ราคาน้ำมันโลกชะลอตัวขาลง จับตาผลประชุมเฟด คาดขึ้นดอกเบี้ยแรง
ราคาน้ำมันในตลาดโลก ยังอยู่ในช่วงขาลงแบบชะลอตัว จับตาผลประชุมเฟด เตรียมขึ้นดอกเบี้ยแรงชะลอเงินเฟ้อ ด้านจีนยกเลิกล็อกดาวน์เมืองเฉิงตู ประชนชนออกจากบ้านได้ปกติ
อั้นไว้ก่อนพรุ่งนี้น้ำมันลง ‘โออาร์’ ปรับลดเบนซิน 1 บาท ราคาร่วงตามตลาดโลก
จีนอาจขาดแคลนอาหาร ภัยแล้งส่อลากยาวสิ้นปี คาดหนุนข้าวไทยส่งออกมากขึ้น
เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2565 สถานการณ์น้ำมันตลาดโลก ราคาเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หลังจากก่อนหน้านี้ปรับตัวลงมากว่า 1 ดอลลาร์ เนื่องจากกังวลการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา ในการชะลอเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ซึ่งจะทำให้การเติบโตเศรษฐกิจถดถอย กระทบความต้องการใช้เชื้อเพลิง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบทั่วโลก
• สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับลดลง 7 เซนต์ หรือ -0.21% ล่าสุดอยู่ในระดับ 91.93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
• สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเวสต์เท็สซัส (WTI) ปรับลดลง 14 เซนต์ หรือ -0.2% ล่าสุดอยู่ในระดับ 85.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ด้านทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 0.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จนถึงเกือบ 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยสหรัฐฯ ส่งสัญญาณจะหยุดระบายน้ำมันดิบจากคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์เพิ่มเติม หลังจากมาตรการปัจจุบัน (เริ่มตั้งแต่เดือน มี.ค. 65) จะสิ้นสุด ต.ค. 65 ปริมาณรวมประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน (MMBD) ใน 6 เดือน หรือ 180 ล้านบาร์เรลต่อวัน (MMBD) ทั้งนี้ Bloomberg คาดการณ์สหรัฐฯ อาจพิจารณาเข้าซื้อน้ำมันดิบเพื่อเติม SPR หากราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่าระดับ 80 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
ขณะที่รัฐบาลจีนประกาศยุติมาตรการล็อกดาวน์ ที่เมือง เฉิงตู เมืองหลวงของมณฑลเสฉวน ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 65 ทำให้ประชาชนกว่า 21 ล้านคน สามารถเดินทางออกนอกบ้าน และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ หลังจากต้องอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 65
ทั้งนี้จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 20-21 ก.ย. 65 ซึ่ง Reuters Poll คาดการณ์ว่า FOMC จะมีมติเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนนโยบาย 0.75% จากระดับปัจจุบันที่ 2.25-2.5%
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
- EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบในคลังปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) สัปดาห์สิ้นสุด 9 ก.ย. 65 ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า 8.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 434.1 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 38 ปี โดยเป็นการระบาย Sweet Crude ประมาณ 6.4 ล้านบาร์เรล และ Sour Crude ประมาณ 2 ล้านบาร์เรล
- Bloomberg รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากรัสเซียทางทะเล สัปดาห์สิ้นสุด 9 ก.ย. 65 ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า 630,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 3.42 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำสุดตั้งแต่ เม.ย. 65 เนื่องจากพายุ Hinnamnor พัดผ่านท่าเรือ Kozmino (1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ทำให้การขนถ่ายน้ำมันหยุดชะงักชั่วคราวในช่วง 6-10 ก.ย. 65
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- อิรักกลับมาส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Basra (1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน) หลังหยุดดำเนินการจากเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลในวันที่ 16 ก.ย. 65 โดย Basra Oil Co. (BOC) ระบุการหยุดดำเนินการเพียงคืนเดียวไม่กระทบต่อการส่งออก ทั้งนี้ Platts รายงานปัจจุบันอิรักส่งออกน้ำมันจากท่าทางใต้ รวมถึงท่า Basra ประมาณ 3.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยกลุ่ม OPEC รายงานอิรักผลิตน้ำมันในเดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ 4.53 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าโควตาที่ 4.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- รายงานฉบับเดือน ก.ย. 65 ของกลุ่ม OPEC รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ในเดือน ส.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 620,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 29.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- 15 ก.ย. 65 รัฐบาลสหรัฐฯ เข้ามาเป็นตัวกลางให้สหภาพแรงงานพนักงานรถไฟ 12 แห่งสามารถบรรลุข้อตกลงกับบริษัทนายจ้าง ส่งผลให้การขนส่งปิโตรเลียมไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งใช้น้ำมันจำนวนมากเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จากที่กังวลว่าหากตกลงกันไม่ได้ จะเกิดการประท้วงหยุดงาน กระทบต่อการขนส่งสินค้ารวมถึงปิโตรเลียมดังกล่าว
ราคาทองวันนี้ เปิดการซื้อขายขึ้นทันที 100 บาท!
ธปท.แจง 3 ข้อ เปิดเทรด FOREX เก็งกำไร ชวนเชื่อลงทุน "ยังผิดกฎหมาย"