เอกชนหนุนแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย "เงินเฟ้อกดดัน"เศรษฐกิจไทย
3 ภาคเอกชน (กกร.) ประชุมล่าสุด มองเศรษฐกิจโลกแนวโน้มชะลอ ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังเจอเงินเฟ้อกดดัน หนุนแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย
เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 5.6% ซึ่งสูงกว่าภาวะปกติที่ 1-3% มาก และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งการปรับขึ้นราคาสินค้าที่เริ่มกระจายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น
มองปมร้าว “จีน-ไต้หวัน-สหรัฐฯ” ถอยไม่ได้ แต่ไม่รบ
จีน-สหรัฐฯ ตึงเครียด ทำสงครามการค้าส่อลากยาว ไทยอาจโดนหางเลข
นอกจากนั้น หากมีการปรับขึ้นค่าไฟในงวด ก.ย.-ธ.ค. ก็จะเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อให้เร่งตัวขึ้นได้อีก ซึ่งเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะกระทบอำนาจซื้อภาคครัวเรือนและต้นทุนของภาคธุรกิจ
ท่องเที่ยวแรงส่งเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี
การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวชัดเจนขึ้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องหลังยกเลิกมาตรการ Thailand Pass คาดว่ามีโอกาสแตะระดับ 7-8 ล้านคน รวมถึงแรงหนุนกำลังซื้อจากมาตรการรัฐ โดยเฉพาะมาตรการคนละครึ่งระยะที่ 5 ที่คาดว่าจะกระตุ้นการใช้จ่ายได้ประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.2% ของ GDP ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศและภาวะเงินเฟ้อที่กระทบอำนาจซื้อ
ยังโตแม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ที่ประชุม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินเศรษฐกิจไทยยังโตได้ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยที่ประชุม กกร. คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 ซึ่งจะขยายตัวได้ในกรอบ 2.75% ถึง 3.5% การส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ในกรอบ 6.0% ถึง 8.0% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในกรอบ 5.5% ถึง 7.0%
มองแบงก์ชาติขึ้นอัตราดอกเบี้ยสอดคล้องปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ด้านแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และค่าธรรมเนียม FIDF ที่ประชุม กกร.เห็นว่า มีความสอดคล้องกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ รวมถึงแนวทางของนโยบายการคลังและความจำเป็นในการรักษาสมดุลด้านนโยบายในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก
เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวชัดเจนขึ้น จากปัจจัยลบหลายอย่าง
- ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 2 โดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรก
- จีนขยายตัวต่ำกว่าประมาณการค่อนข้างมาก
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกลงสู่ 3.2% ในเดือน ก.ค. จาก 3.6% ในเดือน เม.ย. จากผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ
- ภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงจนกระทบครัวเรือนและภาคธุรกิจ
- การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลาง
- ผลข้างเคียงต่อห่วงโซ่อุปทานจากมาตรการ Zero COVID ที่เข้มงวดของจีน
เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงจะส่งผลต่อการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งตัวเลขการส่งออกเดือน มิ.ย. ชี้ให้เห็นว่า การส่งออกไปประเทศเศรษฐกิจหลักเริ่มแผ่วลงบ้างแล้ว
กมธ.งบปี66 ผ่านงบครึ่งเดียวให้กองทัพอากาศจัดซื้อ “F-35 A”
TQM ลุยลงทุนบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ มูลค่า 247 ล้านบาท