คำนวณภาษีอย่างไร เมื่อได้เงินเดือน-ค่าจ้างเป็น "คริปโท"
กรมสรรพากร ออกคำแนะนำ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การคำนวณคริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล ในส่วนของผู้ที่ได้เป็นรูปแบบ เงินเดือน หรือ ค่าจ้าง
สำหรับการจ่ายภาษีคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือว่าเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมิน ประเภท 40(1) ซึ่งผู้รับจ้างได้รับค่าจ้างเป็นคริปโทเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นงานประจำหรือชั่วคราว ผู้มีเงินได้กรณีนี้ ถือเป็นก็ได้รับเงินได้พึงประเมินประเภท 40 (2)
เปิดสูตร "คำนวณภาษีคริปโท" ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน เพื่อยื่นแบบภาษี
สรรพากรคลอดแล้ว "ภาษีคริปโท" พร้อมแจงละเอียดยิบ 24 ประเด็นสับสน
หากได้รับเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และได้รับค่าจ้างซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) จาก นายจ้างรายเดียวกัน ด้วยแล้ว ผู้มีเงินได้จะต้อง รวมแสดง เป็นเงินได้ประเภท 40 (1)
สำหรับ การวัดมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีทั้งการคำนวณต้นทุนและรายได้ ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือ ราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้เลือกใช้วิธีนั้นตลอดปีภาษี
กรณีได้รับเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง เมื่อนำมูลค่าที่ได้รับไปเสียภาษีแล้ว จะสามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนในการคำนวณภาษีเมื่อจำหน่ายออกไปจริงได้ ในระหว่างปีภาษี หากผู้มีเงินได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ สามารถนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาใช้เป็นเครดิตภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ได้
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ให้แสดงรายได้จากเงินเดือน ตามสัญญาจ้างแรงงาน (มาตรา 40(1)) หรือ รายได้จากรับจ้างทั่วไป (มาตรา 40(2))
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91 (กระดาษ) ให้แสดงเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (กระดาษ) ให้แสดงเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2)