รวมแถลงนโยบายเศรษฐกิจ เร่งด่วนทำทันที นายกฯ แพทองธาร แถลงต่อรัฐสภา
นายกฯ แพทองธาร แถลงต่อรัฐสภา หลายเรื่องเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่น่าสนใจและเร่งด่วนที่จะทำทันที เช่น ภาษี หนี้ ดิจิทัลวอลเล็ต Entertainment Complex
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 162 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย PPTV Wealth รวบรวมนโยบายเศรษฐกิจที่น่าสนใจ และเป็นนโยบายที่เร่งด่วนที่จะดำเนินการทันที คือ
ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ โดยเฉพาะในกลุ่มมสินเชื่อและรถ ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยไม่ขัดต่อวินัยการเงินและไม่เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ของผู้มีภาระหนี้ คู่ไปกับการเพิ่มความรู้ทางการเงินและส่งเสริมการออม
เปิดภาพดาวเทียม น้ำท่วมเชียงราย-เชียงใหม่ 86,438 ไร่
ไต้หวันระงับใช้งานเครื่องบินมิราจ 2000 หลังตกทะเล
สรุปบรรยากาศ นายกฯ แพทองธาร แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันแรก
ดูแลผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs จากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมของคู่แข่งทางการค้าต่างชาติผ่านออนไลน์ แก้ปัญหาหนี้ พักหนี้ จับคู่การลงทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน
ลดราคาพลังงานและสาธารณูปโภค ปรับปรับกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายพลังงานได้โดยตรง (Direct PPA) หาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เจรจาพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชา และการใช้อัตราค่าโดยสารในกรุงเทพมหานคร "ราคาเดียว" ตลอดสาย (นโยบาย 20 บาทตลอดสาย)
กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเน้นที่กลุ่มเปราะบางเป็นอันดับแรกและผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
ยกระดับเกษตรกรให้ทันสมัย ใช้แนวคิด "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้" รวมถึงเร่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและราคาพืชผลการเกษตร รวมทั้งเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร
รัฐบาลจะเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การยกเว้นวีซ่า และปรับโครงสร้างการตรวจลงตราทั้งหมดของประเทศให้กับกลุ่มผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (MICE) และกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานทางไกล ซึ่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 1.892 ล้านล้านบาท ในปี 2566 ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เช่น สวนน้ำ สวนสนุก ศูนย์การค้า สถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex)
นางสาวแพทองธาร กล่าวว่า แม้ว่าการบริหารงานของรัฐบาลจะเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน อันเป็นปัญหา โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่สั่งสมต่อเนื่องมากว่า 10 ปีและถูกซ้ำเติม ด้วยโควิด-19 ทำให้ระดับหนี้สาธารณะของประเทศอยู่ในระดับที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไร้ซึ่งมาตรการทางการเงินและการคลังที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
คาดว่าประเทศ จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับไม่เกิน 3% ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะ ของประเทศใกล้เต็มเพดานที่ 70% ของ GDP ในปี 2570 จึงเป็นความท้าทายอันยิ่งยวด ที่รัฐบาลจะต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาเติบโตอย่างเข้มแข็งอีกครั้งโดยเร็ว