ทรัพย์แบบไหนได้มาแล้วต้องเสีย และใคร? มีหน้าที่ เสีย "ภาษีมรดก"
รู้จักภาษีมรดก ทรัพย์สมบัติที่ได้มาประเะภทใดต้องเสียภาษี และใครมีหน้าที่ต้องเสีย ใครได้ยกเว้น
ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดกตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
สัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยครึ่งหลังปี 66 กลยุทธ์ลงทุนแนะถือเงินสดไว้ก่อน
รบ.ชี้ภาษีขายหุ้นไทยเก็บต่ำกว่าหลายชาติในเอเชีย ยันไม่เว้นให้รายใหญ่
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก คือ ผู้รับมรดกที่ได้มรดกสุทธิหลังหักภาระติดพันต่างๆ แล้ว เช่น ภาระจำนอง ฯลฯ จากเจ้ามรดกแต่ละรายในคราวเดียวหรือหลายคราว ให้เสียภาษีเฉพาะมูลค่ามรดกสุทธิส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในอัตราภาษีร้อยละ 10
แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานก็ให้เสียภาษีในอัตราภาษีร้อยละ 5 ไม่คำนึงถึงจำนวนครั้ง หรือ จำนวนหน่วยของทรัพย์มรดกที่ได้รับ
ทรัพย์มรดกที่ต้องเสียภาษีต้องเป็นสิ่งของที่มีทะเบียน ได้แก่
- อสังหาริมทรัพย์
- หลักทรัพย์
- เงินฝาก
- ยานพาหนะ
- ทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนด
- บุคคลที่มีสัญชาติไทย (บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล)
- บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถื่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือได้รับทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
- ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ
- คู่สมรสของเจ้ามรดก
- บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
- หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
- บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ