วิธีกินยาแก้ปวดหัว ไม่ให้เกิดขนาด ปริมาณเหมาะสม ไม่เสี่ยงตับวาย-ไตพัง
ไม่ว่าวัยไหน ก็มีเรื่องให้ปวดหัวไม่เว้นแต่ละวัน ยาแก้ปวดหัวจึงเป็นไอเท็มสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพื่อบรรเทาอาการอย่างทันท้วงที แต่รู้หรือไม่ ? หากเรากินมาก กินบ่อย จะทำร้ายทั้งตับทั้งไตของเราให้พังได้! แล้วจะกินแบบไหน? ให้ยาแก้ปวดหัวปลอดภัย ไม่ปวดตับ? เหมาะสมกับร่างกายจริงๆ
จากรายงานของกรมการแพทย์ในปี 2553 นั้นระบุว่าคนไทยกินยาเฉลี่ย 128 ล้านเม็ดต่อวัน โดยร้อยละ 15 นั้นซื้อทานเอง และยาแก้ปวดหัวคือยาอันดับ 1 ที่คนนิยมทานและต้องบอกก่อนว่าไม่ใช่ว่ายาแก้ปวดหัวนับเป็นยาสามัญประจำบ้านไม่ใช่ยาอันตราย เพียงแต่ต้องรู้จักกินในปริมาณที่เหมาะสม เพราะยาแก้ปวดเมื่อกินเข้าไปแล้วจะถูกขับออกทางตับหรือทางไตเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะตับเป็นพิษ (hepatotoxicity) และอาการตับวายเฉียบพลันได้ (acute liver failure)
กินยานอนหลับบ่อยเสี่ยงดื้อยา นอนไม่หลับรุนแรง แนะวิธีหลับแบบไม่พึ่งยา
วิธีกิน“ยาคุมฉุกเฉิน”ที่ผู้หญิงต้องรู้ ให้ปลอดภัยลดโอกาสเป็นมะเร็ง
กินยาแก้ปวดหัวแค่ไหนเพมาะสม ?
- ไม่ควรเกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน (8 เม็ด)
- แต่ละครั้งห้ามทานเกิน 2 เม็ด
- ยาแก้ปวดขนาด 325-500 มิลลิกรัม ควรเว้นระยะห่าง 4-6 ชั่วโมง
- ยาแก้ปวดขนาด 1,000 มิลลิกรัม ควรเว้นระยะห่าง 6-8 ชั่วโมง
- ไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 7 วัน
ความเชื่อผิด ๆ การกินยา เสี่ยงบั่นทอนสุขภาพ แนะวิธีกินยาถูกวิธี
อาการหากกินยาเกินขนาด?
การกินยาแก้ปวดเกินขนาด นับว่าเป็นเรื่องที่มักเกิดจากความไม่ตั้งใจ!! และมีสัญญาเตือนดังนี้
- อาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง
- มีเหงื่อออก
หากอาการจะค่อยๆ เริ่มรุนแรงขึ้น เช่น มีอาการปวดบริเวณกระเพาะส่วนบน ปัสสาวะมีสีเข้ม ผิวเหลืองหรือตาเหลือง นี่คือคำเตือนว่าคุณกำลังใช้ยาเกินขนาด!ควรรีบหยุดยาและรีบพบแพทย์
ทั้งนี้แม้ว่ายาแก้ปวดจะสามารถบรรเทาอาการปวดหัวได้...แต่ก็ช่วยแค่เพียงปลายเหตุเท่านั้น! หากยังมีอาการปวดเกิดขึ้นต่อเนื่องบ่อยครั้ง ควรมาพบแพทย์เพื่อแก้ปัญหาตรงจุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
สัญญาณมะเร็งตับ ที่อาจคร่าชีวิตได้ใน 6 เดือน ใครบ้างกลุ่มเสี่ยง?
“มะเร็งตับ” ทำไมเสียชีวิตเร็ว? มีกี่ระยะ? อาการแบบไหน ควรพบแพทย์เร่งด่วน