“กสิกรไทย” ปรับเป้าปี 66 นทท.เข้าไทยทะลุ 30 ล้านคน ดันจีดีพี แตะ3.7%
นักวิเคราะห์ ธ.กสิกรไทย ประเมินปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว +3.7% ได้อานิงส์จีนเปิดประเทศ คาดในปีนี้ช่วยหนุนนักท่องเที่ยวเข้าไทย ทะลุ 30 ล้านคน พร้อมประเมินเงินบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าตลอดปี กรอบ 32 - 33.5 บาท
KBANK ตั้งเป้าปี 66 สินเชื่อโต 5-7% คุมเพดาน NPL ไม่เกิน 3.25%
“ทีทีบี” คาดท่องเที่ยวไทยปี 66 ต่างชาติพุ่ง 28 ล้านคน อานิสงส์จีนเปิดประเทศ
6 ก.พ.นี้ จีนอนุญาตจัด “กรุ๊ปทัวร์” ไปเที่ยวได้ 20 ประเทศ รวมถึงไทย
นางสาวกฤติกา บุญสร้าง ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยยังคงต้องพึ่งพาอุปสงค์จากต่างประเทศทั้งภาคการท่องเที่ยว และภาคส่งออกเป็นหลัก โดยในปี 2565 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยแตะ 11.1 ล้านคน โดยเฉพาะในเดือน ธ.ค.65 มีนักท่องเที่ยวเข้าไทยราว 2.4 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 57% ของเดือน ธ.ค. 262 ส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรวมมีจำนวนมากขึ้นใกล้กับระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19
โดยแม้ในจำนวนดังกล่าวยังมีนักเที่ยวชาวจีนเพียงหลักหมื่นคน แต่ล่าสุดจีนได้เริ่มกลับมาเปิดประเทศแล้วเมื่อ 8 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา รวมถึงอนุญาตให้จัดกรุ๊ปทัวร์เดินทางไปเที่ยวได้ 20 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย เริ่มในวันที่ 6 ก.พ. 66 เป็นต้นไป จึงส่งผลให้ กสิกรไทย คาดการณ์ว่า จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไทยตลอดปี 2566 แตะระดับ 30 ล้านคน และจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยกลับมาเป็นพวกอยู่ที่ 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.99 แสนล้านบาท
ทั้งนี้รวมถึงคาดว่า ปัจจัยดังกล่าวจะช่วยหนุนให้เงินบาทไทย ยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องตลอดปี 2566 แม้จะมีความผันผวนบ้างโดยเฉพาะไตรมาสที่ 2/66 ที่อาจจะมีกระแสเงินทุนไหลออก ซึ่งประเมินกรอบทั้งปีอยู่ที่ระหว่าง 32 - 33.5 บาท
ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปี 2566 หลังจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่าปี 2566 เศรษฐกิจจะเติบโต (GDP) ถึง +3.7% แต่อย่างไรก็ตามภาคส่งออกยังคงชะลอตัวลง จากการถดถอยทั่วโลก และฐานที่สูงในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องระวัง ในช่วงเงินบาทแข็งค่าอาจเผชิญกับกระแสเงินทุนไหลออกทั้งตลาดหุ้นและพันธบัตร ที่ก่อนหน้านี้ต่างชาติเข้ามาซื้อในช่วงเงินบาทอ่อนค่า จนสัดส่วนถือครองหุ้นไทยสูงถึง 30.5% ใกล้เคียงกับเมื่อปี 2561 และพันธบัตรระยะสั้นที่พุ่งสูงต่อเนื่อง รวมทั้งยังได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกต่อหนึ่ง