ฝุ่นPM2.5 – มลพิษ กระตุ้น “ไซนัสอักเสบ” กำเริบ ทำลายระบบร่างกาย
ฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยโรคทางจมูกอักเสบ อย่าง ไซนัสอักเสบ ให้มีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งมลพิษในอากาศชนิดต่างๆ สามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบมี อาการเยื่อบุจมูกอักเสบ บวมมากขึ้น ซึ่งหากปล่อยเรื้อรัง อาจอุดกั้นรูเปิดของไซนัส ทำให้เกิดไซนัสอักเสบตามมาได้
จากการวิจัยพบว่าฝุ่นละอองที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน แน่นอนว่า PM2.5 ที่เป็นฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดอนุภาคเล็กมากๆ (ขนาดเล็กกว่า2.5ไมครอน หรือไมโครเมตร) (PM ย่อมาจาก Particulate Matters) ที่ลอยเต็มฟ้าทุกเช้านี้ก็เป็นตัวการเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้สามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจผ่านโพรงจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอด ทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง และฝุ่นละอองจะมีพิษมากขึ้น หากฝุ่นละอองนั้นเกิดจากการรวมตัวของก๊าซบางชนิด
สัญญาณ“ไซนัสอักเสบ”ภาวะแทรกซ้อนพิษต่อร่างกายเสี่ยงเสียชีวิตได้
เตือนอันตราย! PM 2.5 ภัยร้ายใกล้ดวงตา เลี่ยงต่อการติดเชื้อ
- สารมลพิษซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีผลกระทบต่อสุขภาพ คือลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด และผู้ที่เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมีอาการมากขึ้น เมื่อหายใจเข้าไป มลพิษชนิดนี้จะแพร่ฟุ้งกระจายเข้าเส้นเลือดได้ทันที และหากได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไตออกไซด์ ขนาด 5-10 ppm.จะมีทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา และระบบทางเดินหายใจ
- สารมลพิษโอโซน มีผลต่อสุขภาพคือ ระคายเคืองตา จมูก และคอ แน่นหน้าอก และไอที่เกิดจากการเจ็บปวดเมื่อหายใจ
- สารพิษออกไซน์ของไนโตรเจน โดยเฉพาะไนโตรเจนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนดออกไซน์ หากได้รับในปริมาณ 10 ppm. สัมผัสนานกว่า 8 ชั่วโมง จะทำลายปอด ทำให้เกิดปอดบวม และหากได้รับรับในปริมาณ 20-30 ppm. อาจทำให้เสียชีวิตได้ หรือเพิ่มความเสี่ยงโรคทางเดินหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
- สารมลพิษสารไฮโดรคาร์บอน มีผลต่อสุขภาพคือ สารมลพิษนี้จะทำปฏิกิริยาโฟโตเคมิคัล กลายเป็นหมอกผสมควัน ซึ่งประกอบไปด้วยโอโซน และออกซิแดนซ์ต่างๆ ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา
**ppm. ย่อมาจาก part per million คือส่วนในล้านหน่วย วัดความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศ และน้ำ
ปัจจัยอื่นที่ทำให้กระตุ้นการเกิด “ไซนัสอักเสบ”
นอกจากมลพิษในอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติก็มีผลต่อผู้ป่วยเช่นกัน และอีกปัญหาที่อาจจะมองข้ามไปคือ ภาวะมลพิษทางอากาศภายในบ้านก็มีโอกาสเกิดได้ เช่น จากการใช้เตาอบ เตาแก๊ส ในที่อากาศถ่ายเทไม่ดี หรือ พิษจากควันบุหรี่ ฝุ่นภายในบ้าน ตัวไรในฝุ่นในบ้าน เกสรพืช ชิ้นส่วน หรือสิ่งขับถ่ายของแมลงที่อาศัยอยู่ในบ้าน เช่น แมลงสาบ ยุง แมลงวัน มด สารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญที่สุดในฝุ่นคือ ตัวไรฝุ่น นอกจากนี้ การว่ายน้ำสระที่ใส่น้ำยาคลอรีน หรือฆ่าเชื้อด้วยโอโซนอาจทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบเกิดขึ้น เพราะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุโพรงจมูก’
ป้องกัน “ฝุ่นPM2.5” ภัยร้ายที่ไม่เล็กของคนเมืองทำร้ายร่างกายทั้งระบบ
การป้องกันตัวเองจากมลพิษ ฝุ่น ควันในอากาศ
- การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเขม่าควัน และฝุ่นละออง
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีการจราจรแออัด
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใดๆ หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในบริเวณกลางแจ้ง หรือบริเวณที่มีฝุ่นควัน
ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการหวัด ภูมิแพ้ เพราะคนส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นไซนัสอักเสบ มักเกิดมาจากโรคภูมิแพ้ของจมูก ดังนั้น หากรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ ก็ควรหลีกเลี่ยง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
เทคนิคการ ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ปลอดภัยไม่สำลักลดอาการภูมิแพ้
เช็ก 10 อาการเตือน “ไทรอยด์” รู้ทันรักษาได้ ก่อนเสี่ยงหัวใจล้มเหลว