จับตา "เฟด" เร่งขึ้นดอกเบี้ย กดดันบาทอ่อนหนัก เงินทุนไหลออกไทย
เตรียมจับตา เฟด เร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯพุ่งสูงในรอบ 40 ปี กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าเพิ่ม อาจทำให้เงินทุนไหลออกไทย
เงินเฟ้อสหรัฐพุ่ง 9.1% มากสุดรอบ 40 ปีครึ่ง เฟดขึ้นดอกเบี้ยแน่ 0.75%
"ค่าบาทอ่อน" คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 36.15-36.35บาท/ดอลลาร์
เมื่อคืนที่ผ่านมา (13 ก.ค.65) สหรัฐอเมริการายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 9.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี และสูงกว่าตลาดคาดการณ์ที่ระดับ 8.8% ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 5.9% YoY ในเดือนมิ.ย. แม้จะชะลอตัวลงจากเดือนพ.ค.ที่พุ่งขึ้น 6.0%YoY แต่ยังสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 5.8%YoY
ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส เผยผ่านบทวิเคราะห์ว่า ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนเริ่มกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (Fed) มีโอกาสเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยจาก Fedwatch Tool ของ CME เครื่องมือวิเคราะห์แนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ล่าสุดพบว่ามีโอกาสที่ เฟด จะเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยในปลายเดือน ก.ค. ถึงระดับ 1% จากความน่าจะเป็นอยู่ที่ 78%
โดยจะส่งผลให้เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่ามากขึ้น กดดันให้ราคาน้ำมันลดลงกว่า -8% และยังส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่ามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้ง ระยะห่างระหว่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐฯ เริ่มทิ้งห่างกันมากขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ -1.25% ซึ่งหาก เฟด ปรับขึ้นดอกเบี้ย 1% ตามที่คาดการณ์ จะส่งผลให้ระยะห่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐฯ กว้างมากขึ้นอยู่ที่ 2.25% และยิ่งมีโอกาสเห็นเงินลงทุนไหลออกมากขึ้น
ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. มองว่า เงินบาทที่อ่อนค่า ยังไม่ได้ทำให้เงินลงทุนไหลออกอย่างมีนัยสำคัญ เพราะส่วนใหญ่เกิดจากเงินดอลลาร์แข็งค่าเป็นหลัก โดยทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท.อาจไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยรอบละ 0.5% แต่จะทยอยปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปรอบละ 0.25%
อโดยฝ่ายวิจัยฯประเมินมูลค่าของตลาด เพื่อรองรับการขึ้นดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงที่ เหลือของปี ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ค่อนข้างระมัดระวังดังนี้
1. ฝ่ายวิจัยประเมินดัชนีเป้าหมาย อ้างอิงระดับ Market Earning Yield Gap ที่ 4.4% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ที่ 4.2%
2. ฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน EPS65F ที่ 88.9 บาท/หุ้น ต่ำกว่า Bloomberg Consensus ที่ประเมินสูงกว่า 95 บาท/หุ้น
3. และหาก ธปท. ขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งกดดันเป้าหมาย SET อยู่ที่ 1722 จุด, ถ้าขึ้น 2 ครั้ง อยู่ที่ 1643 จุด และถ้าขึ้น 3 ครั้งหรือทุกรอบการประชุม ดัชนีที่เหมาะสมอยู่ ที่ 1570 จุด
ฝ่ายวิจัยฯ คาดวันนี้ SET Index ปรับฐานต่อกรอบ 1530 – 1560 จุด
เงินเฟ้อพุ่ง นักลงทุนหนีเข้าทอง ในประเทศประกาศราคาทองวันเข้าพรรษาขึ้น 50 บาท
จุดจบตระกูลราชปักษา จากฮีโร่สงครามสู่ปรสิตกัดกินประเทศ