสบความสำเร็จในการทดลองเทคโนโลยีนี้ระหว่างการแข่งขัน ฟีฟ่า อาหรับ คัพ ในปี 2021 รวมไปถึงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก หรือ ฟีฟ่า คลับ เวิลด์ คัพ 2021