เปิดรายชื่อ บอร์ด กนง. ผู้ชี้ชะตาดอกเบี้ยไทย 5 ต่อ 2 เสียง คงไว้ 2.50%
ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. มติ 5 ต่อ 2 เสียง คงไว้ 2.50% แม้ว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรียกร้องให้ กนง.ลดดอกเบี้ย เพราะกลัวสถานการณ์เงินฝืด หลังจากที่ เงินเฟ้อของไทย ติดลบ 4 เดือนติดต่อกัน
ช่วงบ่าย 2 โมงวันนี้ กนง.แถลงมติที่ประชุมมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% ต่อปี ชี้การบริโภคยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับ บอร์ด กนง. 7 คน เป็นผู้ชี้ขาด ว่าจะมีการลดหรือขึ้นหรือคงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งถ้ามาดูรายชื่อ บอร์ด กนง.ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจวันนี้ คือ
นักวิเคราะห์ฟันธง ที่ประชุมกนง.วันนี้ คงดอกเบี้ยที่ 2.50%
นายกรัฐมนตรี จี้ ถึงเวลาลดดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อติดลบ 4 เดือน
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 4 คน ได้แก่
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการ
นางอลิศรา มหาสันทนะ รองประธานกรรมการ
นางรุ่ง มัลลิกะมาส กรรมการ
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน กรรมการ
นายรพี สุจริตกุล กรรมการ
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการ
นายสันติธาร เสถียรไทย กรรมการ
โดยมีนายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ กนง.
ซึ่งการประชุม กนง.ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2565 กนง.ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 8 ครั้ง จาก 0.50 % เป็น 2.50 % ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้มีกรรมการ 2 ท่าน เห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 2.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำลง
แบงก์ชาติไม่ลดดอกเบี้ย ชี้เงินเฟ้อติดลบไม่ใช่สัญญาณเงินฝืด
เมื่อถามว่าแรงกดดันทางการเมืองสร้างความกดดันในการกำหนดนโยบายทางการเงินหรือไม่ นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่า เป็นเรื่องปกติที่มีมุมมองจากหลายภาคส่วน ซึ่งมองว่าเป็นประโยชน์ให้แบงก์ชาติเองได้นำมาทบทวน ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพราะการกำหนดดอกเบี้ยนโยบายเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
ซึ่งแบงก์ชาติได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับทางภาครัฐอยู่ตลอด เพื่อให้นโยบายการเงินและการคลังของประเทศสามารถดำเนินไปด้วยกันได้ เรามีจุดประสงค์เดียวกันคือให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากแรงส่งจากภาคต่างประเทศที่น้อยลง และผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง แต่การบริโภคในประเทศยังขยายตัวดีต่อเนื่อง
อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำในปัจจุบัน ไม่ได้บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอ โดยราคาสินค้าไม่ได้ปรับลดลงเป็นวงกว้าง แต่สะท้อนปัจจัยเฉพาะในบางกลุ่มสินค้า และหากหักผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงเป็นบวก และยังไม่มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงของภาวะเงินฝืด
จึงมองว่าอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ / กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
ไทยพาณิชย์ คาด กนง.คงดอกเบี้ยที่ 2.50%
ส่วนความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การกำหนดนโยบายการเงินเป็นอิสระของกนง. ซึ่งที่ผ่านมาได้ติดตามการสื่อสารของแบงก์ชาติมาตลอด มีเหตุผลที่้ยังลดดอกเบี้ยไม่ได้ อยู่ 3-4 ข้อด้วยกัน คือ ดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ 2.50% ถือเป็นระดับที่เหมาะสมกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ตั้งเป้าไว้ 3% / และเป็นระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ ไม่ต่ำเกินไปจนเป็นเหตุจูงใจให้คนก่อหนี้ ส่วนสำหรับกลุ่มเปราะบางแบงก์ชาติเองก็มีมาตรการเฉพาะจุด ที่ไปช่วยแก้หนี้ในส่วนนั้นอยู่
กนง. สื่อสารมาตลอดว่าด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ 3-4 อย่างที่เกี่ยวข้องกับประเทศ ทำให้ดอกเบี้ยตอนนี้อยู่ในจุดที่สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจก็ยังอยู่ในเป้า และช่วยให้คนไม่ก่อหนี้ได้มากขึ้นตอนนี้ได้ เป็นจุดที่เหมือนกับว่ายังเป็นมุมมองที่สอดคล้องกับประมาณการเศรษฐกิจของแบงก์ชาติที่ออกมาเมื่อเดือนธันวาคม
ขณะที่มุมมองของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า มีแนวโน้มที่การประชุมกนง.ในครั้งนี้ จะยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.50% แต่ต้องดูว่าเงินเฟ้อที่ติดลบมา 4 เดือน ซึ่งเป็นผลจากนโยบายลดค่าของชีพจากรัฐบาล เป็นเพียงนโยบายชั่วคราว หลังจากที่หมดมาตรการเหล่านี้ เงินเฟ้อจะกลับมาอยู่ในกรอบ 1-3% ได้หรือไม่ ถึงจุดหนึ่งหากประมาณการเงินเงินเฟ้อหลุดเป้าก็อาจจะเป็นเหตุผลให้นโยบายดอกเบี้ยเปลี่ยนไปจากเดิมได้
นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงเช่นกัน ซึ่งก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายการเงินด้วย
นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ ยังไม่เห็นสัญญาณเงินฝืด
ส่วนที่นายกรัฐมนตรีบอกว่า เงินเฟ้อไทยติดลบติดต่อกันมา 4 เดือนแล้ว กังวลว่าจะเกิดวิกฤตเงินฝืดนั้น ดร.ฐิติมา มองว่า ยังไม่เห็นสัญญาณของเงินฝืด เราไม่ได้ดูแค่เงินเฟ้อติดลบ แต่ต้องไปดู ในเรื่องของราคาสินค้าว่าลดลงด้วยหรือเปล่า อาการของเงินฝืดจริง ๆ คือสินค้าส่วนใหญ่ต้องถูกลง เพราะภาคธุรกิจเห็นว่าคนไม่มีกำลังซื้อก็ต้องลดราคา แต่ตอนนี้เห็นว่าสินค้าส่วนใหญ่ยังคงปรับขึ้นอยู่ จึงมองว่าไทยยังห่างจากจุดนั้น
อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ก็จะช่วยลดการตึงตัวของภาคการเงิน เมื่อดอกเบี้ยลดลงอาจจะช่วยในเรื่องของการผ่อนบ้าน ให้คนมีสภาพคล่องได้มากขึ้น สามารถกู้ได้ง่ายกว่าเดิม
9 ก.พ. ไหว้ตรุษจีน 2567 จุดธูปกี่ดอก เวลาไหนดี พร้อมทิศมงคลเสริมเฮง
สภาพอากาศวันนี้ ไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น กทม. – 8 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง
พบ"น้องพร"มีโทรศัพท์อีกเครื่องใช้ติดต่อ"ช่างกิต"