เช็กอาการอันตราย "นิ่วในระบบปัสสาวะ" รีบรักษาก่อนลุกลาม
อาการปัสสาวะแสบ ขัด และปัสสาวะลำบาก เป็นสัญญาณของโรคนิ่วในระบบปัสสาวะ หากไม่รีบรักษาอาจส่งผลต่อการทำงานของไตได้
นิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ หากนิ่วมีขนาดเล็กก็จะสามารถหลุดออกเองได้ ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ
การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง และโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
"ปวดฉี่บ่อย" โรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน รีบรักษาก่อนส่งผลระยะยาว
สีปัสสาวะบอกสุขภาพ รู้ทันสัญญาณเตือนโรค ไม่ตื่นตระหนก รักษาได้ทัน
สาเหตุของนิ้ว
สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัดเจน แต่ที่สามารถอธิบายได้ เช่น
- การดื่มน้ำน้อย กลุ่มอาชีพเสี่ยงต่อโรค เช่น ผู้ที่ออกไปดื่มน้ำลำบาก เมื่อดื่มน้ำน้อยจึงทำให้ปัสสาวะเข้มข้น แร่ธาตุของเสียที่กรองจากไตตกตะกอนจับตัวเป็นก้อนหินเป็นผลึกได้มากขึ้น
- สิ่งแวดล้อมด้านพันธุกรรม คนไทยที่อาศัยที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดนิ่วได้ง่ายกว่าคนภาคอื่น เพราะระบบเผาพลาญ การดูดซึมคัดกรองเกลือแร่ของคนไข้ทำให้มีการตกตะกอนได้ง่าย
ไอ จาม หัวเราะแล้ว "ปัสสาวะเล็ด" โรคนี้รักษาได้ ทวงคืนคุณภาพชีวิตดี
อาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ลักษณะอาการของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะนั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่วและตำแหน่งที่นิ่วนั้นอุดอยู่ รวมถึงนิ่วนั้นอุดทางเดินปัสสาวะมากน้อยเพียงใด หากอาการอยู่ในช่วงระยะแรก ร่างกายของเราอาจขับก้อนนิ่วออกมาได้เองทางปัสสาวะ ซึ่งจะพบตะกอนเหมือนก้อนกรวดเล็กๆ ปนออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่เมื่อใดก็ตามที่ก้อนนิ่ว มีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีการอุดตันที่มากขึ้น ก่อให้เกิดการเสียดสี ส่งผลสู่การบาดเจ็บ มีเลือดออก ทำให้ปัสสาวะมีสีแดงขึ้น จากเลือดหรือบางกรณีมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ
- อาการปวดจากนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ โดยอาจมีอาการปวดบริเวณบั้นเอว หรือ บริเวณท้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งนิ่ว
- มีปัสสาวะแสบ ขัด และปัสสาวะลำบาก
- มีปัสสาวะเป็นเลือด พบได้ถึง 80 - 90% ของผู้ป่วย
- ปัสสาวะขุ่นเป็นผลคล้ายชอล์ก เนื่องจาก การตกตะกอนของสารที่เป็นส่วนประกอบของนิ่ว
- การติดเชื้อ การอุดกั้น ของนิ่วทำให้ปัสสาวะคั่งค้าง ในระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีไข้ หากมีอาการมาก อาจพบปัสสาวะขุ่นมีหนองปน และกลิ่นเหม็น
- ปัสสาวะไม่ออก กรณีที่เป็นนิ่วบริเวณท่อปัสสาวะ
- ไม่มีน้ำปัสสาวะ กรณีที่มีภาวะอุดตันของไต อย่างรุนแรงทั้งสองข้าง
- อาการแทรกซ้อน เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และท้องอืด
แสบ ขัด ปัสสาวะไม่สุด ระวังโรค "มะเร็งต่อมลูกหมาก"
อาการของนิ่วในไตหรือท่อไต
จะมีอาการปวดตรงบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต เวลาที่ก้อนนิ่ว หลุดมาอยู่ในท่อไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดชนิดที่รุนแรงมาก เหงื่อตก และเกิดเป็นพักๆ บางรายปัสสาวะอาจมีเลือดหรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อร่วมด้วย
แต่ถ้านิ่วลงมาอุดบริเวณที่ท่อไตต่อกับกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ อยากปัสสาวะ แต่ปัสสาวะขัด หากปล่อยให้เป็นนิ่วไปนานๆ โดยมิได้รับการรักษา จะทำให้ไตเกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง ส่งผลให้ไตมีรูปร่าง และการทำงานผิดปกติมากยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวของคนวัยทำงานที่ต้องระวัง
การวินิจฉัยเบื้องต้น
การตรวจปัสสาวะ เจาะเลือดดูการทำงานของไต สำหรับการประเมินวิธีการรักษาต้องตรวจเอกซเรย์ฉีดสี หรืออัลตราซาวด์ที่ไต เพื่อดูตำแหน่ง ขนาด จำนวนและชนิดของนิ่ว
การรักษา
ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี โดยแพทย์จะพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลเรื่องชนิดและขนาดของนิ่ว ตำแหน่งของนิ่ว ความแข็งของนิ่ว ไตบวมมากหรือน้อย การอักเสบของไต พิจารณาแล้ววิเคราะห์เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละราย บางท่านอาจจะเหมาะสมที่จะรักษาด้วยการสลายนิ่ว แต่บางท่านไม่เหมาะสมที่จะสลายนิ่ว อาจรักษาได้ด้วยวิธีอื่นๆ เริ่มจาก
1. การรักษาตามอาการ กรณีนิ่วมีขนาดเล็ก กว่า 4 มม. โดยจะแนะนำให้คนไข้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้นิ่วหลุดออกเองและตามผลอย่างสม่ำเสมอ
2. การรักษาทางยา เหมาะในรายที่เป็นนิ่วขนาดเล็กในไตหรือท่อไต ลักษณะกลม เรียบ มีอาการปวดไตน้อย ไม่อักเสบรุนแรง
3. การเจาะเพื่อดูดเอานิ่วอออกหรือการสลายนิ่ว ด้วยเครื่อง Shockwave ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีนิ่วขนาดไม่เกิด 2 ซม.เหมาะสำหรับนิ่วในไต หรือ ท่อไตขนาดปานกลาง
4. การผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดแบบเปิดแผล หรือการผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้อง วิธีการเหมาะสำหรับนิ่วที่มีขนาดใหญ่ เช่น นิ่วในท่อไตที่ติดแน่น นิ่วเขากวางในไต รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบรุนแรง ซึ่งต้องรีบขจัดนิ่วออก ผู้ป่วยที่มีไตเสื่อมมากแล้ว เป็นต้น
ส่วนการรักษานิ่วโดยใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปคีบ ขบ กรอนิ่ว เหมาะสำหรับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และท่อไต โดยแพทย์จะสอดกล้องเข้าไปตามท่อปัสสาวะเพื่อทำการรักษา
สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ตัวเองแบบง่ายๆ ทำได้ทันที
การดูแลป้องกัน
- ดื่มน้ำให้มาก ทางทฤษฎีถ้าดื่มและปัสสาวะออกมาได้ในปริมาณ 2 ลิตร ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำ หรือการเกิดนิ่วก้อนใหม่ แต่ปัจจุบันต้องพิจารณาตามความเหมาะสมกับลักษณะการใช้ชีวิต
- ดื่มน้ำมะนาว น้ำส้ม ช่วยให้การเกิดนิ่วลดลง เพราะน้ำมะนาวมีซิเตรท ช่วยยับยั้งการเกิดนิ่ว การดื่มน้ำมะนาววันละ 1-2 แก้วต่อวัน ช่วยยับยั้งให้นิ่วโตช้า หรือเกิดซ้ำช้าขึ้นในผู้ที่แล้ว
- ดูแลด้านอาหาร พิจารณาจากชนิดของนิ่วเป็นหลัก อาทิ เป็นนิ่วกรดยูริก ลักษณะการดูแลตนเองจะคล้ายกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกาต์ ต้องระมัดระวังอาหารประเภทเครื่องในสัตว์
- ตรวจสุขภาพประจำปี ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล