"เงินเฟ้อใกล้ผ่านจุดสูงสุด" สัญญาณราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอตัวลง
เงินเฟ้อใกล้ผ่านจุดสูงสุด สะท้อนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอตัวลง แต่เงินเฟ้อยังสูง แนะลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงรอความชัดเจนผลประกอบการไตรมาส 2
สัญญาณเงินเฟ้อใกล้ผ่านจุดสูงสุด?
ค่าเงินบาท “อ่อนค่าลงอีก” เช้านี้ ที่ระดับ 36.68 บาทต่อดอลลาร์
เงินบาทอ่อนสุดรอบ 16 ปี คาดสัปดาห์นี้ใกล้แตะ 37 บาทต่อดอลลาร์
ดูจากสัญญาณการชะลอตัวลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่เป็นการลดลงไม่เร็ว และยังอยู่ในระดับสูง
การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก จึงยังเป็นแบบเร็วและแรงในช่วงครึ่งปีหลังของปี ทำให้ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยเริ่มขยับสูงขึ้น
ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต้องรอความชัดเจนจากผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะสะท้อนว่าบริษัทจดทะเบียนปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหนจากผลกระทบเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรชะลอตัวลง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่ได้มีความตึงตัวทางอุปทาน เช่น ทองแดง และนิกเกิล ราคาลดลงมาก การชะลอตัวลงของราคาพลังงานและอาหาร ส่งผลให้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ใกล้ผ่านจุดสูงสุด แต่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ทั้งเฟดและอีซีบี ยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงในปีนี้
ประเด็นที่ต้องติดตามคือสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางดอกเบี้ยในปี 2023 โดยตัวเลขในสหรัฐฯ และยุโรป เริ่มส่งสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ตลาดแรงงานของสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่ง
จับตาผลประกอบการไตรมาส 2 บริษัทจดทะเบียนรับมือเงินเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้นได้แค่ไหน
หลังตลาดหุ้นทั่วโลกได้มีการ derating ลงมาค่อนข้างมาก แต่ยังต้องรอความชัดเจนจากผลประกอบการไตรมาสที่ 2 และการปรับคาดการณ์ผลประกอบการในครึ่งหลังของปี เพราะ เป็นตัวบ่งชี้ว่ากำไรบริษัทจดทะเบียนได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหนจากภาวะเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น และเศรษฐกิจชะลอตัว
แนะถือเงินสด 5-10% รอความชัดเจนผลประกอบการไตรมาส 2
ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO ) ธนาคารไทยพาณิชย์ แนะ กลยุทธ์การจัดพอร์ตการลงทุน( Asset Allocation portfolio) ให้ถือเงินสดใน Portfolio สัดส่วนประมาณ 5-10% ในช่วงที่ตลาดรอความชัดเจนจากผลประกอบการไตรมาส 2 และทิศทางดอกเบี้ยปี 2023
พร้อมทยอยสะสมพันธบัตร Investment Grade เพื่อสร้างกระแสรายได้ให้กับ Portfolio สัดส่วน 20-30%
การลงทุนในหุ้นโดยรวม ในกลุ่มตลาดหุ้น Develop Markets ( DM ) มีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อรอความชัดเจนจากผลกระทบเงินเฟ้อและเศรษฐกิจชะลอตัวที่จะมีต่อผลประกอบการในระยะข้างหน้า
มุมมองหุ้นยุโรปเป็น Slightly negative จากผลกระทบยืดเยื้อของสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป
สำหรับกลุ่ม Emerging Markets ( EM) ยังคงมุมมอง Slightly positive ต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีน A-share หลังมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้เริ่มมีตัวเลขผู้ติดเชื้อมากขึ้น แต่เชื่อว่าการปิดเมืองข้างหน้าจะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อควบคุมผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
หุ้นไทย-หุ้นเวียดนามได้อานิสงค์เปิดเมือง
หุ้นไทย และ เวียดนาม ที่ Slightly Positive เพราะเชื่อว่าการเปิดเมืองของทั้ง 2 ประเทศจะทำให้เศรษฐกิจและผลประกอบการฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยตลาดหุ้นทั้งสองประเทศมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เป็นโอกาสที่ดีในการทยอยสะสมเข้าพอร์ต โดยมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยในทั้งสองประเทศจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในส่วนของไทยมีโอกาสที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับดอกเบี้ยขึ้นครั้งละ 0.25% ใน 3 การประชุมที่เหลือของปี
เก็บหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ประมาณ 4-6% รับมือเสี่ยงเงินเฟ้อ
รวมถึงเก็บกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ประมาณ 4-6% ของ portfolio เพื่อเป็นการจัดการความเสี่ยงเงินเฟ้อ โดยเน้นที่น้ำมันซึ่งยังมีความตึงตัวของอุปทาน รวมถึงอุปสงค์น้ำมันโลกในช่วงครึ่งหลังของปียังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการเปิดเมืองเปิดประเทศโดยเฉพาะในเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ปรับสินค้าโภคภัณฑ์ ลงเป็น slightly positive เพื่อสะท้อนความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะมีผลต่ออุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยผลกระทบจะมีค่อนข้างมากกับสินค้าที่ไม่ได้มีความตึงตัวในอุปทานในระยะข้างหน้า เช่น ทองแดง สำหรับลูกค้า HNW และ UHNW การมี Alternative assets เช่น Structure note และ Private asset อยู่ใน Portfolio จะช่วยสร้างกระแสรายได้และลดความผันผวนของ Portfolio ได้