อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า “โรคฝีดาษลิง” ถือเป็น “ความเสี่ยงปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโดยรวมในระดับโลก
เมื่อวันอาทิตย์ (29 พ.ค.) องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า “โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)” ถือเป็น “ความเสี่ยงปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโดยรวมในระดับโลก หลังจากมีรายงานผู้ป่วยในประเทศที่มักไม่พบโรค
“ความเสี่ยงด้านสาธารณสุขอาจสูงขึ้นหากไวรัสนี้ฉวยโอกาสพัฒนาตัวเองให้เป็นเชื้อโรคในมนุษย์ และแพร่กระจายไปยังกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคร้ายแรง เช่น เด็กเล็ก และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง” WHO กล่าว
WHO แถลงการณ์สถานการณ์โรคฝีดาษลิง ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกัน
เช็กความแตกต่างของ "ผื่น - ตุ่ม" โรค "ฝีดาษลิง - อีสุกอีใส - เริม"
หายห่วง! โลกมีวัคซีนป้องกัน "ฝีดาษลิง" แนะ 6 ข้อ ช่วยให้ห่างไกลโรค
WHO ยังกล่าวด้วยว่า การปรากฏตัวของฝีดาษลิงอย่างกะทันหันในหลายประเทศที่ไม่ค่อยพบโรคนี้ บ่งชี้ว่า อาจมีการแพร่ระบาดของเชื้อมาเป็นเวลาสักพักหนึ่งแล้ว เพียงแต่ไม่มีการตรวจพบเท่านั้น
WHO เสริมว่า คาดว่าจะมีการรายงานพบผู้ป่วยฝีดาษลิงมากขึ้น เนื่องจากประเทศที่พบฝีดาษลิงเป็นโรคเฉพาะถิ่นและประเทศที่ไม่ค่อยพบฝีดาษลิง ต่างตื่นตัวในการตรวจและเฝ้าระวังการระบาดของโรคกันมากขึ้น
ฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อที่มักจะไม่รุนแรง และเป็นโรคเฉพาะถิ่นในพื้นที่บางส่วนของแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง มักแพร่กระจายโดยการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างคนและสัตว์ที่ติดเชื้อ และระหว่างคนกับคนที่ติดเชื้อ จึงสามารถป้องกันได้ง่ายโดยใช้หลักการทั่วไป เช่น การรักษาสุขอนามัย การไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน
ที่ปรึกษาอนามัยโลกคาด “ฝีดาษลิง” อาจระบาดหนักเพราะ “เพศสัมพันธ์”
ชัยชนะที่ยังไม่สมบูรณ์ในการขจัดโรคฝีดาษ
เรียบเรียงจาก Reuters
ภาพจาก Getty Image