จบดอกเบี้ยขาขึ้นไตรมาส 3 เตรียมลงทุนไตรมาส 4 รับดอกเบี้ยขาลง
กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ คาดไตรมาสสามปีนี้ จบรอบดอกเบี้ยขาขึ้น ประเมินไตรมาส 4 เศรษฐกิจฟื้นตัว แนะลงทุนช่วงดอกเบี้ยขาลง เตรียมลงทุน 3 เดือนข้างหน้า
กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ อัปเดตมุมมองเศรษฐกิจและเทรนด์การลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ในงานสัมมนา KRUNGSRI EXCLUSIVE Mid Year Outlook 2023: AI is the Future โดยชี้ว่าตลาดหุ้นโลกในช่วงครึ่งปีหลังยังคงผันผวนต่อเนื่อง
คาดว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้จบลงในช่วงไตรมาส 3 และเศรษฐกิจจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 4 แนะนักลงทุนเตรียมคว้าโอกาสลงทุนในช่วง 3 เดือนข้างหน้า
คาด Q3 จบรอบดอกเบี้ยขาขึ้น ชี้ Q4 เศรษฐกิจฟื้น เตรียมลงทุนใน 3 เดือนข้างหน้า
ด้านนายอิสระ อรดีดลเชษฐ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ได้ให้มุมมองต่อสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกในครึ่งปีหลังว่า ในภาพรวมจะเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนในช่วงไตรมาส 4 ไปจนถึงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่มุมมองทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงไป
ในส่วนของธุรกิจภาคอุตสาหกรรมยังจำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควรในการฟื้นตัว ส่วนภาคบริการจะเริ่มชะลอลงหลังจากที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงเปิดประเทศใหม่ๆ สำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูสถานการณ์เรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจุบันเริ่มเข้าสู่ช่วงผ่อนคลาย จึงคาดว่าหากไม่มีการประกาศขึ้นอีกในช่วงเดือนกรกฎาคม ตลาดน่าจะเริ่มนิ่งในระดับหนึ่ง ส่วนยุโรปน่าจะมีช่วง Recession เล็กน้อย แต่คงไม่ได้เข้าสู่ภาวะ Crisis แบบปีที่แล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือสถานการณ์ในประเทศจีนที่กำลังเผชิญกับช่วง Liquidity Trap หมายถึงการที่ระบบเศรษฐกิจมีเงินอยู่จำนวนมาก แต่ประชาชนไม่มีการใช้จ่าย หรือลงทุนเพิ่มตามปริมาณเงิน และเลือกที่จะออมเงินมากกว่า โดยมีอัตราการออมสูงถึง 45% ซึ่งต้องอาศัยนโยบายการกระตุ้นการใช้จ่าย
ในส่วนของประเทศไทยจะยังเผชิญกับสภาวะยากลำบากเนื่องจากตัวเลขการส่งออกที่ชะลอตัวส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศรวมถึงการลงทุนต่างๆ ชะลอตัวตาม
อย่างไรก็ตาม น่าจะเห็นสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้นในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า และจะเริ่มฟื้นตัวมากขึ้นในไตรมาส 4 โดยตัวแปรสำคัญจะเป็นเรื่องความชัดเจนทางการเมือง ซึ่งในอดีตทุกครั้งที่มีความไม่แน่นอนทางการเมือง ตลาดสามารถลงได้ถึง 90 จุด จากจุดที่เป็น Reference Point ทั้งนี้ ประเมิน Downside ที่ 1,480 จุด แนะหาจังหวะเข้าซื้อช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า
อัปเดตกองทุนเด่น สร้างโอกาสผลตอบแทนท่ามกลางความผันผวน
สำหรับโอกาสการลงทุนในกองทุนรวม นางสาวพรชนก รัตนรุจิกร, CFA, ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี ได้ให้ความเห็นว่า หากเทียบกับปีที่แล้ว ภาพรวมการลงทุนในปีนี้มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่สิ่งที่ยังคงมีความผันผวนจากปัจจัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ อัตราเงินเฟ้อ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ดังนั้น ในการลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง จึงแนะนำการลงทุนในกองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลคอร์อโลเคชั่น (KF-CORE) ของ BlackRock ซึ่งเน้นการลงทุนที่มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้เร็ว และมีการจัดการในเชิงรุก พร้อมกับมีกลยุทธ์กระจายการลงทุนที่หลากหลาย และยังให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน ESG ซึ่งเน้นลงทุนในกลุ่มRatingตั้งแต่ BBB ขึ้นไป
จากการศึกษาพบกว่าหุ้นกลุ่มที่มีคะแนนด้าน ESG สูง จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวได้สูงกว่า และยังมีอัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยง (Risk Adjusted Return) ที่ดีกว่าด้วย
สำหรับผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าวในช่วงปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับดีกว่าคู่แข่ง และสามารถใช้เป็น Core Port เนื่องจากมีการกระจายพอร์ตที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกสภาวะการลงทุน และอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจคือ กองทุนที่ลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งในปีนี้หุ้นกลุ่มเทคฯ เริ่มฟื้นตัวกลับมา แนะนำกองทุนเปิดกรุงศรีเวิล์ดเทคอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ (KFHTECH-A) ที่ให้ความสำคัญและมีมุมมองในเชิงบวกกับหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จาก AI และกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็น Key Driver ของภาพเทคโนโลยีในอนาคต
แนะ 6 หุ้นเด่นเดือนมิ.ย. รับความไม่แน่นอนทางการเมือง-ดอกเบี้ยเฟด
คาดการณ์ “แบงก์” ประกาศงบไตรมาส2/66 ลุ้นดึงเงินต่างชาติไหลกลับ
ชี้เป้าหุ้นไทยตัวเด่นเข้าพอร์ต ‘AI อิเล็กทรอนิกส์-นิคม-ค้าปลีก-โรงพยาบาล’
ด้านนายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดในประเทศไทยยังอยู่ในช่วง Underperform หากเทียบกับตลาดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาดหุ้นไทยปรับตัวลง ถือเป็นโอกาสในการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นได้
สิ่งสำคัญ คือ การลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย เลือกหุ้นที่มั่นคง และมีโอกาสที่ธุรกิจยังคงอยู่ต่อไปในอีก 3-5 ปี อาทิ กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มค้าปลีกที่เติบโตไปกับเศรษฐกิจฐานราก โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรมและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มธนาคาร และกลุ่มโรงพยาบาล สำหรับหุ้นธีมหลักที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเทคโนโลยี ได้แก่
- 1) ธุรกิจต้นน้ำ ต้องยอมรับว่าประเทศไทย ไม่มีธุรกิจผู้ผลิตชิปโดยตรง อย่างไรก็ตาม แนะนำ HANA Microelectronics ซึ่งเป็นธุรกิจส่วนประกอบของชิปอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการประมวผลขั้นสูง มีส่วนสำคัญกับการเติบโตของเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้า และเทรนด์ของ AI
- 2) ธุรกิจขั้นกลาง เป็นตัวกลางในการจัดระบบและประมวลผลข้อมูลต่างๆ แนะนำ BE8 ที่ช่วยบริษัทต่างๆ ให้สามารถนำเทคโนโลยีอย่าง AI มาใช้กับธุรกิจได้จริง อาทิ ระบบ CRM Platform สำหรับใช้ในองค์กรใหญ่
- 3) ธุรกิจขั้นปลาย ที่นำเอา AI ไปใช้ในธุรกิจสาขาต่างๆ อาทิ การแพทย์ การเงินการธนาคาร ธุรกิจสื่อ และธุรกิจค้าปลีก แนะนำ BDMS CPEXTRA ADVANC เป็นต้น
เปิดเทคนิค ‘จัดพอร์ตให้เติบโตอย่างยั่งยืน’ พร้อมแนะจังหวะเข้าซื้อ
สำหรับกลยุทธ์การจัดพอร์ตในครึ่งปีหลังนี้ นายวิน พรหมแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับตัวลงมาต่อเนื่อง แต่ Core Inflation ยังปรับตัวลงช้าเนื่องจากเงินเฟ้อภาคบริการที่ยังขยายตัวโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้ มองว่า Fed จะยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อในเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่ Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยในปลายปีนี้ต่อเนื่องถึงปี 2024 สำหรับภาพรวมหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมีการปรับตัวขึ้นมามาก โดยเฉพาะ Top 7 ของ S&P500 อาทิ Microsoft Apple Nvidia Tesla Meta Amazon และ Alphabet
อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังการลงทุนในหุ้นที่ปรับตัวขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และให้น้ำหนักกับหุ้นเทคฯ ขนาดใหญ่ที่มีราคาไม่แพงเกินไป สำหรับกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเกี่ยวกับ AI แนะนำกองทุนเปิดกรุงศรีเวิล์ดเทคอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ (KFHTECH-A) กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลโกรท (KFGG-A) กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ (PRINCIPAL GOPP-A) หรือจะจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงใน Flagship Fund อาทิ กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ KF-CSINCOM ของ PIMCO ซึ่งมีจังหวะซื้อที่น่าสนใจ คือ 10Y Treasury Yield ที่ 3.5 - 4.0% กองทุนที่เน้นการจัดพอร์ต KFCORE ของ BlackRock ซึ่งยังมีจังหวะเข้าได้เรื่อยๆ และสุดท้ายกองทุนหุ้นทั่วโลก KFGBRAND-A KFESG-A K-CHANGE-A(A) ซึ่งอาจจะรอจังหวะที่ S&P 500 ลงมาที่บริเวณ 4,200 จุด จึงจะเหมาะสม