ธุรกิจ"เด็กหลอดแก้วโต" ยังเติบโตต่อได้ ไทยมาแรงหลังโควิด-19
ส่องการเติบโต "ธุรกิจเด็กหลอดแก้ว" ไทยมาแรงหลังโควิด-19 จุดเด่น หมอเก่ง ราคาถูก ใช้บัตรทองได้
มีลูกยาก เป็นปัญหาที่พบบ่อย และบ่อยมากขึ้นทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ภาวะมีบุตรยากเป็นโรคที่ต้องรักษา ซึ่งสาเหตุสำคัญ คือ วิถีการดำเนินชีวิต ในปัจจุบันเผชิญกับมลภาวะ ความเครียดจากการทำงาน พฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รวมถึงพฤติกรรมของชีวิตคู่ มีแนวโน้มที่จะแต่งงานและพร้อมที่จะมีบุตรช้า
การทำ ICSI ในปัจจุบัน เพิ่มโอกาสมีบุตรได้ถึง 80-90%
"ซัมซุง" ประกาศตั้ง “อี แจ-ยอง” รับตำแหน่งผู้บริหาร ย้ำเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ของโลก
ต้องยอมรับว่า คนสมัยใหม่มุ่งเน้นความก้าวหน้ามากกว่าแต่งงาน มีลูก ใช้เวลาหมดไปกับการเรียน การทำงาน และทัศนคติที่จะมีบุตรเมื่อมีความพร้อมด้านการเงินหรือหน้าที่การงานแล้ว
ซึ่งความพร้อมจะมาพร้อมอายุที่มากขึ้น พร้อมกับสมรรถภาพมีลูกลดลง
ตาม ข้อมูลของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของสหรัฐอเมริกา พบว่า การตั้งครรภ์ของสตรีกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มการตั้งครรภ์ของสตรีกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของไทย
ปี 2561 อัตราการคลอดบุตรของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป เท่ากับ 40.5 (คน) ต่อประชากรหญิงวัยเดียวกัน 1,000 คน เพิ่มขึ้น 14.7% จากปี 2551 ที่มีค่าเท่ากับ 35.3 (คน) ต่อประชากรหญิงวัยเดียวกัน 1,000 คน
ทั้งหมดล้วนเป็นแรกผลักดันให้ตลาดทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In-vitro Fertilization) มีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต เพราะ โอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการแท้งบุตร และช่วยให้มีโอกาสที่ได้บุตรที่ปกติ แข็งแรง ไม่มีโรคผิดปกติทางพันธุกรรม และกำหนดช่วงเวลาที่จะวางแผนจะตั้งครรภ์ได้
ซึ่ง IVF เป็นการรักษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเฉพาะ IVF with ICSI (เรียกสั้นๆ ว่า อิ๊กซี่) ซึ่ง ICSI แพทย์จะทำการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงที่สุดตัวเดียว แล้วใช้เข็มฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง
โดยมูลค่าการตลาด อิ๊กซี่ มีสัดส่วนถึง 63% ขณะที่ IVF without ICSI และจะนำไข่และอสุจิหลายตัวไปผสมในจานเพาะเลี้ยง โดยปล่อยให้อสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุดว่ายเข้ามาผสมกับเซลล์ไข่ตามธรรมชาติ ซึ่งส่วนนี้มีสัดส่วนรองลงมา คือ 27%
ส่อง ตลาด IVF ของไทยยังมีแนวโน้มเติบโต
แรงหนุนสำคัญ จาก Fertility Tourism ที่ฟื้นตัวและโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า Krungthai COMPASS มองว่า ตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี IVF ในไทยยังมีโอกาสเติบโตสอดคล้องกับเทรนด์ในต่างประเทศ ทั้งชื่อเสียงของแพทย์ คุณภาพและมาตรฐานการรักษา และการบริการที่ดีจากแพทย์และพยาบาล คือ ค่ารักษาพยาบาลในไทยถูกกว่าประเทศคู่แข่งและประเทศชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกา
จากข้อมูลของ Medical Tourism Association พบว่า ค่าบริการการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ต่อครั้ง ของไทยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4,100 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 135,000 บาท) ถูกกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 67% และยังถูกกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย ถึง 72% และ 41% ตามลำดับ
และการเติบโตนี้จะเข้ามามีบทบาทในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจบริการทางการแพทย์ของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน และคลินิกเฉพาะทางด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ตลาดนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด คือ การขยายตัวของตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยาก หรือที่เรียกว่า Fertility Tourism โดยมีกลุ่มลูกค้าสำคัญเป็น ชาวจีน จากนโยบายมีบุตรคนที่ 3
คาดมูลค่าตลาด IVF ของไทย 3.3 พันล้านบาท ในปี 2570
จากข้อมูลของ Allied Market Research ระบุว่า ในปี 2563 การบริการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี IVF ของไทย ได้รับผลระทบจากวิกฤติโควิด-19 ที่ทำให้มีการล็อคดาวน์ จนส่งผลให้มูลค่าตลาดลดลงเหลือเพียง 66.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.2 พันล้าน
แต่มูลค่าตลาดจะกลับมาฟื้นตัวได้ และมีมูลค่าแตะระดับ 99.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.3 พันล้านบาทในปี 2570 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (ปี 2563-2570) 6.0% ต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2563 กว่า 1.5 เท่า
ไทยพร้อมหรือยัง? ที่จะเป็นศูนย์กลางด้าน IVF
สำหรับประเทศไทยมีศักยภาพและมีชื่อเสียงในการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยปัจจุบัน (ณ 13 ก.ย. 2565) มีสถานพยาบาลของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจำนวน 103 แห่ง แบ่งเป็น สถานพยาบาลภาครัฐ 16 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 31 แห่ง และคลินิกอีก 56 แห่ง
โดยจุดเด่นสำคัญที่นอกเหนือจากชื่อเสียงของแพทย์ คุณภาพและมาตรฐานการรักษา และการบริการที่ดีจากแพทย์และพยาบาล คือ ค่ารักษาพยาบาลในไทยถูกกว่าประเทศคู่แข่งและประเทศชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกา
สิทธิบัตรทองก็สามารถใช้บริการ IVF
เมื่อเดือน พ.ย.2564 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีมติออกประกาศขอบเขตบริการใหม่ หรือสิทธิประโยชน์ใหม่ โดยเพิ่มการให้บริการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากสามารถเบิกจ่ายได้ แต่ยังยกเว้นกรณีตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ) โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาการทำ IVF รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ โดยให้ดำเนินการในระดับเขตสุขภาพ โดยใช้การส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อม โดยสามารถเบิกค่าใช้จ่ายบริการให้คำปรึกษา การรักษาเบื้องต้น การตรวจโรคที่เป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก และรักษา รวมถึงการฉีดน้ำเชื้อจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ที่มา : Krungthai COMPASS