ส่อง 27 หุ้นได้ประโยชน์ แนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยชะลอตัว
โบรกฯ เผย 3 เหตุผล แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในไทยยังคงที่ในช่วงครึ่งแรกปี 2566 และจะทยอยปรับขึ้นในช่วงปีหลัง พร้อมแนะนำ 27 หุ้นคาดว่าจะได้ประโยชน์
KBANK กำไรสุทธิปี 65 ดิ่ง 6% เหตุตั้งสำรองสูง 5 หมื่นล้าน รับมือ ศก.ถดถอย
BAY กำไรสุทธิปี 65 พุ่ง 20% จากตั้งสำรองลด-รายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม
BBL กำไรสุทธิ 29,306 ล้านบาท เพิ่ม 10.6% รายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม 24.4%
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส (ASPS) เผยผ่านบทวิเคราะห์ว่า ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยพุ่งสูงขึ้น +6.08% จากปีก่อนหน้า ทำให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้วกว่า 3 ครั้ง
ทั้งนี้การดำเนินนโยบายทางการเงินของไทยในปีนี้ 2566 ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าการประชุม กนง. ที่จะมีขึ้นครั้งแรกของปีนี้ วันที่ 25 ม.ค. 66 คาดว่าน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ตามเดิม และเริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังจาก 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
• M rate ค่อนข้างสูง ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.82% โดยนับตั้งแต่ กนง. เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี 65 พบว่า ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ย M rate ตามขึ้นมาแล้วเฉลี่ย 0.42% และล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นจากการที่ธนาคารพาณิชย์ ต้องนำส่งเงินเข้า FIDF ในอัตราเดิมอีก 0.40% เมื่อต้นปี 2566 ทั้งนี้ M rate ที่ถือว่าสูงจะยิ่งเพิ่มภาระต้นทุนทางการเงินมากขึ้น
• เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว จากจุดสูงสุด 38.47 บาท/ดอลลาร์ เมื่อ 20 ต.ค.65 และล่าสุดอยู่ที่ 32.86 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งแข็งค่ามาแล้วกว่า 17.07% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือน
• การขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปอาจลดทอนศักยภาพของเศรษฐกิจไทย มีผลต่อการรัดเข็มขัดในการใช้จ่าย/บริโภคของประชาชน รวมถึงการลงทุน อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมี Downside จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ขณะที่การดำเนินโยบายการทางเงินของไทยมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศในเอเชียอาทิ ญี่ปุ่น คงดอกเบี้ยที่ -0.1% และ มาเลเซีย คงดอกเบี้ยที่ 2.75% เป็นเดือนแรก
สำหรับที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสชะลอการเร่งตัวขึ้น หรือ อัตราดอกเบี้ยเริ่มเข้าสู่ขาลง มีอยู่ 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
• กลุ่มเช่าซื้อ THANI, MTC, TIDLOR, SAWAD, ASK, AEONTS, BAM, JMT
• กลุ่มธนาคารขนาดกลาง-เล็ก KKP, TISCO
• กลุ่มอสังหาฯ SPALI, LH, AP, QH, ORI , SIRI, NOBLE, LALIN
• กลุ่มหุ้นปันผลสูง NER, ADVANC , DTAC, MCS, SAT, VNG, TTW, STA, TOP
ส่วนหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยชะลอตัวขาขั้น ได้แก่
• กลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ KBANK, SCB, BBL, KTB
• กลุ่มประกัน BLA