แนะวิธีการตรวจโควิด-19 “เด็กเล็ก”หลังจบวันเด็ก 2566
เด็กคือกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดโควิดมากกว่าผู้ใหญ่อีกทั้งยังต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ภาวะ MIS-C ซึ่งเป็นอาการอักเสบรุนแรงที่เกิดได้ในหลายระบบของร่างกาย แนะผู้ปกครองตรวจโควิดบุตรหลาน หลังวันเด็ก2566 ป้องกันการแพร่ระบาดวงกว้าง
วันเด็ก 2566 ผ่านไป เด็กหลายคนได้สนุกกันสุดเหวี่ยงกับกิจกรรมที่หลายพื้นที่และหน่วยงานได้จัดขึ้น ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองหลายคนอาจไม่สบายใจกับโควิด 19 เพราะไม่ว่าจะป้องกันดีแค่ไหนการที่เด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า อาจสุ่มเสี่ยงติดและอาการหนักกว่าหลายเท่า ซึ่งเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่โควิดในเด็ก มีทั้งเด็กน้อยที่มีอาการชัดเจน และ เด็กน้อยที่ไม่มีอาการ แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าเจ้าตัวน้อยของเราปลอดเชื้อหรือไม่?
เช็กเลย!จุดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 มกราคม 2566 ฟรี!
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ติดเชื้อเฉลี่ย วันละ 142 คน เสียชีวิตวันละ 8 คน
สังเกตอาการ โควิดในเด็ก
- มีไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียส
- หายใจติดขัด หรือ หายใจเร็ว
- จมูกไม่ได้กลิ่น เเละลิ้นไม่รับรส
- คลื่นไส้อาเจียน มีอาการท้องเสียร่วมด้วย
- ผื่นขึ้นตามตัว
- ไอ มีเสมหะ หรือ เจ็บคอ
- เบื่ออาหาร หรือในเด็กทารกอาจจะกินนมได้น้อยลง
ตรวจโควิด19 ในเด็ก
- ชุดตรวจ ATK แบบน้ำลาย
ชุดตรวจดังกล่าวเหมาะสำหรับเจ้าตัวน้อยที่งอแง และกลัวการตรวจแบบ swab จมูกซึ่งง่าย สะดวกรวดเร็วกว่า และมีโอกาสตรวจพบเชื้อโควิด-19 ได้สูงที่สุด จะต้องเป็นน้ำลาย ที่มาจากด้านหลังของคอ
การใช้งาน ATK แบบน้ำลาย
- บ้วนน้ำลายกระแอมจากลำคอลงในหลอดเก็บตัวอย่าง
- บีบสารสกัดลงในหลอด ปิดฝาให้แน่นและผสมโดยการคว่ำหลอดขึ้นลงประมาณ 10 ครั้ง
- หยดตัวอย่างประมาณ 3 หยดลงในแผ่นทดสอบ
- ทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่คู่มือของชุดตรวจแนะนำก่อนการอ่านผล
คำแนะนำ
- งดการแปรงฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แนะนำให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดเท่านั้น
- งดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม งดสูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง ประมาณ 30 นาที
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือในกล่อง ซึ่งอาจจะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละยี่ห้อ
- เลือกใช้ชุดตรวจที่ได้คุณภาพ ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา
- หากผลตรวจเป็นบวก ให้แยกกักตัวทันที และติดต่อโรงพยาบาล หรือโทร 1330
- หากผลตรวจเป็นลบ ให้ระวังผลลวง เพราะอาจมีเชื้อน้อยจนตรวจไม่พบให้ตรวจซ้ำอีกครั้งภายใน 1 – 2 วัน
- ชุดตรวจที่ใช้แล้วให้รัดปากถุงให้มิดชิดและทิ้งในถังขยะติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
การ swab จมูก
แน่นอนว่า การ swab จมูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจ ว่าทำไปทำไม ซึ่งเด็กอาจจะต้องมีอายุแล้วระดับหนึ่งที่จะเข้าใจบ้างแล้ว จากนั้นผู้ปกครองใส่ไม้ swab เข้าไปในจมูกเด็ก ๆ
วิธีใช้ คือ การ swab จมูก
- เทน้ำยาลงในหลอดตัวอย่างให้ถึงจุดที่กำหนด
- นำก้าน swap แหย่จมูก ให้เด็กเงยศีรษะเล็กน้อย หรือเอียงประมาณ 70 องศาฯ หมุน 3-4 ครั้ง ค้างไว้ 3 วินาที
- นำก้าน swap ใส่หลอด หมุนวนในน้ำยาประมาณ 5 ครั้ง
- นำหลอดดูดน้ำยา หยดลงช่องประมาณ 2-3 หยด
- ทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่คู่มือของชุดตรวจแนะนำก่อนการอ่านผล
- ถ้าขึ้น 2 แถบ ที่ C และ T แสดงว่า ติดเชื้อโควิด-19
การรักษาเมื่อเด็กติดโควิด
รักษาตามอาการของเด็กในแต่ละคน หากมีอาการรุนแรง ไม่ว่าจะไข้สูง อาเจียน ถ่ายเหลว หรือมีอาการชัก จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังและติดตามอาการอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ แต่หากไม่มีอาการหรืออาการไม่มาก ก็ให้กักตัวที่บ้าน โดยคุณพ่อคุณแม่จะต้องเฝ้าดูอาการของลูกตลอดเวลา และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที
"อนุทิน" คิกออฟฉีดวัคซีนโควิดเด็ก 6 เดือน- 4 ปี ลดภาวะรุนแรงในเด็ก
อาการและความเสี่ยงเมื่อเด็กติดเชื้อโควิด
- เชื้ออาจลงปอด ทำให้มีอาการรรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
- มีผลกระทบต่อพัฒนาการและสภาพจิตใจของเด็ก เพราะต้องทำการรักษาหรือกักตัวอยู่ในพื้นที่แคบเป็นเวลานานถึง 10 วัน ทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ เนื่องจากไม่ได้ออกไปวิ่งเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน
- ภาวะ MIS-C ซึ่งเป็นอาการอักเสบรุนแรงที่เกิดได้ในหลายระบบของร่างกาย สามารถเกิดได้ตั้งแต่ติดเชื้อไปจนถึงหายจากโควิดแล้ว 2-8 สัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็น ไข้สูง อาเจียน ท้องเสียรุนแรง ผื่นขึ้นตามตัว ปวดหัว ซึม หรือมีอาการชัก ตาแดง ปากแดง ปากแห้งแตก ตุ่มรับรสที่ลิ้นมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หายใจเหนื่อย หอบ ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ
การป้องกันจากเชื้อโควิด-19
- เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน และควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน
- ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสบริเวณหน้า โดยเฉพาะ ตา จมูก ปาก
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการใช้ของเล่นหรืออุปกรณ์ร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปที่แออัด หรือมีคนพลุกพล่าน
ทั้งนี้ ควรให้เด็กที่มีช่วงอายุตามเกณฑ์ เข้ารับ “การฉีดวัคซีนโควิด” ให้ครบตามกำหนด และตรวจโควิด19 ก่อนที่เด็กจะต้องไปโรงเรียนหรือพบปะผู้คนเพื่อป้องกันการเป็นพาหนะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายในวงกว้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
เตือน! เด็กเล็กฉีดวัคซีนลดลง อาจเกิดโรคหัด-คอตีบ-ไอกรน ระบาด
เตือน ผู้ปกครองดูแลเด็กเล็กหลัง ไวรัส RSV ระบาดหนัก