บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช็กสัญญาณเตือนพบแพทย์-วิธีป้องกันตัวเอง
ใช้ร่างกายเยอะๆ อาการบาดเจ็บมักถามหา เป็นของคู่กันที่พบได้บ่อย แต่ถ้ารักษาไม่ถูกอาจส่งผลเสีย รีบเช็กสัญญาณเตือนพบแพทย์ วิธีป้องกัน ก่อนสายเกินแก้!
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี เพราะนอกจากจะช่วยทำให้มีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังเป็นกีฬาอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน สามารถทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นอีกเสียงที่ทำหน้าที่เป็นแรงบันดาลให้ใครหลายๆ คนว่า ต่อให้จะฝึกซ้อม หรือผ่านเรื่องราวยากๆ มาขนาดไหน แต่ก็มีคนที่ทำได้ และประสบความสำเร็จมาแล้ว นั่นคือ นักกีฬานั่นเอง
นี่ต่างเป็นมุมมองของ ชมพู่-พรพรรณ เกิดปราชญ์ กัปตันวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย และ รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น นักแสดงและนักกีฬาวอลเลย์บอลมากความสามารถ ที่ออกมาเปิดใจกับพีพีทีวี
Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา ซีซั่น 2 EP.14 | ตอน “ชมพู่ พรพรรณ - รัศมีแข” | 25 ก.พ.66
วิธีการป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬา | Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา ซีซั่น2 EP.14 | 25 ก.พ.66
อย่างไรก็ตาม การเป็นนักกีฬากับอาการบาดเจ็บ มักเป็นของคู่กัน ถึงแม้ไม่ได้อยากจะใช้คำนี้ แต่กลับเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะว่าเราใช้ร่างกายเยอะ
อย่าง ชมพู่-พรพรรณ เล่นกีฬาวอลเลย์บอล ตำแหน่งเซ็ต ต้องใช้ข้อเท้าเยอะกว่าตำแหน่งอื่น เพราะจะต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา และต้องเบรกกระทันหัน ทำให้มักข้อเท้าพลิกหรือแพลงอยู่บ่อยๆ
หรือ รัศมีแข เป็นตัวตีของทีม แม้จะพยายามมีสติในการเล่นวอลเลย์บอลอยู่ตลอด แต่ยังหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บหัวเข่า หรือกล้ามเนื้อได้ยาก
แต่ถ้ารู้ตัวว่าบาดเจ็บแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะปัญหานั้น อาจบานปลายจนส่งผลเสียต่อร่างกายได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า บาดเจ็บแบบไหนควรพบแพทย์ ควรปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้นอย่างไร และต้องทำอย่างไรต่อไปเพื่อให้หายดี กลับมาออกกำลังกายตามปกติได้เร็ว
มาฟังคำตอบจาก นายแพทย์พิเชษฐ์ เยี่ยมสิริ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกาย (BASEM) โรงพยาบาลกรุงเทพ แพทย์ประจำทีมวอลเลย์บอลทีมชาติไทย กัน!
ชนิดของกีฬา
การออกกำลังกาย หรือ กีฬา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.) กีฬาแบบไม่ปะทะ คือ การออกกำลังกายที่สามารถเล่นได้ด้วยตัวเองคนเดียว เช่น วิ่ง โยคะ
2.) กีฬาแบบปะทะ คือ การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาที่ต้องมี 2 ฝั่ง ได้แก่ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล
อาการบาดเจ็บของการออกกำลังกาย
อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ
รูปแบบที่หนึ่ง : แบ่งตามระยะเวลาของอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น ได้แก่
1.) การบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน
2.) การบาดเจ็บแบบกึ่งเฉียบพลัน
3.) การบาดเจ็บเรื้อรัง
รูปแบบที่สอง : แบ่งตามสาเหตุ หรือกลไกการเกิดอาการบาดเจ็บ ได้แก่
1.) การบาดเจ็บที่เกิดจากการกระทบกระแทก โดยตรงอย่างรุนแรง
2.) การบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง แต่โดนกระทำซ้ำๆ บ่อยๆ
กีฬาแต่ละแบบเจ็บต่างกัน
การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาที่แตกต่างกัน ส่งผลให้อาการบาดเจ็บแตกต่างกันออกไปด้วย
สำหรับคนที่เล่นกีฬาแบบไม่ปะทะ มักจะมีอาการบาดเจ็บแบบ เจ็บซ้ำๆ และเรื้อรัง ขณะที่คนที่เล่นกีฬาแบบปะทะ ส่วนใหญ่จะมีอาการบาดเจ็บแบบกระทบกระแทกที่รุนแรงมากกว่า
การรักษาอาการบาดเจ็บ
เมื่อก่อนการรักษาอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันอาจหาได้ยาก แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาช่วยในการรักษาแล้ว คือ “เลเซอร์” ที่ใช้แสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ เข้าไปช่วยลดการอักเสบ ลดอาการบวมต่างๆ และช่วยเติมพลังงานให้เซลล์ในการซ่อมแซมตัวเอง ซึ่งในโรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นเครื่อง 1 ใน 2 ตัวที่มีอยู่ภายในประเทศ
ส่วนอีกเทคโนโลยี จะใช้หลังจากอาการยุบ และบวม หายไปหมดแล้ว คือ “Anti Gravity Treadmill” ลู่วิ่งไฟฟ้าที่จะมีเหลือนลูกโป่งให้เราใส่ตัวเราเข้าไป ภายในนั้นจะมีลมอยู่ ซ่วยให้เราลอยสูงขั้น ลดการลงน้ำหนักที่ข้อต่อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มศักยภาพในการฟื้นฟูสภาพร่างกายของเรานั่นเอง
วิธีการลดอาการบาดเจ็บ
1.) ตรวจสภาพร่างกายประจำปี
2.) ถ้ารู้ตัวว่าบาดเจ็บ รีบพบแพทย์ทันที เพราะถ้าถึงมือแพทย์ได้ไว เข้าสู่การระบบการรักษาที่ถูกต้องได้เร็ว ร่างกายจะฟื้นตัวได้ดี ส่งผลให้หายเร็วนั่นเอง
3.) วอร์มอัพ ทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
4.) ดูแลสุขภาพในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา
คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือเป็นนักกีฬา ถ้าพบอาการบาดเจ็บ ต้องประเมินก่อนว่าอาการบาดเจ็บของเราเป็นแบบไหน รุนแรงมาก หรือว่าเล็กน้อย ถ้าน้อย สามารถปฐมพยาบาลหรือดูแลตัวเองได้ อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วัน
แต่ถ้าลองนำน้ำแข็งมาประคบก็แล้ว หยุดพักการใช้งานก็แล้ว หรือกินยาก็แล้ว อาการกลับไม่ดีขึ้น ขอให้รีบมาพบแพทย์ เพราะยิ่งเจอเร็ว หมายความว่าเราจะสามารถกลับไปออกกำลังได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพ : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS
ทริค “กวินทร์บินได้” ฟื้นอาการเจ็บให้กลับมาฟิต ก่อนคัมแบ็กเร็วๆ นี้
บาดเจ็บจากการออกกำลังกายบ่อยพลาดเองหรือ “สรีระร่างกายไม่สมดุล”