ส่องโอกาสเติบโต KBANK หลังทุ่มซื้อ ธ.แมสเปี้ยน บุกตลาดอินโดฯ
KBANK เตรียมเข้าถือหุ้น ธ.แมสเปี้ยน ในอินโดนีเซีย ด้วยงบลงทุนกว่า 7.5 พันล้านบาท โบรกมองได้ประโยชน์มากสุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังเศรษฐกิจฟื้น
KBANK เข้าซื้อหุ้น ธ.แมสเปี้ยน ในอินโดฯ 7.5 พันล้านบาท
กสิกรไทย ในไตรมาส 1 กำไร 11,211 ล้านบาท เพิ่ม 5.50% จากดอกเบี้ย
กรณี ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ได้รายงานการเข้าทำสัญญาซื้อหุ้นแบบมีเงื่อนไข เพื่อซื้อหุ้นธนาคารแมสเปี้ยน ในประเทศอินโดนีเซีย (PT Bank Maspion Indonesia Tbk หรือ BMAS) โดยคิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 7,556 ล้านบาท เป็นการลงทุนผ่าน บจก. กสิกร วิชั่น ไฟแนนเชียล คาดหากธุรกรรมได้รับอนุมัจิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2565
ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส ประเมินว่า แม้ขนาดสินทรัพย์ของ BMAS ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1% ของสินทรัพย์ KBANK และมีกำไรสุทธิปี 2564 ประมาณ 179 ล้านบาท (คิดเป็น 0.4% ของประมาณการกำไรสุทธิ KBANK ปี 2566) เทียบกับราคาปิดวานนี้ มี PER ซื้อขาย 91.44 เท่า (ค่าเฉลี่ย 34 ธนาคารอยู่ที่ 112 เท่า) และ PBV ที่ 5.51 เท่า ถือว่ามูลค่าเงินลงทุนข้างต้นต่ำกว่าการขอใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารใหม่ในอินโดนีเซีย ที่ต้องจดทะเบียนราว 10 ล้านล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 690 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเสมือนการเปิดตลาดใหม่ในอินโดนีเซีย
อิงข้อมูลจาก ไอเอ็มเอฟ IMF พบว่าปี 2565 – 2568 อินโดนีเซีย จะมี จีดีพี (GDP) ขยายตัวเฉลี่ยราว 5.7% ต่อปี เทียบกับไทยเฉลี่ย 3.7% ต่อปี รวมถึง Lonn / จีดีพี ของอินโดนีเซีย อยู่ระดับประมาณ 40% (ไทยอยู่ที่ 93.5%) จึงยังมีโอกาสในการเติบโต ผ่าน Platform digital ของ KBANK
โดยภายใต้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2565 ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.6% YoY อิงวิธี GGM (ROE ระยะยาว 9.5% และ COE 11.0%) ให้ PBV ที่ 0.8 เท่า ได้ FV ปี 2565 ที่ 1 บ้าท ทั้งนี้ KBANK ได้ประโยชน์มากสุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังเศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งเป็นผลบวกต่อคุณภาพสินทรัพย์ทั้งลูกหนี้กลุ่ม SME และกลุ่มที่อิงกับภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ PBV ซื้อขาย 0.71 เท่า ถือว่าไม่แพง และมีจุดเด่นในด้านดิจิทัล เมื่อเทียบกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์
“บีทีเอส กรุ๊ป” กำไรลด 16% เหลือ 3.8 พันล้านบาท ปันผลหุ้นละ 0.16 บาท
อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก
ความเสี่ยงที่มีน้ำหนักต่อประมาณปี 2565 ของ KBANK
- กรณีที่สินเชื่อเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย โดยทุก ๆ 1% ของคาดการณ์สินเชื่อสุทธิปี 2565 ที่ลดลงจากปัจจุบัน ประเมินการเติบโต 3% YoY จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยสิทธิลดลง 0.4% จาก 1.3 แสนล้านบาท และกำไรสุทธิปี 2565 ลด 0.7% จาก 3.8 หมื่นล้านบาท ส่วน FV ไม่เปลี่ยนแปลง
- ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ลดลงต่ำกว่าคาด โดยทุก ๆ 10 bps ของ NIM ที่ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปี 2565 ที่ 3.25% จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 3% จากปัจจุบันที่ 1.3 แสนล้านบาท และกำไรสุทธิปี 2565 ลดลง 8% จาก 3.8 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ ROE เฉลี่ยปี 2565 – 67 ลดลง 0.2% ซึ่งทำให้ FV ต่ำลง 5 บาท
- กรณีที่คุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มแย่กว่าคาด โดยทุก ๆ 10 bps ของคาดกการณ์ Credit Cost ปี 2565 ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประเมิน 180bps จะทำให้ ECL เพิ่ม 5.6% จากปัจจุบันที่ 4.5 หมื่นล้านบาท และทำให้กำไรสุทธิปี 2565 ลดลง 5% จากปัจจุบันที่ 3.8 หมื่นล้านบาท และส่งผลให้ ROE เฉลี่ยปี2565 – 67 ลดลง 0.1% ซึ่งทำให้ FV ต่ำลง 2 บาท