นักวิชาการ เผยยอดดิจิทัลวอลเล็ต ทะลุ 20 ล้าน ตอกย้ำความเหลื่อมล้ำสูง
ยอดลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พุ่งตอกย้ำประชาชนส่วนใหญ่ลำบากเศรษฐกิจเหลื่อมล้ำสูง
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่า เปิดเผยถึง ตัวเลขการลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ทะลุ 21 ล้านคนภายใน 2 วันแรก ว่า ประชาชนตอบรับต่อนโยบายดังกล่าวซึ่งตอกย้ำว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจ โครงสร้างเศรษฐกิจมีความเหลื่อมล้ำสูง โดยคนส่วนใหญ่ของประเทศมีส่วนแบ่งรายได้ มีส่วนแบ่งในทรัพย์สินและความมั่งคั่งน้อยเกินไป
เกิดเป็นสภาพ “รวยกระจุก จนกระจาย” จึงทำให้หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงติดอันดับต้นๆของโลก
เพราะถึงแม้ขณะนี้จะลดลงมาบ้างแล้วก็ตาม แต่ไทยยังเผชิญกับปัญหาอุทกภัยหลายพื้นที่ซ้ำเติมความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของประชาชน เช่น ภัยแล้งรุนแรงในช่วงมีนาคมเมษายนในปีนี้แล้วยังเจอกับภาวะน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศในช่วงไตรมาสสาม ประเมินเบื้องต้น มูลค่าสินค้าเกษตร ทรัพย์สินต่างๆและเศรษฐกิจเสียหายประมาณ 56,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.3% ของจีดีพี ราคาสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มสูงขึ้น โดยข้าว และ อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่รับความเสียหายมากที่สุด ประเทศไทยจะเผชิญภัยแล้งสลับกับน้ำท่วมไปทุกปี ความเสียหายจะมากขึ้นตามลำดับ หากไม่มีรีบลงทุนการบริหารจัดการน้ำ การกักเก็บน้ำ และ ผลกระทบอุทกภัยต่อภาคเกษตรกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นสูงกว่าผลกระทบจากภัยแล้ง
โปรแกรมโอลิมปิก 2024 วันจันทร์ที่ 5 ส.ค. 67 ถ่ายทอดสดทาง พีพีทีวี
ภูเขาน้ำแข็งใหญ่สุดในโลกหมุนวนอยู่กับที่กลางกระแสน้ำวน
ผ้าคลุมรถกันความร้อน และ 4 ไอเทมที่ช่วยทำให้รถดูสวยใหม่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและบรรเทาภาระหนี้สินระยะสั้นจากเงินโอนดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นแต่ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ต้องมีการแปลงเงินโอนจากรัฐสู่ประชาชนให้เป็น “การลงทุน” อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะการลงทุนในทุนมนุษย์ และ เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและรายได้จึงตอบโจทย์ปัญหาทางเศรษฐกิจในระยะยาว
แต่ปัจจุบัน ประชากรในวัยทำงานของประเทศไทย (อายุระหว่าง 20-59 ปี) คิดเป็นร้อยละ 58.9 ของประชากรทั้งหมด แต่ภายในสองทศวรรษข้างหน้าประชากรกลุ่มนี้จะเหลือน้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อประชาชนส่วนใหญ่เริ่มมีอายุมากขึ้น ดังนั้นในปัจจุบัน การพัฒนาต้นทุนมนุษย์จึงกลายเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อการเพิ่มผลิตภาพของกำลังคนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทย โดยสังคมไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว