ต.ค. 65 ต่างชาติช้อปหุ้นไทย 8.6 พันล้านบาท ดันเงินทุนไหลเข้าตลาดฯ
ต่างชาติยังเดินหน้าช้อนซื้อหุ้นไทยไม่หยุด เดือน ต.ค. ซื้อสุทธิ 8.6 พันล้านบาท ดันเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องรวมทั้งปี 65 กว่า 1.58 แสนล้านบาท ขณะที่ปัจจัยภายนอกประเทศยังคงน่าเป็นห่วง ล่าสุดยุโรป-จีน เริ่มมีสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัวลงแล้ว
ลุ้นเงินทุนไหลเข้าหุ้นไทยต่อ หลังเงินเฟ้อเริ่มเบา จับตาสหรัฐฯชะลอขึ้นดอกเบี้ยแรง
หุ้น KBANK ดีดแรง 2.46% หลังปิดดีลเทคโอเวอร์ ธ.แมสเปี้ยน ในอินโดฯ
ตรวจสลากออมสินพิเศษ 2 ปี และสลากออมสินพิเศษดิจิทัล 2 ปี งวดวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565
เมื่อวานนี้ (31 ต.ค. 65) ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยอีก 4.2 พันล้านบาท และตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) อีก 3,797 สัญญา หนุนให้กระแสเงินทุน (Fund Flow) ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่อง 7 วันทำ การ (20 – 31ต.ค. 65) กว่า 1.67 หมื่นล้านบาท บวกกับต่างชาติซื้อสุทธิ SET50 Index Futures ต่อเนื่อง 9 วันทำการ ช่วง 18 – 28 ต.ค. 65 กว่า 1.59 แสนสัญญา หนุนหุ้นขนาดใหญ่ปรับตัว
กราฟแสดงมูลค่าการซื้อขายหุ้นไทย ย้อนหลัง 1 ปี ( 1 พ.ย.64 - 31 ต.ค.65)
ภาพรวมตลอดทั้งเดือน ต.ค. ต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิแล้วกว่า 8,649 ล้านบาท หากรวมตั้งแต่ต้นปี 1 ม.ค. -31 ต.ค. ต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิรวม 1.58 แสนล้านบาท
บริษัท หลักทรัพย์ เอเซียพลัส (ASPS) ระบุว่า จากสถิติในปีนี้ วันไหนที่ต่างชาติซื้อหุ้นพร้อม TFEX จะช่วยหนุนตลาดหุ้นไทยให ผลตอบแทนเฉลี่ย 0.4% ต่อวัน และมีโอกาสให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 80% บวกกับดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ย. พลิกกลับมาเพิ่มขึ้น 624 พันล้านเหรียญ เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ถือเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนเสถียรภาพทางการเงิน และ เงินทุนมีโอกาสไหลเข้าต่อเนื่อง
ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมในต่างประเทศยังมีน้ำหนักไปทางลบ ทั้งเศรษฐกิจยุโรป และจีนยังน่าเป็นห่วง
โดยภาพรวมเศรษฐกิจยุโรป ยังเห็นความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น สาเหตุหลักจากราคาอาหารและพลังงานภายในประเทศที่พุ่งขึ้น เนื่องจากการคว่ำบาตรสินค้าจากรัสเซีย โดยตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ต.ค.65 และ GDP ไตรมาส 3 ปี 65 ของยุโรป ออกมาแย่กว่าคาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. GDP ไตรมาส 3 ของยุโรป ออกมา +0.2% จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ใกล้เคียงตลาดคาดที่ระดับ +0.1% QoQ แต่ลดลงจาก 2 ไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ระดับ +0.6% QoQ และ +0.8% QoQ ตามลำดับ
2. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับ 10.7% จากปีก่อนหน้า (YoY) ในเดือน ต.ค. 65 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่ยูโรสแตทเริ่มรวบรวมข้อมูล โดยสูงกว่าทั้งตลาดคาด และเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ +10.3%YoY และ +10.0%YoY ตามลำดับ
ขณะที่ประเทศจีน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน ต.ค.65 ปรับตัวลงแตะระดับ 49.2 จุด ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาด และเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.0 จุด และ 50.1 จุด ตามลำดับ
ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ต.ค.65 อยู่ที่ระดับ 48.7 จุด ต่ำกว่าตลาดคาด และเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.2 จุด และ 50.6 จุด ตามลำดับเช่นกัน ซึ่ง สาเหตุหลักมาจากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ภายในประเทศ (Zero-Covid) รวมทั้งการส่งออกที่ชะลอตัวลง เนื่องจากอุปสงค์สินค้าจีนในตลาดโลกที่อ่อนแรงลงตาม เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัว และทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง มี 2 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย
1. ดุลการค้าขาดดุลลดลง หลังมูลค่าการส่งออกดีขึ้นตามการเปิดประเทศของประเทศต่าง ๆ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรง ในช่วง 2 -3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าลดลง ผลักดัน
ดุลการค้าให้สูงขึ้นในอนาคต
2. ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลลดลง ทั้งจากค่าระวางสินค้าที่ลดลง รวมถึงความหวังภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ขณะที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่ 10 ล้านคนในปี 65 และ 20 ล้านคนในปี 66 หลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการเดินทางข้ามพื้นที่ จึงเป็นแรงหนุนให้รายได้จากการท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่อง