เปิด 3 กลุ่มอาชีพมี "ภาวะหมดไฟ" ในระดับสูงท่ามกลางปัญหาค่าครองชีพสูง
รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 2/2565 พบ ไทยกำลังเผชิญทุกกลุ่มอาชีพมีภาวะหมดไฟในระดับสูง ขณะที่สถานการณ์จ้างงานเริ่มฟื้นแต่ปัญหาเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดหนี้เสีย
ในการแถลงรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 2/2565 พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ ปัญหาการหมดไฟในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันแรงงานทั่วโลก จำนวนมากเริ่มมีภาวะหมดไฟในการทำงานและลาออกมากขึ้น ซึ่งจากการสำรวจของวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจแรงงานในกรุงเทพมหานคร ปี 2562 พบว่า แรงงานในทุกกลุ่มอาชีพมีภาวะหมดไฟในระดับสูง คือ
คนไทยเป็นหนี้ครัวเรือน สูงเป็นประวัติการณ์
โควิด-19 ส่งผลต่อความยากจนไปอีกอย่างน้อย 2 ปี และยากที่จะหลุดพ้น
- พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีภาวะหมดไฟมากที่สุด ร้อยละ 77
- รองลงมาเป็น บริษัทเอกชน ร้อยละ 73
- ข้าราชการ ร้อยละ 58
- ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 48
จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ นายจ้าง/องค์กรต่างๆ ต้องการกระตุ้นให้มีโครงการที่สร้างสรรค์และออกแบบให้คนในองค์กรมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง มีความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างกัน รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน
สถานการณ์แรงงานไตรมาสสอง ปี 2565 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.0 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงาน 27.4 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะสาขาการผลิต สาขาขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี
สำหรับ สาขาที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ซึ่งการจ้างงานที่ชะลอตัวในสาขาการก่อสร้าง เนื่องจากความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจที่แม้จะปรับตัวดีขึ้นแต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่สาขาโรงแรม/ภัตตาคารการจ้างงานปรับตัวลดลง เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวยังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว
สำหรับภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงาน 11.7 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมกลับไปทำงานในสาขาเดิมตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้นใกล้เคียงกับช่วงปกติ โดยภาพรวมและภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
ส่งออกเดือนก.ค.โต 4.3% ขยายตัว 17 เดือนติด วิกฤติอาหารดันภาคเกษตรพุ่ง
เตือนคนชอบเที่ยว อย่าลืมจอง "เราเที่ยวด้วยกัน" เฟส 4 เหลือ 1.85 แสนสิทธิเท่านั้น
หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 ขยายตัวแต่ต้องเฝ้าระวังหนี้เสีย
แม้ว่าหนี้สินครัวเรือนอยู่ในอัตราที่ชะลอลง และคุณภาพสินเชื่อทรงตัวแต่ต้อง เฝ้าระวังหนี้เสีย โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์
เนื่องจากผลกระทบจากค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อลูกหนี้ ไตรมาสหนึ่ง ปี2565 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 ลดลงจาก ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 89.2 ลดลงจากไตรมาสก่อน
ตามความกังวลของผู้บริโภคจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และทำให้ ครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ ด้านความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว โดยมีสัดส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.78 ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและ การปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยชะลอไม่ให้เกิดหนี้เสียเพิ่ม ในระยะถัดไป
ผลกระทบของภาระค่าครองชีพที่อาจกดดันให้ครัวเรือนมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ครัวเรือน ที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวและได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงมีการก่อหนี้มากขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของครัวเรือนเพิ่มขึ้นและกระทบต่อครัวเรือนที่ขอสินเชื่อใหม่ เนื่องจากจะต้องรับภาระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น
คุณภาพสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อ บัตรเครดิต และสินเชื่อยานยนต์ โดยสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นและสินเชื่อบัตรเครดิต มีสัดส่วนสินเชื่อ NPLs ต่อสินเชื่อ รวมปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (สินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้น
สะท้อนความเสี่ยงของการเกิด NPLs โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง หรือมีกันชนทางการเงินต่ำ
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง และมีมาตรการ แก้หนี้ที่เฉพาะเจาะจง สำหรับกลุ่มเปราะบาง และรายได้ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่ ส่งเสริมให้มีการก่อหนี้ใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้หนี้ครัวเรือนมีมูลค่าสูงจนกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
คนว่างงานเหลือ 2.2 ล้านคนแต่คนทำโอทีเพิ่ม
จำนวนผู้เสมือนว่างงานปรับตัวลดลงจาก 2.8 ล้านคนในไตรมาสสอง ปี 2564 เหลือ 2.2 ล้านคน ในปัจจุบัน แต่ผู้ทำงานล่วงเวลา (ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง/สัปดาห์) มีจำนวน 6.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
อัตราการว่างงานในไตรมาสสองปี 2565 ลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 5.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.37 ลดลงทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนและไม่เคยทำงานมาก่อน
ขณะเดียวกัน การว่างงานยังปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่ม โดยผู้ว่างงานระยะยาว (ผู้ว่างงานนานกว่า 1 ปี) มีจำนวน 1.5 แสนคนลดลงร้อยละ 1.2 จากไตรมาสสองปี 2564 การว่างงานตามระดับการศึกษาลดลงในทุกระดับการศึกษา และอัตราการว่างงานในระบบอยู่ที่ร้อยละ 2.17 ลดลงจากร้อยละ 2.77 จากปีช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เพิ่มสลากดิจิทัล 11.4 ล้านใบ งวด 16 ก.ย. 65
เนต้า ออโต้ เตรียมแนะนำ 'NETA U' สู่ตลาดในไทยปี 2566