ภาคธุรกิจ-การผลิต ยังฟื้นยากเจอทั้งโอมิครอนและสงครามรัสเซีย-ยูเครน
โอมิครอนยังมีผลต่อกำลังซื้อที่อ่อนแอ รวมถึงความขัดแย้งรัสเซีย ยูเครน ยังเป็นผลกระทบหลักต่อการฟื้นตัวทั้งภาคการผลิตและภาคธุรกิจ
ผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัส โควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID) เดือนมีนาคม 2565 ระดับการฟื้นตัวของธุรกิจโดยรวมปรับดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนจากภาคที่มิใช่การผลิต โดยเฉพาะภาคบริการสอดคล้องกับระดับการฟื้นตัวของการจ้างงานจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ผ่อนคลายมากขึ้น
ส่องราคาก๊าซหุงต้มไทย ตั้งแต่วันนี้ปรับขึ้นทุกเดือน
3 สถาบันวิจัยการเงิน คาด กนง.คงอัตราดอกเบี้ย 0.5% ตลอดปีนี้
ขณะที่การฟื้นตัวของภาคการผลิตปรับลดลงเล็กน้อยจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนกระทบต้นทุนการผลิต ประกอบกับปัญหาการขนส่งที่ยังไม่คลี่คลาย โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร เหล็ก กระดาษ เครื่องจักร
ในส่วนของกำลังซื้อที่อ่อนแอ พบว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว แต่ภาคธุรกิจกว่าครึ่งมองว่า สายพันธุ์โอมิครอนได้รับผลกระทบน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา
ธุรกิจมีมุมมองต่อการฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อน โควิด-19 ยังล่าช้ากว่าการสำรวจรอบก่อน คาดว่าราวครึ่งปีหลัง 2565 ขณะที่นอกเหนือจากภาคการผลิตมองว่าการฟื้นตัวจะกลับมาราวครึ่งปีแรก 2566
หากไปดูที่สภาพคล่อง มีบางธุรกิจที่มีสภาพคล่องน้อยกว่า 3 เดือน เช่น ผลิตเหล็ก ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ค้าปลีกยานยนต์ ตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก
ขณะที่สต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้นในเกือบทุกประเภทของธุรกิจจากการปิดโรงงานของประเทศคู่ค้าจากไตรมาสก่อนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
ในส่วนของรายได้แรงงาน เริ่มมีการให้กลับมาใช้นโยบานสลับกันทำงาน ใช้วันลาประจำปีและลดชั่วโมงการทำงาน คาดว่าจาการจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่บางธุรกิจเริ่มมีการให้ Leave eithout pay เพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจผลิตยานยนต์ ที่การผลิตลดลงตามการขาดแคลนขิ้นส่วนในบางรุ่น และธุรกิจโรงแรมที่เริ่มเข้าสู่ช่วง Low season
ที่มา : ผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ต่อภาคธุรกิจ ไทย (BSI COVID) เดือนมีนาคม 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย