ฟิตช์-มูดี้ส์ จัดอันดับความน่าเชื่อถือรัสเซียเป็น "ขยะ"
ฟิตช์-มูดี้ส์ จัดอันดับความน่าเชื่อถือรัสเซียเป็นขยะ (junk) ผลพวงการคว่ำบาตรอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงและความสามารถในการชำระหนี้
สถาบันจัดอับดับความน่าเชื่อถือ ทั้ง ฟิตช์ และ มูดี้ส์ มองว่า ตลาดการเงินของรัสเซียต้องเผชิญความวุ่นวายจากการคว่ำบาตรหลังบุกเข้ารุกรานยูเครน ซึ่งนับเป็นการโจมตีเมืองแถบยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
รู้จัก War Bonds พันธบัตรสงคราม ยูเครนออกระดมทุนสู้รัสเซีย
ธนาคาร Sberbank ของรัสเซียถอนตัวออกจากยุโรป หลังกระแสเงินสดทะลักไหลออก
การบุกยูเครนของรัสเซียครั้งนี้ เป็นสาเหตุให้อันดับความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจสั่นคลอนและมีสัญญาณที่นำไปสู่ความเลวร้ายต่อระบบเศรษฐกิจของรัสเซีย
ฟิตช์ และ มูดี้ส์ จึงหั่นอันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียเหลือ "ขยะ" ขณะที่ S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียเป็นสถานะขยะแล้วเช่นกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดลด 100 บาท แกว่งช่วงแคบ ปรับราคา 4 ครั้ง
ในส่วนของ ฟิทช์ ปรับลดอันดับรัสเซียเป็น "B" จาก "BBB" และวางเรตติ้งของประเทศไว้ที่ "ติดลบ" ส่วน มูดี้ส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ระบุถึงความเป็นไปได้ของการปรับระดับความน่าเชื่อถือ ลง 6 ระดับจาก Baa3 เหลือ B3 นับเป็นการลดระดับความน่าเชื่อถือลงถึง 6 ระดับอีกครั้งนับตั้งแต่ปี 1997 ที่เกิดขึ้นกับเกาหลีใต้
ปั๊มเอกชนดอดปรับขึ้นราคาน้ำมัน เฉียด 40 บาท/ลิตร
ความรุนแรงของการคว่ำบาตรจากนานาประเทศในการตอบโต้การรุกรานยูเครนของกองทัพรัสเซีย ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินระดับมหภาค และความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาล และการตัดรัสเซียออกจากระบบ SWIFT เพื่อตัดช่องทางการทำธุรกรรมต่างๆ ของรัสเซีย จะมีผลกระทบมากกว่าการคว่ำบาตรครั้งก่อน ๆ และคาดว่าการคว่ำบาตรจะมีความรุนแรงมากขึ้น
มูดี้ส์ กล่าวว่า ความรุนแรงของการคว่ำบาตรเกินความคาดหมายที่ มูดี้ส์ ประเมินไว้ และจะมีผลกระทบด้านเครดิตอย่างมีนัยสำคัญมาตรการคว่ำบาตรของประเทศตะวันตกจะทำให้ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัสเซีย (GDP) อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับการประเมินก่อนหน้าฃ
อย่างไรก็ตาม รัสเซียตอบโต้การคว่ำบาตรด้วยมาตรการต่างๆ เพื่อเสริมการป้องกันทางเศรษฐกิจและตอบโต้ข้อจำกัดของชาติตะวันตก เช่น ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 20% ห้ามนายหน้ารัสเซียขายหลักทรัพย์ที่ถือโดยชาวต่างชาติ สั่งให้บริษัทส่งออกใช้เงินรูเบิล ฯลฯ มีความเป็นไปได้ว่าอาจเข้าไปแทรกแซงกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (NWF)
เรียบเรียงจาก รอยเตอร์