BA เผยยอดจองตั๋วล่วงหน้าโต 12% ทุ่มงบ 1,500 ลบ. ขยายสนามบินสมุย
บางกอกแอร์เวย์ส เผยยอดจองตั๋วล่วงหน้าโต 12% จากปี 66 ทุ่มงบ 1,500 ลบ. ขยายสนามบินสมุย ดันสู่ “Tourism Hub” อ่าวไทย
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากภาพรวมของทิศทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นบวกได้ส่งผลให้ครึ่งปีแรกของปี 2567 นี้ บริษัทฯ ขนส่งผู้โดยสารจำนวนทั้งสิ้น 2.26 ล้านคน ปรับตัวสูงขึ้นจากครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมา 11% แต่ยังคงน้อยกว่าช่วงพรีโควิดราว 25% โดยมีจำนวนเที่ยวบินรวม 24,314 เที่ยวบิน สูงขึ้นจากครึ่งปีแรกของปีก่อน 11%
สำหรับแนวโน้มการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเป็นไปในทิศทางที่น่าพึงพอใจ

ตรวจหวยงวดนี้ - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 กันยายน 2567 ลอตเตอรี่ 16/9/67
ตรวจผลออกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี งวดวันที่ 16 กันยายน 2567
อุตุฯ เตือนฉบับที่ 8 กทม.-65 จว. ฝนตกหนักถึงหนักมาก
เห็นได้จากสถิติการสำรองที่นั่งบัตรโดยสารล่วงหน้าของบางกอกแอร์เวย์ส ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนการเติบโตกว่า 12% จากปี 2566
บริษัทฯ ยังคงมั่นใจผลการดำเนินงานตลอดปี 2567 จะเป็นไปตามเป้าหมายด้วยเที่ยวบิน 48,000 เที่ยวบิน จำนวนผู้โดยสาร 4.5 ล้านคน และรายได้ผู้โดยสาร (Passenger Revenue) 17,800 ล้านบาท
จึงให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการฝูงบินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันบางกอกแอร์เวย์สมีฝูงบินทั้งสิ้น จำนวน 23 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินไอพ่นแอร์บัส เอ 320 จำนวน 2 ลำ แอร์บัส เอ 319 จำนวน 11 ลำ และเครื่องบินใบพัด เอทีอาร์ 72-600 จำนวน 10 ลำ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจารับมอบเครื่องบิน แอร์บัส เอ 319 อีกจำนวน 2 ลำ ซึ่งหากเป็นไปตามแผนการดังกล่าวก็จะสามารถให้บริการเครื่องบินเพิ่มรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 25 ลำ และบริษัทฯ ยังมีแผนที่จะออกร่างข้อเสนอ (RFP) เพื่อที่จะทำการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงประเภทฝูงบินในอนาคตอีกด้วย
แผนขยายสนามบินสมุยเพิ่มเที่ยวบินเข้า - ออก สนามบินสมุยจาก 73 เที่ยวบิน
โดยสมุยยังคงเป็นเส้นทางสำคัญที่ทำรายได้ให้กับสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งในครึ่งปีแรกของปี 2567 มีจำนวนเที่ยวบินเข้า-ออกสนามบินสมุยเฉลี่ยวันละ 41 เที่ยวบิน ทั้งเส้นทางภายในประเทศและระหว่างประเทศรวมทุกสายการบิน และมีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารในเส้นทางสมุยประมาณ 70% และสัดส่วนจำนวนเที่ยวบินประมาณ 60% เพื่อผลักดันอ่าวไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว (Tourism Hub)
บริษัทฯ จึงเตรียมเดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินสมุย โดยมีแผนการเพิ่มเที่ยวบิน เข้า – ออก สนามบินสมุยจาก 50 เที่ยวบิน เพิ่มเป็น 73 เที่ยวบินต่อวัน รวมถึงแผนการปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสารจากเดิม 7 อาคาร เพิ่มเป็น 11 อาคาร แผนการขยายจำนวนเคาน์เตอร์เช็คอินเพิ่มอีก 10 เคาน์เตอร์ เพิ่มจำนวนสายพานรับสัมภาระจาก 2 สายพานเป็น 4 สายพาน พร้อมทั้งนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร โดยจะติดตั้งระบบ CUSS : Common Use Self-Service ตลอดจนแผนการก่อสร้างพื้นที่เชิงพาณิชย์ จากปัจจุบันที่มี 1,800 ตร.ม. เพิ่มเป็น 4,000 ตร.ม. ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการสำหรับร้านค้าชั้นนำ สินค้าของฝากจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คาเฟ่-ร้านอาหาร รวมถึงสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งจะใช้งบประมาณการลงทุนรวมกว่า 1,500 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2568 ใช้เวลาดำเนินการปรับปรุงประมาณ 3 ปี ซึ่งจะทำให้สนามบินสมุยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 6 ล้านคนต่อปี
ทั้งนี้ ปัจจุบันสนามบินสมุยให้บริการ 11 เส้นทางบิน ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในครึ่งปีแรกมีจำนวนผู้โดยสารรวมทุกสายการบินกว่า 1.4 ล้านคน เติบโตขึ้น 22% จากปี 2566 และเติบโตขึ้นจากช่วงพรีโควิด 11% ในจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 14,983 เที่ยวบิน
นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 บริษัทฯ มีแผนที่จะเสริมศักยภาพสนามบินตราด ซึ่งเป็นสนามบินสาธารณะแห่งที่ 3 ภายใต้การบริหารงานของบริษัทฯ โดยมีแผนการดำเนินงานด้านการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร และแผนการขยายรันเวย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรองรับเครื่องบินประเภทไอพ่นขนาดเล็ก จากเดิม 1,800 เมตรเพิ่มเป็น 2,100 เมตร ในงบการลงทุนมูลค่า 800 ล้านบาท
ข้อเสนอรัฐบาล ดันไทยสู่ฮับการบินของภูมิภาค
นายพุฒิพงศ์ กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีแนวคิดที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินหรือฮับการบินของภูมิภาค (Aviation hub) ระบุว่าเป็นแนวคิดที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ แต่การที่จะเป็นฮับการบินนั้นไม่ใช่แค่มีสายการบินบินเข้ามา หรือมีสนามบินที่พร้อมเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เราต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกในการเดินทางเข้า-ออกสนามบิน ทั้งทางถนนและทางราง รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ไทยมีความน่าสนใจในอุตสาหกรรมการบิน เช่น การซ่อมบำรุง การขนส่งสินค้า เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นฮับการบินที่น่าสนใจต่อไป
รวมถึงต้นทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนใหญ่ที่สุดของสายการบิน คิดเป็น 30% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้าสามารถดูแลให้เหมาะสม ไม่มีราคาสูงจนเกินไป ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สายการบินดำเนินการอยู่ได้ และเสริมประสิทธิภาพการบินให้ตอบโจย์การที่เราอยากเป็นฮับการบินด้วย