“ตาโปน” แบบไหน ? สัญญาณเตือนโรค ไทรอยด์เป็นพิษ-มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ตาโปน หนึ่งในสัญญาณไทรอยด์เป็นพิษและกลุ่มโรคมะเร็ง แล้วตาโปนแบบไหนที่ว่าเสี่ยง อาการร่วมแบบไหนที่ชี้ชัดว่าควรพบแพทย์ เจอก่อนเจอเร็วไม่ต้องผ่าตัด
ตาโปน ลักษณะที่ลูกตายื่นเกินออกมาจากเบ้าตามากกว่าปกติ จากลักษณะดวงตาที่ต่างกัน คือตายื่นเกินมาตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรขึ้นไปจากปกติ โดยในคนเอเชียสามารถใช้เครื่องวัดตาโปนที่เรียกว่า Hertel Exophthalmometer โดยการวัดจะใช้ตัวเลข 18 มิลลิเมตรเป็นค่ามาตรฐาน หากวัดได้เกิน 18 มิลลิเมตร จะถือว่าเป็นตาโปน มีอาการปวด คันตา น้ำตาไหล ตาแดงได้ง่าย ร่วมด้วย บางคนเวลากรอกตาไปมาจะเหมือนมีอะไรบางอย่างอยู่ในตา ส่วนหนึ่งมักมาพบแพทย์ด้วยอาการตามัว การมองเห็นภาพที่ผิดปกติไป มองเห็นสีผิดปกติ หรือเวลากรอกตาจะเห็นเป็นภาพซ้อน
สังเกต 9 อาการผิดปกติ "โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ" ต้องรีบรักษา
"ฮาชิโมโต ไทรอยด์" เช็กอาการก่อนป่วยรุนแรงอันตรายถึงชีวิต
สาเหตุของการเป็นตาโปน จะมีความแตกต่างกันในเด็กและในผู้ใหญ่ คือ
วัยเด็กมักเกิดจาก
- กลุ่มเนื้องอก (Dermoid)
- เนื้องอกของเส้นเลือด (Capillary Hemangioma)
- การติดเชื้อในบริเวณลูกตา (Orbital Cellulitis)
วัยผู้ใหญ่มักเกิดจาก
- โรคไทรอยด์ (Thyroid) อาการร่วม ของโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
- ต่อมไทรอยด์โต
- หัวใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติหรือเต้นผิดปกติ
- ผิวหนังชื้นเนื่องจากการเผาผลาญที่มากขึ้น เหงื่อออกง่าย ผิวจะร้อนและอุ่นเหมือนเป็นไข้ มือสั่น
- ผมบาง ร่วงง่าย
- น้ำหนักลด อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง
- หงุดหงิดง่าย การนอนไม่หลับ
- ขับถ่ายบ่อยผิดปกติ
- ผิวบริเวณหน้าแข้งหรือหลังเท้าหนา บวมและแดง
- ประจำเดือนผิดปกติ อาจประจำเดือนมาน้อย หรือมาไม่สม่ำเสมอ
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
- เนื้องอกในเส้นเลือด (Cavernous Hemangioma)
- กลุ่มที่หาสาเหตุการอักเสบไม่ได้ (Orbital Cellulitis)
- กลุ่มที่มีเชื้อมะเร็งกระจายบริเวณรอบดวงตา
แนวทางการรักษาตาโปน
- ตามอาการ เช่น ตาโปนอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง เคืองตา น้ำตาไหล ก็จะรักษาโดยใช้น้ำตาเทียม ใส่แว่นกันแดดเพื่อป้องกันการโดนแสงแดด โดนลม หากความดันลูกตาสูงก็จะให้ยาลดความดันลูกตา
- ตามสาเหตุ เช่น ตาติดเชื้อก็ให้ยาฆ่าเชื้อ ยาปฎิชีวนะ หากเป็นมะเร็งก็ให้คีโม ให้ยามะเร็ง หากเกิดจากไทรอยด์ก็ให้ยาไทรอยด์ กินเกลือแร่รังสีหรือทำการฉายแสง เป็นต้น
“ตาแห้ง” อาการที่พบบ่อยในคนจ้องจอนาน-นอนน้อย ไม่ดูแลอันตรายถึงตาบอด
เมื่อไหร่ที่ต้องผ่าตัด ?
- มีเนื้องอกบริเวณดวงตาก็จะผ่าตัดเนื้องอกออก เพื่อให้กระดูกมีพื้นที่เหลือบริเวณรอบดวงตา
- มองเห็นภาพซ้อน
- มีการกดทับเส้นประสาท มีการมองเห็นลดลง มีการเห็นสีลดลง ลูกตายื่นออกมาทำให้กระจกตาเป็นแผล หลับตาไม่สนิท
- เกิดจากการกินยาลดความดันลูกตา แต่ความดันไม่ลดลง
- จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อความสวยงาม Appearance Image ที่สำคัญกับการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
วิธีการป้องกันตาโปน
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์ควรตรวจสุขภาพและตรวจเลือดทุกปี เพื่อป้องกันตาโปนที่เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษ เพราะส่วนใหญ่จะพบว่าในช่วงเวลา 1 ปี หากมีไทรอยด์ผิดปกติก็จะมีอาการทางตาได้ถึง 60% และสำหรับผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป แม้ยังไม่มีปัญหาสุขภาพก็ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
เช็กสัญญาณแรก “เบาหวานขึ้นตา”ปล่อยไว้นาน เสี่ยงตาบอด รู้ก่อนรีบรักษาได้
"มะเร็งต่อมน้ำเหลือง" พบได้บ่อยในคนไทย หมอแนะวิธีสังเกต คลำจุดใดบ้างตามร่างกาย