อาการปอดอักเสบ รู้ทัน-เฝ้าระวัง ฉีดวัคซีนลดภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต
รู้ทันอาการปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนอันตรายชีวิต รู้หลักป้องกันโรค เพราะโควิด19ยังอยู่กับเรา
โรคปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่า “ปอดบวม” ชื่อติดหู ตั้งแต่โควิด19 ระบาดหนักในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยสาเหตุของการติดจากเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่เรียกว่า เชื้อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งมีกว่า 90 สายพันธุ์ อาทิ เชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV), เชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza),เชื้อโคโรนา (Corona) เป็นต้น นอกจากนี้คนไข้บางรายอาจะเกิดขาด สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้
เช็กตัวเองวัคซีนโควิดเข็ม 4,5 จำเป็นไหม ฉีดเมื่อไรดี
ไม่ใช่โรคใหม่!ไทยเคยพบผู้ป่วย“ลีเจียนแนร์” เชื้อแพร่ในวงจำกัดควบคุมได้
นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด และยาที่ใช้ควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิด ได้เช่นกัน โดย พบว่าการติดเชื้อมักเกิดจากการสำลักน้ำลาย น้ำดื่ม หรืออาหาร ส่งผลให้เชื้อที่สะสมอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน เข้าสู่บริเวณปอด จนเกิดโรคปอดอักเสบในที่สุด ซึ่งปอดอักเสบ ยังสามารถก่อให้เกิดโรคอื่นตามมาได้อีก ได้แก่ การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง และการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งโรคปอดอักเสบนี้ปัจจุบันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงอาการหนัก
- เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี
- กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด และผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
อาการของโรคปอดอักเสบ มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ
- มีไข้เหงื่อออกหนาวสั่น
- ไอมีเสมหะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องเสีย
- ท้องอืด เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอด
- เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
- อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบาก
- ไข้สูง ไอมากแบบแห้ง ๆ หรือคล้ายมีเสมหะ
- หายใจเร็วกว่าปกติ หายใจลำบาก
- หน้าอกบุ๋ม
- ฟังเสียงปอดมักจะได้ยินเสียงผิดปกติ
รู้ทัน ! "กรดไหลย้อน" โรคน่ารำคาญใจรบกวนคุณภาพชีวิต
การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบ
แพทย์จะทำการตรวจ X- Ray ปอด ตรวจเลือดและนำเสมหะ (swap) ของคนไข้ไปตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจจำแนกแยกเชื้อ ถือเป็นการยืนยันหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของการป่วย ก่อนวางแผนการรักษาให้ถูกต้อง
การป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ
- หลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างถูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- รักษาสุขอนามัยเสมอเพื่อป้องกันการรับเชื้อสู่ร่างกาย ด้วยการล้างมือทุกครั้งที่มีการหยิบจับสิ่งของและก่อนรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และการเดินทางไปอยู่ในที่มีผู้คนหนาแน่น
- สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ
- แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
ข้อควรรู้เมื่อเกิด "แผลในผู้ป่วยเบาหวาน" เหตุผลที่รักษายากเสี่ยงลุกลาม
ตรวจสุขภาพประจำปีสำคัญ ก่อนโรคภัยเงียบลุกลาม อายุน้อยก็เสี่ยงได้