"ลืมกินยา - กินเกิน/ขาด" ปัญหาในผู้สูงอายุ คนดูแลไม่ควรมองข้าม
ผู้สูงอายุต้องดูแลการกินยาอย่างถ้วนถี่ เนื่องจากอาจเกิดการหลงลืม กินขาดหรือเกินได้ ทำให้การรักษาโรคนั้นๆ ไม่ได้ผล และอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจากการใช้ยา และเกิดผลข้างเคียงได้ง่ายเนื่องจากผู้สูงอายุมีโรคร่วมหลายอย่าง และมีโอกาสได้รับยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากความชรากับการกำจัดยาออกจากร่างกาย ทำให้การดูดซึมยาลดลง การกระจายตัวของยาไม่ค่อยดี อาจพบปริมาณยาที่ค้างในร่างกาย และพบว่าการกำจัดยาทางไตทำได้ลดลง
ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องให้ความสำคัญและระมัดระวังเกี่ยวการใช้ยาในผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น
เสี่ยง ! หากใช้ผิด ยาปฏิชีวนะ ต่างจาก ยาแก้อักเสบ
"ผู้สูงอายุ" ป่วยโควิดทำอย่างไร? เช็กอาการ - วิธีปฏิบัติของผู้ดูแล
ผู้สูงอายุควรใช้ยาอย่างไรจึงเกิดประโยชน์และปลอดภัย
หลังจากที่พบแพทย์ และได้ยามารับประทาน ผู้ดูแลควรจัดยาให้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง โดยสิ่งที่สำคัญในการเริ่มใช้ยา คือ
- การอ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ตรงโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และตรงเวลา
- ควรตรวจดูวันหมดอายุของยา
- ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอพร้อมติดตามการรักษากับแพทย์
- ไม่ควรอย่านำตัวอย่างยาเดิมไปซื้อมารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาอยู่ ณ ปัจจุบัน
- ในกรณีที่มีอาการเจ็บป่วยหลายโรคพร้อมกัน และได้รับยาในแต่ละโรคจากแพทย์หลายๆท่าน ผู้ป่วยควรนำยาทั้งหมดไม่ว่าจะได้รับจากที่ใดมาให้แพทย์ หรือเภสัชกรตรวจเช็คเป็นระยะเพื่อป้องกันการรับประทานยาที่ซ้ำซ้อน และเกินขนาดจนส่งผลเสียต่อร่างกาย
“ยืนขาเดียวได้ไม่ถึง 10 วินาที” เสี่ยงเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่ทำได้
สิ่งต้องระวังเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้สูงอายุ
1.หลีกเลี่ยงการซื้อยาสมุนไพร ยาหม้อ และยาลูกกลอนมารับประทานเอง
เนื่องจากอาจมีผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดข้อตามที่ต่างๆ ผู้ป่วยมักเข้าใจว่าปลอดภัยเพราะทำมาจากสมุนไพร แต่มักมีการผสมยาประเภทสเตียรอยด์ ทำให้หายปวดข้อได้จริงแต่มีผลเสียในระยะยาวมากมาย เช่น กระดูกพรุน ต่อมหมวกไตฝ่อ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
2.อย่าเก็บยาที่เหลือไว้รับประทานครั้งต่อไป
เนื่องจากยาอาจหมดอายุหรืออาจไม่ใช้ยาตัวเดิม ไม่ควรหยุดยาเอง ซึ่งอาจเกิดจากผู้สูงอายุไม่ชอบประทานยา บางรายถึงขั้นปรับขนาดยาเองโดยที่ไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะเห็นว่าอาการดีมากขึ้นแล้ว ส่งให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับประทานอย่างต่อเนื่อง เพราะเดินทางมาพบแพทย์ไม่สะดวก ซึ่งพบได้บ่อยโดยที่ญาติมาขอรับยาเดิมจากแพทย์ โดยไม่พาผู้ป่วยมารับการติดตาม บางรายกินยาชุดเดิมอยู่หลายปี จุดนี้เองที่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ยาเหล่านี้จะสะสมจนเกิดเป็นพิษได้โดยไม่รู้ตัว
อย่ารอให้ "กระดูกพรุน" แล้วค่อยตรวจมวลกระดูก รู้เร็วป้องกันได้
กลุ่มยาที่ผู้สูงอายุควรระมัดระวังการใช้เป็นพิเศษ
ผู้สูงอายุหลายท่านมักมีอาการนอนไม่หลับ และมีความวิตกกังวลในหลายด้าน โดยเฉถาะปัญหาความเป็นอยู่ของลูกหลานส่งผลให้หลายๆ ท่านหันมาใช้ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ผู้สูงอายุจำเป็นต้องระมัดระวังเนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอุบัต พลัด ตกหกล้มได้ ซึ่งกลุ่มยาเหล่านี้มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการ ง่วงซึม สับสน เวียนศีรษะได้
นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของวิตามินอาหารเสริมต่างๆ ที่ลูกหลานหวังดีซื้อหามาให้รับประทานเพื่อหวังให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าวิตามินบางตัว หรือ สมุนไพร อาหารเสริมบางชนิด ไม่ได้เหมาะกับผู้สูงอายุทุกราย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีประวัติโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต เพราะอาจทำให้แร่ธาตุในร่างกายผิดปกติหรือการทำงานของไตแย่ลงได้ หากต้องการเสริมวิตามิน แนะนำปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเสียก่อน
อย่ารอให้ "กระดูกพรุน" แล้วค่อยตรวจมวลกระดูก รู้เร็วป้องกันได้
หากผู้สูงอายุลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร
โดยทั่วไปหากลืมรับประทานยา จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เนื่องจากยาบางชนิดให้รับประทานทันทีที่นึกได้ ยาบางชนิดอาจต้องรอรับประทานมื้อถัดไป เพื่อป้องการการลืมรับประทานยาของผู้ป่วย ผู้ดูแลอาจแบ่งจัดเช็ตยากล่องใส่ยา สำหรับมื้อ เช้า กลางวัน ก่อนนอน หรือก่อนหรือหลังอาหารไว้ได้
แต่ไม่แนะนำให้เตรียมยาล่วงหน้าครั้งละมากๆ หากเป็นยาบรรจุแผง แนะนำให้ตัดแผงยาตามเม็ดและเอาเม็ดยาออกจากแผงเมื่อจะรับประทานเท่านั้น เนื่องจากยาบางชนิดอาจไวต่อแสงหรือความชื้นทำให้เสื่อมสภาพได้ง่าย
อย่างไรก็ตามแนะนำว่ายาทุกตัวที่ผู้สูงอายุรับประทานควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยา
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน