เปิดแผนฟื้นฟู “การบินไทย” ลดพนักงาน ฝูงบิน หวังทำกำไรปี 68
บมจ. การบินไทย ยื่นแฟนฟื้นฟูกิจการ เตรียมปรับลดพนักงาน ลดขนาดฝูงบิน กลับมาเปิดเส้นทางการบินยุโรป –เอเชีย หวังทำกำไรภายในปี 2568
การบินไทย ตั้งเป้าลดพนักงานอีก 7,000 คน ภายในปี 64
“การบินไทย” ปี 63 ขาดทุนหนัก 1.4 แสนล้าน ตลท.จ่อเพิกถอนหุ้นออกจากหลักทรัพย์
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่า การบินไทยได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ และยื่นแฟนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวานนี้
ปรับลดขนาดฝูงบิน เน้นเช่า
การบินไทยมีปรับปรุงโครงสร้างครั้งใหญ่ ตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีแผนปรับลดขนาดฝูงบิน จากเดิมมี 103 ลำ เหลือ 86 ลำ และปรับลดจำนวนแบบเครื่องบิน จากเดิมมี 12 แบบ เหลือ 5 แบบ ปรับลดแบบเครื่องยนต์จาก 9 แบบ เหลือ 4 แบบ เพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ของอุตสาหกรรมการบิน และความต้องการในการใช้เครื่องบิน รวมถึงได้มีการเจรจาปรับเงื่อนไขในการใช้เครื่องบินกับผู้เช่าเครื่องบิน โดยจะคิดค่าเช่าตามชั่วโมงการที่ใช้งานจริง คาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบินได้
เดินหน้าลดคนอีก 7,000 คน
ในด้านลดค่าใช้จ่าย การบินไทย มีแผนลดบุคลากรฝ่ายบริหาร จาก 740 คน เหลือ 500 คน และพนักงานจากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 29,000 คน ได้ลดลงไปแล้วเหลือล่าสุดประมาณ 21,000 คน คาดว่าในปี 2564 จะมีพนักงานเสียสละเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กรเพิ่มอีกประมาณ 6,000 ถึง 7,000 คน จะทำให้มีพนักงานคงเหลือประมาณ 14,000 ถึง 15,000 คน ในต้นปี 2565 คิดเป็น 50% จากพนักงานที่มีอยู่เดิมทั้งหมด เนื่องจากปรับตามความเหมาะสมกับแผนธุรกิจในอนาคต และลดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทฯ จากเดิมมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรอยู่ที่ 23% หากปรับลดพนักงานได้สำเร็จตามแผน จะเหลืออยู่ที่ 13%
เตรียมกลับมาเปิดเส้นทางบิน ยุโรป-เอเชีย ไตรมาส 3 ปีนี้
ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ของปี 2564 การบินไทย จะเริ่มกลับมาเปิดทำการบิน โดยมีเส้นทางบินในเมืองทวีป ยุโรป คือ แฟรงก์เฟิร์ต (เยอรมนี),ลอนดอน (อังกฤษ), ปารีส (ฝรั่งเศส), โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก), ซูริค (สวิตเซอร์แลนด์)
ส่วนเส้นทางบินในเมืองทวีป เอเชีย คือ เดลี (อินเดีย), สิงคโปร์, กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย), ปักกิ่ง (จีน), เฉิงตู (จีน), เซี่ยงไฮ้ (จีน), โอซากา (ญี่ปุน), นาริตะ (ญี่ปุน), ฮาเนดะ (ญี่ปุน), นาโกย่า (ญี่ปุน), มนิลา (ฟิลิปปินส์), ไทเป (ฮ่องกง), อินชอน (เกาหลี), จาการ์ตา (อินโดนีเซีย), ดักกา (บังคลาเทศ)
อย่างไรก็ตาม ภายหลังดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ คาดว่าจะทำให้การบินไทยเกิดกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ประมาณ 10% ภายในปี 2568
“การบินไทยจะโฟกัส เฉพาะช่องทางที่มีกำไรก่อน เราไม่เป็นสายการบินที่มีเครื่องบินเยอะแล้ว เราระดับ กลาง ล่าง เราต้องโฟกัสที่กำไร ถ้าเทียบกับปี 2019 กำลังการผลิต คนมานั่งประมาณ 85% ไฟล์ทบิน 85% จำนวนผู้โดยสาร 77% เราคาดว่าค่อย ๆ จะกลับขึ้นไปถึงปี 2024 เริ่มที่จะได้เห็นว่าเราอาจจะมีกำไร” ชาญศิลป์ กล่าว