ร้านออนไลน์เตรียมจ่ายภาษี คลังยันดึงทุกแพลตฟอร์มเข้าระบบต้นปี 68
จุลพันธ์ เผยต้นปี 68 สรรพากรเตรียมดึงทุกแพลตฟอร์มช้อปปิ้งเข้าระบบภาษี ป้องกันสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ-ราคาถูกเข้ามาตีตลาด
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ราคาถูก เข้ามาตีตลาดและกดราคา โดยระบุว่า กระทรวงการคลังมีความเป็นห่วงผู้ประกอบการไทยและกำลังติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่มีอยู่ทั้งหมดที่ค้าขายกันอยู่ในประเทศไทยได้รับการประสานเพื่อที่จะพัฒนาระบบให้เชื่อมต่อกับกรมสรรพากรเป็นที่เรียบร้อย คาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงต้นปีหน้า ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน
ระหว่างนี้จึงได้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสินค้าราคาต่ำกว่า 1,500 บาทผ่านทางกรมศุลกากร เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างสินค้าในแพลตฟอร์มและสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ ส่วนแอป TEMU กรมสรรพากรก็ได้มีการประสานงานไปแล้วเช่นกัน แต่แพลตฟอร์มดังกล่าวไม่มีตัวแทนในประเทศ จึงเป็นการพูดคุยกันทางออนไลน์ ถ้าจะเข้ามาขายจริงในอนาคตก็ต้องมาเชื่อมต่อแพลตฟอร์มกับกรมสรรพากร
ย้ำว่าสินค้าทุกอย่างที่จะเข้ามาสู่ประเทศไทย ต้องอยู่บนพื้นฐานของการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบในส่วนของตัวเองต่อไป เช่น กระทรวงพาณิชย์ ต้องจับตาดูเรื่องการทุ่มตลาด ขณะเดียวกันต้องพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศควบคู่ไปด้วยทั้งการ upskill reskill ดูแลต้นทุนการผลิต ค่าพลังงาน ซึ่งรัฐบาลกำลังเดินหน้าในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.....นายจุลพันธ์กล่าว
ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรคก้าวไกล ตัดสิทธิการเมืองกก.บห. 10 ปี
ลิงก์ดูโอลิมปิก 2024 เชียร์ "น้องเทนนิส" และนักกีฬาไทย วันที่ 7 ส.ค. 67
ผ้าคลุมรถกันความร้อน และ 4 ไอเทมที่ช่วยทำให้รถดูสวยใหม่ตลอดเวลา
ยันดิจิทัลวอลเล็ตไม่ขัดกฎหมาย แจงสาเหตุไม่แจกเงินสด
นายจุลพันธ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้านโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หลังวุฒิสภาผ่านความเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายปี 2567 เพิ่มเติม 1.22 แสนล้านบาท ย้ำว่าดำเนินไปตามขั้นตอนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ระบบทั้งหมด ทั้งระบบลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐ และระบบสำหรับใช้จ่ายชำระเงิน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มีความมั่นคงปลอดภัย ขณะนี้ก็เดินหน้าได้อย่างราบรื่นไม่มีปัญหาอะไร ขอให้ประชาชนมั่นใจกับระบบที่เกิดขึ้น มีธนาคาร 14 แห่งแสดงความประสงค์เชื่อมระบบชำระเงินร่วมกับรัฐบาล แต่ต้องคุยกันในรายละเอียดก่อนที่จะทำ MOU ร่วมกัน.....นายจุลพันธ์กล่าว
การใช้จ่ายเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ประชาชนผู้รับสิทธิ์ใช้จ่ายผ่านร้านค้าที่ร่วมโครงการในท้องถิ่น ย้ำว่าการใช้จ่ายเงินปกติเหมือนกับการสแกนโอนเงินจากโมบายแบงก์กิ้งเพื่อซื้อสินค้าในปัจจุบัน ไม่มีอะไรแตกต่างกัน หลังจากนั้นร้านค้าร่วมโครงการใช้จ่ายรอบสอง ร้านค้าที่อยู่ในระบบฐานภาษีสามารถขอขึ้นเงินสดได้ โดยเป็นกลไกการโอนเงินผ่านกรมบัญชีกลางโอนเงินไปยังธนาคาร จากนั้นส่งเงินเข้าบัญชีของร้านค้า
ส่วนกรณีที่ สว.ท่านหนึ่งอภิปรายในสภาว่าประชาชน ร้านค้ารายย่อยอยากได้เงินสด เพราะง่าย สะดวกกว่า แต่เมื่อต้องการยกระดับไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล จึงต้องสร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ใช้เงินแล้วเกิดประโยชน์ กระตุ้นเศรษฐกิจ สามารถกำหนดได้ว่าใช้เงินกับสินค้าใด พื้นที่ใด แต่การใช้เงินสดกำหนดเป้าหมายอะไรไม่ได้เลย
เงินดิจิทัลวอเล็ตไม่ใช่คริปโทเคอร์เรนซี แต่เป็นการใช้จ่ายโดยใช้งบประมาณหนุนหลัง และเติมเงินเข้าระบบดิจิทัลให้กับประชาชน.....นายจุลพันธ์กล่าว