เศรษฐกิจไทย โตแบบเดิมไม่ได้ หลัง GDP มีแนวโน้มชะลอตัวลง
ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ มอง !! เศรษฐกิจไทย โตแบบเดิมไม่ได้ หลัง GDP มีแนวโน้มชะลอตัวลง ชี้ !! ควรโตแบบ “more local” เน้นท้องถิ่น-พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน- สร้างการแข่งขันระดับสากล เพื่อสร้างความยั่งยืน
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษในงาน Big Heart Big Impct สร้างโอกาสคนตัวเล็ก…Power of Partnership จับมือไว้ ไปด้วยกัน” หัวข้อ “ท้องถิ่นที่สากล : อนาคตประเทศไทย (Globally Competitive Localism : Future of Thailand)” โดยได้กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยว่าจะโตแบบเดิมไม่ได้ ซึ่งต้องหาแนวทางการเติบโตใหม่ เพราะช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวมไม่ไปถึงครัวเรือนเท่าที่ควร
ซึ่งอัตราการเติบโต GDP มีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่สำคัญการเติบโตจะสะท้อนรายได้ของครัวเรือนและความมั่งคั่ง อีกทั้ง หากดูในแง่มุมของธุรกิจ จะเห็นว่ารายได้กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจรายใหม่อยู่รอดยากขึ้น จะเห็นได้ว่าธุรกิจรายใหม่อายุไม่เกิน 5 ปีในช่วงนี้อัตราการเลิกกิจการเร็วขึ้น และสุดท้าย บริบทของโลกเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้น ไทยพึ่งโลกอย่างที่ผ่านมาไม่ได้จะเห็นว่าสัดส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิของไทยยังน้อยกว่าต่างประเทศ
ย้ำว่า เราควรให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทำให้ดีขึ้น เช่น การเพิ่มรายได้ / พัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข โดยต้องโตแบบ “more local” เพราะประชากรราว 80% ของประเทศอาศัยอยู่นอก กทม. และปริมณฑล / ธุรกิจจำนวนเกือบ 80% อยู่นอก กทม. และปริมณฑล / และอัตราการเติบโต GDP ของ กทม. ต่อหัวประชากรเพียง 0.22%
“นายกฯอิ๊งค์” ถึงเชียงรายลุยน้ำท่วม ปลอบผู้ประสบภัย ยังเหลือชีวิตอยู่!
เทียบตัวท็อป 2 ค่ายดัง iPhone 16 Pro Max vs Samsung Galaxy S24 Ultra
เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: “ทรัมป์” ไม่ดีเบต “แฮร์ริส” อีก ลั่นไม่จำเป็นต้องแก้มือ
เติบโตแบบเดิมก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง แต่การโตแบบเน้นท้องถิ่น ก็ต้องโตแบบแข่งขันได้
ดังนั้น หากเติบโตแบบเดิมๆ ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง แต่การโตแบบเน้นท้องถิ่น ก็ต้องโตแบบแข่งขันได้และมีความเป็นสากล เพื่อความยั่งยืน ซึ่งการโตที่เน้นท้องถิ่นมีความท้าทาย 3 อย่างที่ทำให้แข่งขันได้ยาก ได้แก่
- คนในท้องถิ่นกระจายตัวไม่ได้กระจุกตัวเหมือนในกรุงเทพ โดย กทม. มีประชากรกระจุกตัวมากที่สุดถึง 3,503 คนต่อตารางกิโลเมตร สูงกว่าภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคกลาง
- ธุรกิจท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก โดย10 ปีที่ผ่านมา กว่า 90% ของสถานประกอบการในท้องถิ่นเป็นรายย่อย
- มีภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย จึงทำให้ขนาดของตลาดอาจจะไม่ได้โตอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร
ซึ่งทั้ง 3 อย่าง ถือเป็นความท้าทาย แล้วจะทำอย่างไรให้ท้องถิ่นแข่งขันได้ คือ “การสร้างท้องถิ่นสากล” โดยใช้เอกลักษณ์และจุดแข่งของท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย ได้แก่
- เชื่อมตลาด : เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนลดลง
- สร้างมูลค่าเพิ่ม : เช่น สร้างเอกลักษณ์ในตัวผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะสินค้าท้องถิ่นที่บ่งบอกแหล่งที่มา หรือ GI
- ร่วมมือกับ partner : ในลักษณะที่ใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายให้เกิดประโยชน์แบบ win-win
- ทำให้เมืองรองโต
- ให้ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้มากขึ้น : เพื่อให้เกิดนโยบายตามความต้องการของแต่ละพื้นที่
- สร้างระบบติดตาม
คิดว่ารูปแบบการเติบโตของไทยจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในเชิงท้องถิ่นมากขึ้นและต้องเป็นท้องถิ่นที่สากล เพื่อจะได้อานิสงส์การเติบโตที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นและเป็นรูปแบบที่กระจายการลงทุนที่กว้างขึ้น ซึ่งไทยโตแบบเดิมไม่ได้ เพราะเดิมโตจาก กทม. และโตจากรายใหญ่ ซึ่งเป็นการโตบนพื้นฐานที่แคบ โอกาสจึงน้อย แต่ถ้าผลักดันท้องถิ่นให้เป็นสากลจะช่วยให้โตดีกว่าที่ผ่านมาเพราะโตบนพื้นฐานที่กว้างขึ้น : ดร.เศรษฐพุฒิ
นอกจากนี้ ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า อีกเรื่องสำคัญ คือ นโยบายของเราที่เน้นการกระจายความเจริญ มองว่ายังไม่ตอบโจทย์และยังไม่ประสบความสำเร็จ เช่น การที่พยายามพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในที่ที่อาจไม่เหมาะสมกับธุรกิจ เพื่อดึงดูดการลงทุน มองว่า เป็นไปได้ยาก