“นอนกรน” รู้ตัว รักษาได้ เพิ่มคุณภาพการหลับให้สมองแจ่มใส ลดโรค
นอนกรน ปัญหาที่คนเป็นไม่ค่อยรู้ตัวแต่คนนอนข้างๆ นอนไม่ได้! ซึ่งพบในกลุ่มผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยทำงาน คนที่อาการรุนแรงมากพบได้สูงถึง 5% และยังพบเด็กเป็นโรคนอนกรนได้เช่นกัน ซึ่งควรรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนสุขภาพพัง
อาการนอนกรน(SNORING) เกิดจากกล้ามเนื้อคอจะผ่อนคลายและหย่อนตัว ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง อากาศที่เคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง จะทำให้เกิดการสั่นของเนื้อเยื่อคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน ลิ้นไก่ การสั่นดังกล่าวทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น
นอกจากการหย่อนของกล้ามเนื้อคอ ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการแคบลงหรืออุดตันของทางเดินหายใจ เช่น ต่อมทอนซิลโต ผู้ป่วยที่อ้วนมากอาจมีเนื้อเยื่อผนังคอที่มาก ผู้ป่วยมีลิ้นโต การมีเนื้องอกหรือถุงน้ำของระบบทางเดินหายใจส่วนบน
นอนกรน-หลับไม่สนิท สัญญาณ “หยุดหายใจขณะนอนหลับ” อันตรายถึงชีวิต
เรื่องต้องห้ามก่อนเข้านอน เพื่อคุณภาพการนอนที่ดี ตื่นมาสดชื่น!
อาการนอนกรนจึงเป็นสัญญาณว่าผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
รู้หรือไม่? ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) มักเกิดร่วมกับอาการนอนกรน เมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายจะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบขึ้นจนกระทั่งปิดสนิท คล้ายกับการดูดชิ้นของอาหารด้วยหลอด ชิ้นของอาหารจะติดที่ปลายหลอด ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้ อาหารในที่นี้เปรียบเสมือนอากาศนั่นเอง เมื่ออากาศไม่สามารถผ่านทางเดินอากาศที่ปิดสนิท ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง
รักษานอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
ผู้ป่วยมีความรุนแรงน้อย
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตอาจช่วยให้ดีขึ้น เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย
- งดดื่มสุราหรือรับประทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
นอนไม่หลับแบบไหนควรพบจิตแพทย์ คลายความกังวลใจลดความเครียดเรื้อรัง
ผู้ป่วยระดับปานกลางถึงมาก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม
- การผ่าตัดเนื้อเยื่อคอ ขากรรไกร ลิ้น หรือลิ้นไก่ เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น
- การใช้เครื่องเป่าลมในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ [continuous positive airway pressure (CPAP) titration] ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีสุดในขณะนี้
- ใช้เครื่องมือในช่องปาก ที่จากอะคริลิกสำหรับใช้ในช่องปาก มีลักษณะคล้ายกับรีเทนเนอร์สำหรับผู้ป่วยจัดฟันหรือเฝือกสบฟันสำหรับผู้ป่วยนอนกัดฟัน เครื่องมือในช่องปากจะช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อคอหย่อนลงในขณะหลับ
ในการเลือกใช้วิธีในการรักษาใด ๆ ก็ตาม จะพิจารณาจากทั้งความรุนแรง ความเหมาะสม ความร่วมมือของผู้ป่วย ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
นอนมากเกินไป! นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เสี่ยงสมองเฉื่อย-ซึมเศร้า
รวมท่านอนปวดหลัง ทำลายสุขภาพโดยรวม แนะวิธีนอนให้มีประสิทธิภาพ