แพ้อะไรปัจจัยเกิด“ลมพิษ” ผื่นแดง-คันยุบยิบ วิธีรักษาให้หายขาด
หลายคนโดนฝุ่นควัน อาจทำให้เกิดอาการแพ้ คัน ผื่นแดงขึ้น ซึ่งมีอาการคล้ายลมพิษ ซึ่งเป็นอาการคุ้นหู ที่ปล่อยไว้หลายวันไม่หายสักที ถมยังมีอาการมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเป็นแบบนี้ให้ลองสังเกตดีๆ ว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังของคุณนั้น ใช่ “ลมพิษ” หรือไม่
ลมพิษ (Urticaria) เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยโดยในทุกช่วงอายุ เพศหญิง มากกว่าเพศชาย แบ่งลมพิษออกเป็น 2 ประเภท
- ลมพิษชนิดเฉียบพลัน มักมีอาการต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ประมาณ 50% จะเกิดขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุ นอกนั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน การแพ้ยา และแพ้อาหารตามลำดับ
- ลมพิษชนิดเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ติดต่อเกิน 6 สัปดาห์ และเป็นอย่างน้อย 2 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ลมพิษชนิดนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ
ไม่เอาแล้วตุ่มคัน-ผื่นแดง! รู้ทันโรคภูมิแพ้ผิวหนังแบบเจาะลึก
ลมพิษชนิดที่เกิดจากการกระตุ้น อย่างการขูดขีด ความร้อน ความเย็น การออกกำลังกาย เป็นต้น หรืออาจมาจากยาการติดเชื้อ หรืออาจเป็นชนิดที่ไม่พบสาเหตุจำเพาะเลยก็เป็นได้
ลมพิษจะมีอาการ
- ผื่นบวม นูน แดง กระจายตามลำตัว แขนขา หรือบริเวณใบหน้า และจะมีอาการคันร่วมด้วย โดยทั่วไปผื่นนั้นจะค่อยๆ ยุบลงได้เองภายใน 24 ชั่วโมง สักพักก็กลับมาขึ้นใหม่
- บางรายที่เกิดอาการบริเวณเนื้ออ่อน เช่น ริมฝีปาก หรือหนังตา จะเรียกว่า ภาวะแองจิโออีดีมา (Angioedema) อาจเป็นได้นาน 2-3 วัน ถึงจะค่อยๆ ยุบ
- บางรายอาจมีอาการบวมในระบบทางเดินอาหารทำให้รู้สึกปวดแน่นท้อง
- หากเป็นลมพิษเฉียบพลันที่มีอาการรุนแรง อาจพบอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง ร่วมกับมีอาการหน้าบวม ตาบวม ปากบวม ซึ่งถ้ามีอาการต่างๆ เหล่านี้ ถือว่าเป็นภาวะอาการแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) ให้รีบมาพบแพทย์ที่แผนกฉุกเฉินทันที
- มีอาการในระบบทางเดินหายใจทำให้แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก และถ้ามีอาการรุนแรงมากอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
- แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูดในอาหาร หรือสีผสมอาหารบางชนิด
- แพ้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาแก้ปวด แอสไพริน เป็นต้น
- แพ้ฝุ่น ละอองเกสร พืชบางชนิด และขนสัตว์
- การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือพยาธิ
- ในบางรายที่มีปฏิกิริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น หรือแสงแดด เป็นต้น
- สารทึบรังสี (Contrast Media) ที่ใช้ในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- ผิวหนังสัมผัสสารเคมีหรือยาบางชนิด เช่น ยาทาแก้อักเสบ เป็นต้น
- การให้เลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด
- ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง
วิธีรับมือกับโรคลมพิษ
- พยายามนึกถึงสาเหตุที่อาจทำให้เกิดผื่นลมพิษขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลา 1-2 ชั่วโมงก่อนผื่นขึ้นว่าไปทำอะไรมา หรือกินอะไรไป เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่น
- รักษาสภาพผิวให้สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีภาวะผิวแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการคันได้
- ไม่แกะเกาผิวหนัง เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ และเป็นรอยขึ้นมาได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
วิธีแก้แพ้ “ควันธูปไหว้เจ้า” ตรุษจีน 2566 สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้-หอบหืด
“กลิ่นปาก” สัญญาณบอกสุขภาพช่องปากแย่ เช็กอาการบอกโรคเรื้อรัง