คาด “เฟด” คงดอกเบี้ย ในการประชุม 31 ต.ค.-1 พ.ย. แต่ยังไม่ปิดโอกาสขึ้นต่อ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด เฟด คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% ในการประชุม FOMC วันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย.66 เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง จากการใช้จ่ายที่อ่อนแรงและต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น แต่ เฟด ยังคงเปิดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก หากเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น เตือนระวังเงินบาทเสี่ยงผันผวน ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินสหรัฐฯ
เฟด ส่งซิกขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 รอบ ก่อนค้างยาว กดดันสินทรัพย์เสี่ยง หุ้นไทยจับตาแนวรับ 1,490
“ดอกเบี้ยสูง” ยังอยู่อีกนาน กนง. มั่นใจเงินดิจิทัล 10,000 บาทช่วยเศรษฐกิจโต
ในการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด (Fed) วันที่ 31 ต.ค. -1 พ.ย. 66 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า เฟด จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% เพื่อรอดูแนวโน้มเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงตามเงินออมที่ลดลง และต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา
โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ในเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ยังคงทรงตัวอยู่ระดับสูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ 3.4% และ 3.7% ตามลำดับ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) ในเดือนก.ย. เพิ่มสูงขึ้นกว่าคาดและสูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 3.4 แสนราย
นอกจากนี้ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 66 ขยายตัวสูงกว่าคาดที่ 4.9% ต่อปี ท่ามกลางการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวของเฟด
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความจำเป็นที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อนั้นมีลดลง หลังจากปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึง 11 ครั้ง จนแตะระดับ 5.25-5.50% สูงสุดในรอบ 22 ปี ซึ่งการปรับอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าจะเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจจริงที่ชัดเจนขึ้นในระยะข้างหน้า โดยโมเมนตัมการใช้จ่ายของผู้บริโภคคาดว่าจะอ่อนแรงลงตามเงินออมจากช่วงวิกฤติโควิดที่ทยอยลดลง และต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเผชิญความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังเป็นความไม่แน่นอนที่สำคัญ
เฟด อาจยังคงเปิดโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อ หากเงินเฟ้อกลับมาเร่งตัวสูงขึ้นท่ามกลางความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีความผันผวน ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงให้น้ำหนักมากสุดต่อกรณีเฟดสิ้นสุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในรอบวัฏจักรนี้ และคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% ไปจนถึงสิ้นปี 66 เป็นอย่างน้อย
อย่างไรก็ตาม หากเงินเฟ้อปรับลดลงช้า และหากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงไม่ชะลอตัวลงอย่างที่คาด โดย เฟด อาจพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า 67 ไปแล้ว ซึ่งจังหวะการปรับลดดอกเบี้ย คงขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ออกมาเป็นสำคัญ
ขณะเดียวกัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินสหรัฐฯ ค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มที่จะยังเผชิญความผันผวนต่อไปในระยะข้างหน้า หากเฟดเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด หรือคงดอกเบี้ยยาวนานกว่าคาด ค่าเงินบาทอาจเผชิญแรง กดดันจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ได้
Photo : Mandel NGAN / AFP
ลดเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 อย่างละ 1 บาทต่อลิตร รวม 2.50 บาท
สรุปผลการมอบรางวัลบัลลงดอร์ Ballon d'Or ประจำปี 2023