"โรคใหลตาย" จากหัวใจทำงานผิดปกติ อันตรายที่มาพร้อมการนอนหลับ
โรคใหลตายจากหัวใจทำงานปกติ สามารถตรวจคัดกรองหาความผิดปกติและป้องกันได้
โรคใหลตาย (Brugada Syndrome) คืออาการหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง จนทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตกะทันหัน ทั้งที่เดิมสุขภาพแข็งแรงดีมาตลอด โรคนี้ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด มักถ่ายทอดมาทางกรรมพันธุ์หรือมียีนที่ควบคุมการเข้าออกของเกลือแร่โซเดียมไปสู่เซลล์ของหัวใจที่ผิดปกติ
โรคใหลตายมีโอกาสเกิด 1:1,000-10,000 มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบในช่วงอายุ 26-56 ปี มักเกิดตอนนอนหลับช่วงกลางคืน (โดยเฉพาะถ้ากินอาหารมื้อหนักจำพวกแป้งก่อนนอน) หรือ ดื่มแอลกอฮอล์หนัก หรือเป็นไข้
"หัวใจ" แข็งแรงแฮปปี้ ด้วยวิธีการกินแบบพอดี - เลี่ยงไขมัน
สุดยอดอาหารบำรุง "หลอดเลือดหัวใจ" กินเมื่อไหร่ แข็งแรงเมื่อนั้น
แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่เราสามารถตรวจคัดกรองหาความผิดปกติที่เป็นโอกาสเสี่ยงได้ก่อน ด้วยวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ได้เลยโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตกะทันหันจากโรคใหลตายได้
หวาน มัน เค็มมากไป "หัวใจอ่อนแอ" รสชาติถูกใจแต่ทำลายสุขภาพ
วิธีการป้องกัน
การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (AICD) ไว้ในตัวคนไข้ เมื่อคนไข้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นและหัวใจกำลังจะหยุดเต้น เครื่องนี้จะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจของคนไข้ให้กลับมาเต้นเป็นปกติได้อีกครั้ง ทำให้มีโอกาสรอดชีวิตจากโรคใหลตายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวได้
นอกจากนี้ยังมีวิธีป้องกันอีกวิธีนั่นคือ การหลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อหนักก่อนนอนหรือ ดื่มแอลกอฮอล์ ในกรณีที่มีไข้ให้รีบกินยาลดไข้ และพบแพทย์
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หนึ่งในกลุ่ม NCDs ตัวร้ายอันตรายถึงชีวิต
โรคอื่น ๆ ที่ทำอันตรายถึงชีวิต
นอกจากโรคใหลตายที่ทำอันตรายถึงชีวิตโดยไม่รู้ตัวแล้วยังมีโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตกะทันหันได้ อาทิ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันชนิดเฉียบพลัน (Acute MI)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (HOCM)
- โรคหัวใจ"ห้องล่างขวา" สร้างกระแสไฟฟ้าผิดปกติ (ARVD)
- โรคหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจพิการ (DCM)
- โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
- โรคไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ
- โรคหัวใจ"ไหปลาหมึก"(Takotsubo cardiomyopathy)
ซึ่งหลาย ๆ โรคสามารถตรวจพบได้ก่อน ด้วยวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และอัลตราซาวด์หัวใจ (Echo) เพื่อตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงก็สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้เช่นกัน
"วิธีป้องกันหัวใจหยุดเต้นกะทันหันที่ดีที่สุด" ก็คือ การตรวจสุขภาพหัวใจประจำปี ด้วยรายการดังต่อไปนี้
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG)
- การอัลตราซาวด์หัวใจ(Echo)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- ระดับไขมันเลวLDL
- วัดความดันโลหิต
- รวมถึงการปรับ - ลด - เปลี่ยน พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สังเกต 5 อาการ บอกโรค "หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง"
นอกจากนี้การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Flu vaccine) วัคซีนป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (pneumococal vaccine) ก็สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย เพราะ "การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจ" ป้องกันได้
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล รังสิต