อย่ารอให้ "กระดูกพรุน" แล้วค่อยตรวจมวลกระดูก รู้เร็วป้องกันได้
การเสื่อมสลายของเนื้อกระดูก จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่มีอาการบ่งชี้ ไร้สัญญาณเตือน การตรวจมวลกระดูกจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ใครๆ ก็อยากมีกระดูกที่แข็งแรง ไม่เปราะบางแตกหักง่าย เพื่อความมั่นใจในการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวและการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเป็นปกติ การรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยง ช่วยให้เราเสริมร่างกายให้แข็งแรงก่อนที่จะเกิดโรคได้
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง และมีการเสื่อมสลายของโครงสร้างภายในกระดูก ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงน้อยลง จึงเสี่ยงกับการเกิดกระดูกหัก บาดเจ็บได้ง่าย
โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่มองไม่เห็น รู้ทันป้องกันหัก
ห่วงคนเมืองขาดวิตามินดี รู้สาเหตุช่วยเสริมแกร่งกันโรค
สำหรับความแข็งแรงของกระดูกเกิดจากปัจจัยความหนาแน่นของกระดูก และคุณภาพของกระดูก เมื่อสูงอายุขึ้น กระดูกก็จะเสื่อมสภาพไปตามวัย รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย การดื่มสุรา การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย เป็นต้น
"เก๋ากี้ (โกจิเบอร์รี่)" ดีกว่าที่คิด แต่กินมากไประวังผลข้างเคียง
"สุดยอดอาหาร" อุดมคุณค่ากินได้ทุกวัน ทางออกของคนกลัวมะเร็ง
รู้ทันป้องกันกระดูกพรุน
การป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้นไม่ใช่เรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ช่วงที่ยังเด็ก เพื่อลดโอกาสเกิดโรคดังกล่าวในอนาคต
อาหารเสริมพลัง ป้องกันกระดูกพรุน
- แคลเซียม ที่ร่างกายต้องการอาจแตกต่างในแต่ละวัย และสภาวะร่างกาย ดังนี้ อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บรอกโคลี นมและผลิตภัณฑ์ของนม ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก ปลาตัวเล็ก ๆ พร้อมกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ เป็นต้น
- วิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม โดยร่างกายต้องการวิตามินดี วันละ 400-800 หน่วย
- นม 1 แก้ว = มีวิตามินดี 100 หน่วย และแคลเซียม 300 มิลลิกรัม
ออกกำลังทุกวัน ป้องกันกระดูกพรุน สมดุลการทรงตัว
- เด็กเล็ก พบว่าเด็กไทยมีปัญหาขาดการออกกำลังกายในช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนสูง เนื่องจากขาดการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักผ่านกระดูก
- ผู้ใหญ่ พบว่า ผู้ที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมง/วัน มีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้ที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน ถึง 50%
- ผู้สูงอายุ ควรออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก เช่น เต้นรำ เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ทั้งบนถนนหรือลู่วิ่ง ทั้งนี้การฝึกการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มเป็นวิธีการที่ดีที่จะลดอุบัติการณ์ของกระดูกหักได้ เช่น การรำมวยจีนบางประเภท แต่ถ้าไม่แน่ใจให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
ตรวจวัดมวลกระดูก Bone Mineral Density (BMD)
การตรวจวัดมวลกระดูก Bone Mineral Density (BMD) ด้วยเครื่องมือรังสีชนิดพิเศษ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวด ใช้ตรวจกระดูกได้ทุกส่วน แต่ที่นิยมและใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือ ที่กระดูกสันหลังช่วงเอวและกระดูกสะโพก ซึ่งจะได้ค่าเป็นตัวเลขแสดงความเบี่ยงเบนจากค่ามาตรฐาน
ส่วนภาพ X-rays ในภาวะกระดูกพรุนจะเห็นเนื้อกระดูกจาง ๆ โพรงกระดูกกว้างออก ความหนาของผิวกระดูกลดลงและมีเส้นลายกระดูกหยาบ ๆ โดยจะเห็นขอบของกระดูกเป็นเส้นขาวชัด ในบางราย อาจเห็นกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังทรุดตัว
ตรวจกระดูกตอนไหนดี
- ผู้ที่มีอาการปกติ ไม่มีภาวะเสี่ยง ควรเริ่มตรวจความหนาแน่นกระดูกเมื่ออายุ 60 ปี
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เคยมีประวัติกระดูกหักในครอบครัวจากภาวะกระดูกพรุน หรือรับประทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจความหนาแน่นกระดูกเร็วขึ้น
ใครบ้างที่ควรตรวจความหนาแน่นกระดูก
- สตรีวัยหมดประจำเดือน
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- ผู้ที่มีรูปร่างผอม ยิ่งผอมมากยิ่งเสี่ยงมาก
- ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย สูบบุหรี่จัด ชอบดื่มชา กาแฟ และน้ำอัดลม รวมทั้งผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม จากไวรัส VZV ตัวเดียวกับ "งูสวัด"
กินอร่อย “ติดเค็ม” ตามใจปาก เสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล