2 อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ร่วมลงชื่อค้าน แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท
2 อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติร่วม นักวิชาการ-คณาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ลงชื่อเรียกร้องให้ยกเลิก นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ชี้ ได้ไม่คุ้มเสีย
นายวิรไท สันติประภพ และนางธาริษา วัฒนเกส 2 อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมลงชื่อพร้อมออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก "นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท" เนื่องจากเป็นนโยบายที่ได้ไม่คุ้มเสีย โดยมีนักวิชาการและคณาจารณ์คณะเศรษฐศาสตร์ 99 คนร่วมด้วย พร้อมกับชี้แจงเหตุผลโดยสรุป คือ
เปิดคำสั่งเศรษฐานั่งหัวโต๊ะประชุม เงินดิจิทัล 10,000 บาท นัดแรก
แจกเงินดิจิทัล 10,000 นโยบายเรือธง พรรคเพื่อไทยแต่ทำได้ยาก
1.ไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้น การบริโภค ภายในประเทศ รวมถึงไม่มีความจำเป็นที่จะกระตุ้นการบริโภคส่วนบุคคล
แต่ควรเน้นการใช้จ่ายของภาครัฐในการสร้างศักยภาพในการลงทุนและการส่งออกมากกว่า และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศยังเป็นปัจจัยให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นมาอีก หลังเริ่มลดลงได้ในปีนี้ มาอยู่ที่ 2.9% ท่ามกลางราคาพลังงานที่สูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะหลัง
เพราะฉะนั้นการกระตุ้นการบริโภคในช่วงนี้จะทำให้คาดการณ์เงินเฟ้อสูงขึ้นและอาจนำมาซึ่งสภาวะที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด
เหตุผลที่ 2 เงินงบประมาณของรัฐที่มีจำกัด ย่อมมีค่าเสียโอกาสเสมอ
เงินจำนวนมากถึง 560,000 ล้านบาทนี้ทำให้รัฐ เสียโอกาส ที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งล้วนที่จะสร้างศักยภาพการเติบโตในระยะยาว แทนการกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการสร้างหนี้สาธารณะให้เป็นภาระคนรุ่นหลัง
3.การที่ผู้กำหนดนโยบายหวังว่านโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจ "เป็นสิ่งที่เลื่อนลอย"
เพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงิน 560,000 บาท เข้าระบบเป็นการคาดหวังเกินจริง เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐในลักษณะเงินโอนหรือแจกเงิน มีค่าต่ำกว่า 1 และต่ำกว่าตัวทวีคูณทางการคลังสำหรับกาารใช้จ่ายโดยตรงและการลงทุนภาครัฐ
4.ไทยอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมานาน และการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทนี้ก็จะยิ่งทำให้ไทยเสียค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอีก เพราะก่อนหน้านี้เงินเฟ้อสูงขึ้น การก่อหนี้จำนวนมาก ทั้ง ออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจ หรือ สถาบันการเงิน ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับดอกเบี้ยทั้งนั้น หนี้สาธารณะของรัฐอยู่ที่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท หรือ 61.6% ของจีดีพี เป็นภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูง เมื่อต้องจ่ายคืนหรือกู้ใหม่ ย่อมมีผลต่อภาระเงินงบประมาณรัฐในแต่ละปี
5.นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น คือ หลังจากทั่วโลกเผชิญทั้งโรคระบาดและเศรษฐกิจถดถอย หลายประเทศพยายามลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง เพื่อสร้างที่ว่างทางการคลังได้รองรับวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคตแต่ นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สวนทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยมีรายรับจากภาษีเพียง 13.7% ของจีดีพี ถือว่าต่ำมากๆ
6.การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้ทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี เป็นนโยบายที่ไม่สร้างความเป็นธรรม เศรษฐี มหาเศรษฐี ที่อายุมากกว่า 16 ปี ล้วนได้รับเงินทั้งที่ไม่มีความจำเป็น
7.ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การเตรียมตัวทางการคลังเป็นสิ่งจำเป็น ภาระการใช้จ่ายด้านสวัสดิการและสาธารสุขจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้บริหารประเทศที่มองการณ์ไกลจึงควรใช้งบประมาณให้คุ้มค่า และรักษาวินัยและเสถียรภาพทางการคลังอย่างเคร่งครัด
ด้วยเหตุผลทั้งหมดต่างๆ ข้างต้น นักวิชาการ และคณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท แก่ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
เพราะประโยชน์ที่ประเทศจะได้นั้นน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไปและสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยระยะสั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว และควรทำแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ผู้มีรายได้น้อย ไม่เหวี่ยงแหคลอบคลุมคนทุกกลุ่ม
กรมอุตุฯ ประกาศเตือนฉบับที่ 2 พายุ “โคอินุ”
โปรแกรมแข่งวอลเลย์บอลหญิงไทย รอบ 4 ทีมสุดท้าย ทำศึกเอเชียนเกมส์ 2022
เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ