เจาะสิทธิ "ช้อปดีมีคืน" ซื้ออะไรบ้าง? ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้ปี 65
การยื่นภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.91/90 ปีภาษี 65 หนึ่งในสิทธิการลดหย่อนคือ "ช้อปดีมีคืน" ที่นำมาใช้ได้ แต่ก่อนยื่นลองดูก่อนว่าสินค้าที่เราซื้อนั้นเข้าข่ายหรือไม่
ย้ำก่อนว่า การใช้สิทธิช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี จะต้องเป็นการซื้อสินค้าและบริการในช่วงวันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ.65 ซึ่งสินค้าบางรายการ "ไม่เข้าเกณฑ์"
อย่าลืม "สิทธิช้อปดีมีคืน " เตรียม "วางแผน" ลดหย่อนภาษีปี 65
แบงก์ชาติ เตรียมร่อนจดหมายให้ธนาคาร คุมโปรฯ บัตรเครดิตที่จูงใจให้คนก่อหนี้เพิ่ม
- ค่าสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่ายาสูบ บุหรี่
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ เรือ
- ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
- ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการจัดนำเที่ยว
รวมถึง
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
- เบี้ยประกันชีวิต ประกันอุบัติ ประกันรถยนต์
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลา 1 ม.ค.-15 ก.พ.65 (จ่ายก่อนล่วงหน้า รับบริการภายหลัง)
นอกจากนี้ สินค้าและบริการต่อไปนี้ก็ไม่เข้าเกณฑ์ใช้สิทธิลดหย่อนช้อปดีมีคืนได้
- ทองคำแท่ง
- ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าทำศัลยกรรม
- ผักผลไม้สด
- เนื้อสัตว์สด
นอกจากนี้ สินค้าบางรายการที่ "เหมือนจะได้สิทธิลดหย่อน" แต่ก็ยังมีรายละเอียดที่ต้องสังเกตคือ
1.สินค้าบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยการใช้สิทธิลดหย่อนช้อปดีมีคืนจะต้องใช้ "ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ" ที่ปรากฏชื่อและข้อมูลผู้ซื้อด้วย (ไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีอย่างย่อได้) ส่วน หนังสือ (รวม e-book) หนังสือและ e-book โดย ผู้ขายต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่านั้น (เจ้าของร้านหนังสือเป็นบุคลลธรรมดาใช้ลดหย่อนไม่ได้)
2.สินค้า OTOP (โอทอป) ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยจะเป็นสิค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ได้ ต้องเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ทุกรายการ
3.ค่าธรรมเนียมเทรดหุ้น ค่าธรรมเนียมซื้อกองทุนรวม (Front-end fee) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนรวม (Management fee) ลดหย่อนภาษีไม่ได้
4.ค่าซื้อทองรูปพรรณ สามารถใช้ลดหย่อนช้อปดีมีคืนได้เฉพาะค่ากำเหน็ดหรือบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ตัวทองคำเองไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้
5.ยารักษาโรค อาหารเสริม ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ ค่าบริการทางการแพทย์ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม โดยปกติจะไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่สามารถนำไปลดหย่อนได้
6.ค่าที่พักในโรงแรมไม่สามารถนำไปใช้สิทธิลดหน่อยได้ แต่ค่าอาหารเครื่องดื่ม (ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกฮอล์) ยังสามาถใช้สิทธิลดหย่อนได้
7.ค่าซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ และนำบัตรมาใช้ในช่วงวันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ.65 หรือค่าบริการเช่ารถยนต์ ค่าซ่อมรถ/เปลี่ยนยาง ที่รับบริการแล้วเสร็จในช่วง 1 ม.ค.-15 ก.พ.65 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ แต่ถ้ารับบริการก่อนหรือหลังใช้ไม่ได้
8.อุปกรณ์ไอที เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เช่น iPhone iPad Macbook ไม่ว่าจะซื้อราคาเต็มหรือจาก Outlet สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
9.สินค้าจากร้านปลอดภาษี หรือ Duty Free หากเป็นสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้
10.รายการที่ซื้อสะสมหลายใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีหลายใบ หรืออยู่ในใบเดียวกันก็ได้ แต่ถ้ายอดซื้อเกิน 30,000 บาท รวม VAT แล้ว จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท
11.การซื้อของออนไลน์ เช่น Shopee , Lazada หรือร้านค้าออนไลน์ต่างๆ จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ถ้าซื้อจากร้านที่ออกใบกำกับภาษีได้ เพราะฉะนั้นต้องถามผู้ขายให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ
12.ในกรณีที่รายการสินค้ามีทั้งเสีย VAT และไม่เสีย VAT อยู่ในใบกำกับภาษีเดียวกัน จะได้สิทธิลดหย่อนเฉพาะสินค้าที่เสีย VAT เท่านั้น เช่น ถ้าซื้อทั้งนมช็อกโกแลต (เสีย VAT) และนมจืด (ไม่เสีย VAT) จะได้สิทธิลดหย่อนนมช็อกโกแลตอย่างเดียว
13.การซื้อสินค้าและบริการจะจ่ายด้วยเงินสด พร้อมเพย์ บัตรเดบิต หรือ บัตรเครดิตก็ได้ขอให้ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีลงวันที่ภายใน 1 ม.ค.-15 ก.พ.65 และมีรายละเอียดครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
เช็กดีๆ ก่อนยื่นลดหย่อน เดี๋ยวเสียสิทธิจะพาลเสียอารมณ์ไปด้วย