โรค "มะเร็งปอด" มัจจุราชเงียบ ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้
มะเร็งปอด ไม่ได้เกิดจากการสูบบุหรี่หรือรับเอาควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้
มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบได้มากในประเทศไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย อันดับ 4 ในเพศหญิง ตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยากเพราะอาการจะไม่ปรากฏ คนที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการที่โรคลุกลามแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าระยะใดก็มีหนทางในการดูแลรักษา และส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยระยะและมีการรักษาที่ถูกต้อง
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอด
จับตา 5 มะเร็งยอดฮิต ก่อนคุกคามชีวิต "ผู้ชาย" ใกล้ตัว
ผู้หญิงควรสังเกต อาการบ่งชี้และสัญญาณเตือน "มะเร็ง"
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด
1. การสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่: ประมาณร้อยละ 85-90 ของผู้ป่วยมะเร็งปอดเกิดจากปัจจัยนี้
2. อายุ ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งปอดได้รับการวินิจฉัยเมื่อมีอายุตั้งแต่ 65 ขึ้นไป (โดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี)
3. การสัมผัสกับก๊าซเรดอน เรดอนเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซเฉื่อย สามารถพบทั่วไปในอากาศ ซึ่งอาจพบสะสมในตัวอาคารบ้านเรือน การสัมผัสก๊าซนี้เป็นสาเหตุหลักในการก่อโรคมะเร็งปอดในผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่
4. การสัมผัสสารก่อมะเร็ง ยกตัวอย่างเช่น การหายใจเอาแร่ใยหินหรือควันจากท่อไอเสียเข้าสู่ร่างกาย การหายใจหรือบริโภคสารเคมีบางชนิด (อาเซนิค ถ่านหิน) หรือการสัมผัสสารยูเรเนียม
5. การรักษาด้วยการฉายแสงที่ทรวงอก ยกตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค Hodgkin lymphoma หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม
6. โรคเกี่ยวกับปอด ผู้ที่เป็นวัณโรคปอดจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดมากขึ้น โดยมะเร็งปอดจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งรอยแผลเป็นจากการเกิดเชื้อวัณโรคปอด
7. มลภาวะทางอากาศ ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งปอดเกิดจากปัจจัยนี้
"มะเร็งปอด" ภัยร้ายคร่าชีวิตคนไทยแนะใส่ใจทั้งตัวเองและคนที่คุณรัก
อาการ
ผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่มักไม่ค่อยแสดงอาการจนกว่าโรคจะลุกลามไปมากแล้ว มีผู้ป่วยประมาณ 10-15% เท่านั้นที่ตรวจพบมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งมีโอกาสที่จะหายขาดสูง อาการและอาการแสดงต่าง ๆ ของมะเร็งปอดมีดังต่อไปนี้คือ
- ไอเป็นเวลานาน ไม่ทุเลาเหมือนการไอปกติ แต่กลับเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ไอ หรือมีเสมหะ ปนเลือด
- หายใจเหนื่อยหอบ หายใจสั้น เสียงแหบ
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- เจ็บหน้าอก หัวไหล่ หลัง และแขนเป็นประจำ (อาจเป็นเพราะก้อนเนื้อเบียดกดอยู่)
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือแขน
- โรคปอดบวม หรือหลอดลมอักเสบบ่อย
อาการดังกล่าวที่ได้กล่าวมาแล้ว มิใช่อาการของมะเร็งปอดระยะแรก เพราะมะเร็งปอดระยะแรกจริง ๆ มักไม่มีอาการ แพทย์จะตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจเอกซเรย์ปอด จากการตรวจร่างกายประจำปี
ไอ หอบเหนื่อย อาการเตือน "โรคระบบทางเดินหายใจ" ที่ป้องกันได้
รู้จัก "มะเร็ง" ให้มากขึ้น สาเหตุก่อโรค ชนิดใดพบได้บ่อยที่สุดใน "ชาย - หญิง"
การรักษามะเร็งปอด
แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาแบบใด จึงจะเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาถึงอายุ ภาวะความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรค ชนิดของชิ้นเนื้อ และการยอมรับของผู้ป่วยซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. การผ่าตัด (Surgery) จะทำเฉพาะในรายที่คาดว่ายังมีหวังตัดมะเร็งออกได้หมด และปอดที่เหลืออยู่ยังเพียงพอ
2. รังสีรักษา หรือการฉายแสง (Radiation therapy) ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ผ่าตัดไม่ได้ และในรายที่ผ่าตัดแล้ว แต่ตัดมะเร็งออกไม่หมดหรือคาดว่ามะเร็งจะงอกขึ้นมาอีก
3. เคมีบำบัด (Chemotherapy) มีบทบาทสำคัญในการรักษามะเร็งปอด ในปัจจุบันนิยมใช้ยาหลายตัวสลับกันเป็นระยะ (cyclical treatment) เพราะได้ผลดีกว่าการใช้ยาตัวเดียว ผลการรักษามักจะดีในผู้ป่วยที่สภาพร่างกายสมบูรณ์และมีมะเร็งในร่างกายน้อย ยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
4. การรักษาแบบประคับประคอง
การป้องกันโรคมะเร็งปอด
สาเหตุที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งในปอดนั้นมีหลายอย่าง สาเหตุบางอย่างอาจป้องกันได้ยาก แต่สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราป้องกันได้ การไม่สูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็งในปอดได้อย่างมาก และยังช่วยให้สุขภาพสมบูรณ์ ปราศจากโรคที่มีสาเหตุจากบุหรี่ นอกจากนั้นยังเป็นผลดีต่อบุคคลใกล้เคียงอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลพญาไท