ตลาดอาหารเสริมโตเกือบ 8 หมื่นล้าน คนไทยยอมจ่ายเดือนละพันกว่าบาท
เปิดตัวเลขผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคนไทย มูลค่าตลาดสูงถึง 7.42 หมื่นล้านบาท ขณะที่คนไทยส่วนใหญ่มองว่าเป็นสิ่งจำเป็นยอมจ่ายเดือนละ 1,000 กว่าบาท
การดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
การบริโภคอาหารของผู้คนมีความหลากหลายน้อยลง นอกจากนี้ ปัจจุบันผู้คนได้ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ และรูปร่างหน้าตามากขึ้นจึงหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
แรงงานเฮ! ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ “ภูเก็ต-ชลบุรี-ระยอง” ครองแชมป์ 354 บาท/วัน บังคับใช้ 1 ต.ค.นี้
เปิด 3 กลุ่มอาชีพมี "ภาวะหมดไฟ" ในระดับสูงท่ามกลางปัญหาค่าครองชีพสูง
ข้อมูลของ EuroMonitor พบว่า ปี2559 ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินของประเทศไทย มีมูลค่า 53,810 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 74,247 ล้านบาท ในปี 2564
มีครัวเรือนไทยที่บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปี 2564 กว่า 1.8 ล้านครัวเรือน
ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินของประเทศไทย เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 149.3% โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,036 บาทต่อเดือน โดยประชาชนกว่า 70% มีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์อาารเสริมเป็นสิ่งจำเป็นต้องรับประทานเป็นประจำ (ข้อมูลจากการสำรวจของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข)
สะท้อนให้เห็นว่าแม้ว่าคนไทยจะมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้ ซึ่งการดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่การบริโภคอาหารของผู้คนมีความหลากหลายน้อยลง
แต่บางส่วนยังมีทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่รอบด้านมากนัก ซึ่งข้อทเ็จจริงของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คือ
1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ขึ้นทะเบียน อย.ในประเภทอาหาร มิใช่ประเภทยา ซึ่งการได้รับเครื่องหมาย อย. ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าจะได้รับ ประโยชน์หรือเกิดผลต่อร่างกายตามที่คาดหวัง เพียงแต่เป็นการรับรองว่าวัตถุดิบและกระบวนการผลิตจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค
2.ไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นต้องบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากสารอาหารในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนใหญ่เป็นสารที่ผู้บริโภคสามารถได้รับจากการบริโภคอาหารปกติ
3.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีโทษเช่นกัน เนื่องจากสารประกอบบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อผู้บริโภค
4.สารอาหารที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีต้นทุนสูงกว่าการรับประทานอาหารปกติ
และ 5.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนมากยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนถึงผลต่อร่างกาย จะเห็นได้ว่าหากรับประทานอาหารอย่างเพียงพอและหลากหลาย ก็จะได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่สำหรับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางโภชนาการ อาจใช้เพื่อเสริมสารอาหารที่ขาดไปได้
กลุ่มที่พิจารณาบริโภคอาหารเสริมเพื่อทดแทนสิ่งที่ร่างกายขาดไป เช่น
1.ผู้ที่มีโรคประจำตัว/มียาประจ าตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และผู้ที่ต้องการบริโภคควรพิจารณาตามความต้องการและข้อจำกัดของร่างกายตนเอง
2.ศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อโดยเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ มีฉลากแสดงส่วนประกอบ จดทะเบียน อย.
และ 3.ไม่ควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณดีเกินไป นอกจากนี้ผู้บริโภคไม่ควรหวังพึ่งสารอาหารจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นหลักโดยละเลยการให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารและพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสม
สำหรับภาครัฐควรมีแนวทางในการรวบรวมข้อมูล แนวทางในการเลือกซื้อ รวมถึงระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไว้ด้วยกันเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาบริโภคได้สะดวกมากขึ้น