เปิดตัวเลขจาก สภาพัฒน์ GDP ไตรมาส 3/67 โต 3% ส่วน 9 เดือน โต 2.3%
สภาพัฒน์ ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 3/67 ขยายตัว 3% ขณะที่ 9 เดือนเศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.3% คาดว่าปีนี้โต 2.6% ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ขอแถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่สามของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 - 2568 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2567 ขยายตัว 3.0% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2.2% ในไตรมาสที่สองของปี 2567 รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.3%
ด้านการใช้จ่าย การลงทุนภาครัฐขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส การส่งออกสินค้าและบริการ และการอุปโภคบริโภครัฐบาลขยายตัวในเกณฑ์สูง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลงการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 3.4% ชะลอลงจาก 4.9% ในไตรมาสก่อน ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายในทุกหมวดสินค้าและการลดลงต่อเนื่องของการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน
“ไบเดน” ไฟเขียวยูเครนใช้ขีปนาวุธ ATACMS ของสหรัฐฯ ถล่มรัสเซีย!
อิสราเอลทำลายโรงงานอาวุธนิวเคลียร์ลับของอิหร่าน
"บันยาญ่า" เข้าวินสนามสุดท้าย "มาร์ติน" ผงาดคว้าแชมป์โลก โมโตจีพี 2024
โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัว 6.5% ชะลอลงจาก 8.4% ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร การบริการด้านสุขภาพ การบริการขนส่ง และกลุ่มสถานบันเทิงอื่นๆ
การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัว 2.4% ชะลอลงจาก 3.6% ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และการใช้จ่ายกลุ่มไฟฟ้า แก๊ส และเชื้อเพลิงอื่น ๆ
การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 3.5% ชะลอลงจาก 4.3% ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า ขณะที่การใช้จ่าย
หมวดสินค้าคงทนลดลง 9.9% ต่อเนื่องจากการลดลง 7.7% ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 50.1ลดลงจากระดับ 54.3ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับความเชื่อมั่นที่ต่ำสุดในรอบ 6 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2566 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัว 6.3%เร่งขึ้นจาก 0.3% ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวในเกณฑ์สูง 36.9% ค่าตอบแทนแรงงาน (เงินเดือน ค่าบำเหน็จบำนาญ)
ขยายตัว 1.1% ขณะที่ค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส 8.5%
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ 19.9% (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่าย 31.6% ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 20.5 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 5.0% และการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัว 1.6% การลงทุนรวม ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส 5.2% จากการลดลง 6.1%
ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 2.5% เทียบกับการลดลง 6.8% ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องมือ 1.6% ต่อเนื่อง จากการลดลง 8.1% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนหมวดยานยนต์ โดยเฉพาะรถบรรทุกและยานพาหนะอื่น ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรฐานสินเชื่อของสถาบันการเงิน ที่เข้มงวดมากขึ้น และการลงทุนในหมวดการก่อสร้างลดลง 6.0% เทียบกับการลดลง 2.2% ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจากความเข้มงวด ในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินท่ามกลางคุณภาพสินเชื่อที่ปรับตัวลดลง การลงทุนภาครัฐ ขยายตัว ครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส 25.9% เทียบกับการลดลง 4.0% ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยการลงทุนของรัฐบาลกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูง 43.1% ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจลดลง 1.1% สำหรับ อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ 26.3% (สูงกว่าอัตราเบิกจ่าย 25.4% ในไตรมาสก่อนหน้า และ 20.9% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 การลงทุนรวมลดลง 1.7% โดยการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐลดลง 1.4% และ 2.3% ตามลำดับ
ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 77,221ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์สูง 8.9% ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร โดยปริมาณ ส่งออกขยายตัวในเกณฑ์สูง 7.5% เทียบกับการขยายตัว 2.7% ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ราคา ส่งออกเพิ่มขึ้น 1.3% กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว ( 25.2%) ยาง ( 55.9%) คอมพิวเตอร์ ( 146.5%) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( 46.5%) และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม ( 33.2%) เป็นต้น
กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ยานยนต์(ลดลง 10.6%) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลง 1.5%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ลดลง 1.2%) เป็นต้น ส่วนการนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 71,448 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์สูง 11.3% เร่งขึ้นจาก 1.2% ในไตรมาสก่อน ตามการขยายตัวของการนำเข้าในทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกสินค้าและ
การขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยปริมาณการนำเข้ารวมขยายตัว 9.7% ขณะที่ราคานำเข้า รวมเพิ่มขึ้น 1.5% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (198.5 พันล้านบาท) เทียบกับ การเกินดุล 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (203.1 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อน
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว 2.6% ปรับตัวดีขึ้นจาก 1.9% ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 2.5% ของ GDP ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดว่าจะขยายตัว 2.3% – 3.3% (ค่ากลางของการประมาณ การอยู่ที่ 2.8%)