ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เจ็บหน้าอกแบบไหนเสี่ยง?
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ขาดเลือด หรือภาวะโรคหัวใจ ที่มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกเป็นอาการเตือนที่สำคัญ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการดังกล่าว มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากกลไกการเกิดมาจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจที่ตีบแคบอยู่ก่อนแล้ว
อย่างไรก็ตามแม้จะไม่มีใครบอกได้ว่าหลอดเลือดจะอุดตันเมื่อใด และกล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดตอนไหน แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกเป็นอาการเตือนที่สำคัญ
“ภาวะหัวใจล้มเหลว” ภัยเงียบ รุนแรงเฉียบพลันอันตรายถึงชีวิต
อายุน้อยก็เป็นได้! 5 สัญญาณเตือนโรคหัวใจ วิธีดูแลให้สมดุลแข็งแรงตลอดชีวิต
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งพบได้บ่อยและต้องระมัดระวังอย่างมาก
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- ไขมันในเลือดสูง
นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ยังได้แก่
- การสูบบุหรี่
- ภาวะกรนรุนแรง
- ภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับ ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนแล้วว่าทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนเป็นผลให้หลอดเลือดเสื่อมเร็ว และสามารถกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย
นอกจากผู้ป่วยจะมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันจากลิ่มเลือดแล้ว ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ต้องระวัง คือ
- กลุ่มที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งลิ่มเลือดยังไม่อุดตัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการเฉพาะเมื่อหัวใจต้องทำงานหนัก คือตอนที่ออกแรง และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องอาศัยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงควบคู่ไปกับการใช้ยาซึ่งมักจะได้ผลดี หรือในกรณีที่เป็นมากอาจต้องพิจารณาการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือกรณีที่หลอดเลือดตีบหลายเส้น แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัด
ปัจจัยเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้
- เพศ จากข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมา พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- อายุ พบผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในวัยกลางคนขึ้นไปถึงวัยสูงอายุ เพศชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และเพศหญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
- พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเดียวกันป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมด้วย โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลง และแก้ไขได้
- โรคประจำตัว หรือโรคที่พบร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน เป็นต้น
- พฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย ภาวะเครียดเรื้อรัง
หัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่ปั้มเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและปั้มเลือดไปปอดเพื่อฟอกเลือด ในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจต้องได้รับสารอาหาร และออกซิเจนจากหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary Arteries) ซึ่งมีอยู่ 3 เส้น ถ้าหากเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดการอุดตันด้วยลิ่มเลือด หรือตีบตันจากหลอดเลือดแข็งจนกล้ามเนื้อบริเวณนั้นขาดเลือดภายใน 20 นาที กล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะตาย กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน อาจพบอาการมากน้อยต่างกัน อาการที่สำคัญ คือ
- ผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจตีบมักจะมีอาการแน่นหน้าอก (Angina Pectoris) คล้ายมีของหนักทับหน้าอก มีอาการคล้ายมีอะไรมาบีบรัด เจ็บใต้กระดูกด้านซ้าย อาจเจ็บร้าวถึงขากรรไกร และแขนซ้าย
- อาการเจ็บมักจะสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย เช่น วิ่งตามรถเมล์ เดินขึ้นสะพานลอย ยกของหนัก ภาวะเครียดจัด
- อาการเจ็บมักไม่เกิน 15-30นาที อมยาแล้วหายปวด พักแล้วอาการเจ็บจะหาย มีอาการเจ็บไหล่ คอ ขากรรไกร หลัง
- อาการปวดท้องโดยเฉพาะเจ็บหน้าอกร้าวมาบริเวณลิ้นปี่
- หายใจติดขัด หายใจไม่ออก
- เหนื่อย เวียนศีรษะ หน้ามืดจะเป็นลม
- คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก
หากมีอาการเจ็บหน้าอกและมีอาการดังกล่าวข้างต้นเป็นครั้งแรก ต้องรีบพบแพทย์ หรือมีอาการเจ็บหน้าอกมานาน และความรุนแรงไม่ได้เปลี่ยนแปลง อาจจะรับประทานยาที่มีอยู่เดิม และรับคำปรึกษาจากแพทย์ ท่านที่มีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ก่อน หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์ ซึ่ง เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Unstable Angina
- เจ็บครั้งนี้ เจ็บมากกว่าครั้งก่อนๆ
- เจ็บครั้งนี้ นานกว่า 20 นาที
- เจ็บครั้งนี้ เกิดขณะพัก
- เจ็บครั้งนี้ อมยาแล้วไม่หายเจ็บ
- เจ็บครั้งนี้ เจ็บมากจนเหงื่อออก เป็นลม หรือหายใจหอบ
การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่สำคัญ
- การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรค โดยเฉพาะการควบคุมและรักษาโรคที่พบร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ได้แก่ สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนจนเกินไป โดยการออกกำลังกายชนิดแอโรบิกเป็นประจำสม่ำเสมอ ครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ปลา ผัก และผลไม้
- งดรับประทานอาหารที่มีรสมันจัด หรือมีคอเลสเตอรอลสูง และผ่อนคลายจิตใจ เพื่อลดภาวะเครียดรับประทานยาโดยเคร่งครัด พกยาอมใต้ลิ้นเพื่อได้ใช้ทันที
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
กลุ่มอาหารบำรุงหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงต้านโรคหัวใจ
วัยรุ่นมีแนวโน้มป่วยโรคหัวใจมากขึ้น รู้ทัน 6 พฤติกรรมเสี่ยงป้องกันได้