เปิดผลกระทบต่อการลงทุนในปี 2568 และเหตุผลที่ยังคงให้น้ำหนักกับ "หุ้น"
ทิสโก้ เปิดผลกระทบต่อการลงทุนในปี 2568 ให้น้ำหนัก การลงทุนในหุ้นมากกว่าตลาด มองเศรษฐกิจไทยปี 68 โตได้ 3%
นายเมธัส รัตนซ้อน นักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ กล่าวถึง เศรษฐกิจโลกปี 2568 ขยายตัว 3.2% แรงหนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกว่าคาด จับตานโยบายกีดกันทางการค้าตัวแปรสำคัญกำหนดทิศเศรษฐกิจทั่วโลก ขณะที่เศรษฐกิจไทยคาดเติบโต 3.0% แรงหนุนจากรายจ่ายและการลงทุนภาครัฐ - เอกชนที่กลับมา การท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น ด้านราคาน้ำมันคาดไม่ปรับลงแรงตามที่ตลาดกังวล

ส่วน ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย ให้น้ำหนักที่สงครามการค้ารอบใหม่ และปัญหาหนี้ครัวเรือนในประเทศที่ทรงตัวในระดับสูงมายาวนาน รวมถึงคุณภาพของสินเชื่อที่ด้อยลงต่อเนื่อง
ดังนั้น ต้องจับตาการแปลงสภาพของสินเชื่อที่ต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) สู่การเป็นหนี้เสีย (NPL) โดยเฉพาะสินเชื่อหมวดยานยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ระดับกลาง - ล่าง เพราะอาจส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป ขณะที่ประเด็นเรื่องการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยความท้าทายที่ต้องจับตา เพราะอาจกระทบกับเศรษฐกิจไทยราว 0.3 – 1.1% ของประมาณการ GDP ตลอดช่วงที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าสหรัฐฯ จะตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นที่ระดับ 60% ตามที่หาเสียงไว้ได้หรือไม่ รวมถึงอัตราภาษีดังกล่าวจะถูกขยายวงกว้างไปยังประเทศอื่น ๆ ที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา
ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่ง ยกเลิก ห้ามขายเครื่องกรองน้ำยี่ห้อดัง 1 รุ่น
คนร้ายยิงตัวตาย! เหตุยิงกันบึงกาฬ เสียชีวิต 3 ศพ บาดเจ็บอีก 3 คน
“เบี้ยผู้สูงอายุ 2568” เช็กวันโอนเข้าบัญชี และอัตราการจ่ายเบี้ยตามเกณฑ์อายุ
TISCO
TISCO ESU ยัง “คงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่าตลาด” (Overweight)

TISCO ESU ยัง “คงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่าตลาด” (Overweight)
ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่จะได้อานิสงค์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เช่น การลดภาษี และการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งนี้ประเมินว่าหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่ม Tech อาจไม่ได้เป็นผู้นำตลาดต่อไปในปีหน้า เนื่องจากระดับ Valuation ที่แพง และแนวโน้มบอนด์ยิลด์ที่สูงจะเป็นปัจจัยกดดันต่อ Valuation ของหุ้นในกลุ่มเติบโตสูง นอกจากนั้นหุ้นในกลุ่ม Tech อาจเป็นเป้าหมายของการขึ้นภาษีตอบโต้สงครามการค้าของสหรัฐฯ
ดังนั้น TISCO ESU แนะนำให้ปรับพอร์ตการลงทุนมาเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์จากทั้งภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และนโยบายในปีหน้า โดยเน้นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากนโยบายลดภาษีนิติบุคคล และมียอดขายส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ ซึ่งทำให้ความเสี่ยงจากการถูกตอบโต้จากสงครามการค้ามีจำกัด ซึ่งได้แก่กลุ่ม สินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) และกลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐฯ นอกจากนั้น กำไรของภาคธนาคารยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างดอกเบี้ย (Interest Margin) ประกอบกับนโยบายสนับสนุนการลดกฎระเบียบในสถาบันการเงิน (Bank De-regulation) ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการปล่อยกู้ (Bank Lending Capacity) ของภาคธนาคารในระยะข้างหน้า
นอกเหนือจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่จะได้รับผลบวกจากการเติบโตของเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้น ในขณะที่ความเสี่ยงจากสงครามการค้ามีจำกัด ส่วนหุ้นในตลาดเกิดใหม่อาจต้องเผชิญแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า บอนด์ยิลด์ที่ทรงตัวในระดับสูง และแรงกดดันเงินเฟ้อซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการลดดอกเบี้ยในหลายประเทศ ขณะที่ให้ “ลดน้ำหนักการลงทุน” (Underweight) ในตลาดหุ้นไทย เพราะการเติบโตของกำไรยังไม่ชัดเจนนัก