วิกฤต Food Protectionism ผลกระทบจากสงครามลามทั่วโลก
รู้จักวิกฤต Food Protectionism เมื่อทั่วโลกจำกัดการส่งออกอาหารเพื่อปกป้องความเพียงพอและรักษาระดับราคาอาหารในประเทศ ส่วนประเทศไทยได้รับกระทบแค่ไหน? จากวิกฤตนี้
Food Protectionism คือ...
“ปุ๋ยแพง” กดดันผลผลิต ข้าวไทยในประเทศอาจเข้าสู่ภาวะตึงตัว
ครบรอบ 25 ปี "ต้มยำกุ้ง" วิกฤติไม่ซ้ำรอย แต่ครั้งใหม่กำลังมา
แนวคิดการจำกัดการส่งออกเพื่อปกป้องความเพียงของอาหารภายในประเทศและรักษาเสถียรภาพของราคาอาหารภายในประเทศ ซึ่งวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้หลายประเทศ งดการส่งออกสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ล่าสุดมีจำนวน 20 ประเทศ รวมถึงเพื่อป้องกันการบริโภคในประเทศ หลังราคาสินค้าเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในสินค้า ข้าวสาลี น้ำมันปรุงอาหาร
ราคาอาหารโลกยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากข้อมูลขององค์การอาหาร และการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรอื FAO ดัชนีราคาอาหาร (Food Price Index) ในเดือนพฤษภาคม 2022 อยู่ที่ 157.36 เพิ่มขึ้น 22.8% โดยเฉพาะกลุ่มพืชน้ำมันที่มีดัชนีราคาอยู่ที่ 229.25 หรือเพิ่มขึ้นสูงถึง 31.1% ดัชนีราคาในกลุ่มธัญพืชที่มีค่าอยู่ที่ 173.41 เพิ่มขึ้น 29.7%
Food Protectionism รุนแรงกว่าวิกฤตในปี 2008 และ โควิด-19
สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนในปี 2022 หากแบ่งปริมาณการค้าโลกในรูปแบบของแคลลอรี ผลกระทบจากการจำกัดการส่งออกจะอยู่ที่ 18% ของปริมาณการค้าโลก เพราะในรูปของแคลลอรีที่ได้รับจากอาหารทั้งหมดโดยเฉพาะอาหารในกลุ่มธัญพืชและน้ำมันปรุงอาหาร สูงกว่าช่วงวิกฤตในปี 2008 ผลกระทบมีสัดส่วนอยู่ที่ 12% และในช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 ในขณะนั้น 5% ของปริมาณการค้าโลก
ไทยได้รับผลกระทบมากแค่ไหน ? จาก Food Protectionism
สำหรับประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “ครัวของโลก” ในระยะสั้น โอกาสที่ไทยจะเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารมีน้อย เนื่องจากความต้องการบิโภค สินค้าอาหารและวัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบยังมีน้อยกว่าผลผลิตในประเทศ เพราะสัดส่วนความต้องการบริโภคในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ราว 25-90%ของผลผลิต ในประเทศ เช่นเดียวกับอัตราส่วนสต็อกต่อความต้องการใช้ในประเทศของสินค้าอาหารส่วนใหญ่ยังสูง เช่น ข้าว
แม้ว่าในวิกฤตนี้จะเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกอาหารบางชนิดเพิ่ม เช่น สินค้าปศุสัตว์ แต่ยังมีเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้น เช่น การ ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งต้องใช้กากถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นวัตถุดิบใน การผลิต โดยผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ของไทยมีต้นทุนที่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบถึง 80% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดรวมทั้งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยัง ผู้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากอาหารสัตว์ เป็นต้นทุนถึง 60-70% ของต้นทุนรวม
ทำให้ราคาจาหน่ายเนื้อสัตว์มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถ ในการแข่งขันของสินค้าปศุสัตว์ โดยเฉพาะไก่เนื้อ ซึ่งพึ่งพาการส่งออกถึง 60% ของปริมาณการผลิตทั้งหมดของไทย
ระยะกลาง-ระยะยาว
วิกฤตสงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน จะเร่งให้ ให้ความสำคัญกับเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตรในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า และเพื่อความมั่นคงทางอาหารซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการแข่งขัน ที่รุนแรงขึ้นในตลาดสินค้าเกษตรโลก
ขณะที่จีนที่มีนโยบายปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจ แบบพึ่งพาตนเอง (Self Sufficiency) ซึ่งจะส่งผลให้จีนมีความต้องการนำเข้าอาหารลดลง ในส่วนของไทยกระทบการส่งออกข้าวขาวของไทยซึ่งพึ่งพาตลาดจีน เป็นตลาดหลัก ไปจนถึงตลาดข้าวที่มีการขันรุนแรงขึ้น ดังนั้น ไทยควรตั้งรับโดยการเพิ่มการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้มากขึ้น ภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการวางนโยบายที่ชัดเจนในการจัดโซนนิ่งการเพาะปลูกที่เป็นอาหารกับการปลูกพืชเพื่อผลิตพลังงานทดแทนและบริหารจัดการวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : Krungthai COMPASS