4 สัญญาณ โรคลมแดด (Heatstroke) ภัยหน้าร้อนที่อาจเสี่ยงถึงชีวิตได้
กรมอุตุฯ ประกาศเข้าสู่ฤดูร้อนปี 2566 5 มี.ค. ที่ผ่านมาโดยจะสิ้นสุดช่วงกลาง พ.ค. 66 คาดปีนี้จะร้อนกว่าปีที่แล้ว สูงสุด 43 องศาเลยทีเดียว ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อ โรคลมแดด โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ คนทำงานกลางแจ้งรวมถึงกลุ่มนักกีฬา ซึ่งการวูบครั้งนี้อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว
โรคลมแดด (Heatstroke) อาจจะเกิดขึ้นกับเราโดยไม่รู้ตัว ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและความแข็งแรงของร่างกายว่าสามารถต้านทานได้มากน้อยเพียงใด หากเราเพิกเฉยต่ออาการผิดปกตินี้ อาจอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว เนื่องจากภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน จนไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไตนั้นเอง
โรคลมแดด เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุประกอบกัน จนทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคลมแดดมีดังนี้
ไทยร้อนขึ้น กลางวันมีฟ้าหลัว ตอนบนระวังพายุฤดูร้อน
เตือน!กลุ่มเสี่ยง-ทำงานกลางแจ้ง ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อนจัด
- พบได้บ่อยในผู้สูงอายุซึ่งร่างกายมักทีภูมิต้านทานต่ำ
- ร่างกายที่ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนได้
- ขาดการดื่มน้ำที่เพียงพอต่อวัน
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็ส่งผลให้ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิลดลงอีกด้วย
- การใช้กำลังกายทั้งในแบบการออกกำลังกายหักโหมอย่างต่อเนื่อง มักพบได้ใน กลุ่มนักกีฬา กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และทหารเกณฑ์ เป็นต้น
อาการของโรคลมแดด หากเราอยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด อบอ้าวเป็นเวลานานพึ่งระวังอาการดังต่อไปนี้
- วิงเวียนศรีษะ
- ปวดศรีษะ
- รู้สึกอ่อนแรง
- คลื่นไส้
นั้นคือสัญญาณเตือนและหากยังทนอยู่กับสภาพอากาศร้อนจัด หรือ บริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเทนั้นต่อ อาจจะเริ่มเกิดอาการพูดไม่ชัด เห็นภาพหลอน ชักเกร็ง ตัวร้อนและผิวเป็นสีแดง ซึ่งอาการนี้ควรนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนก่อนเสี่ยงเสียชีวิตได้
การรักษาโรคลมแดดเบื้องต้น
ระหว่างที่ผู้ป่วยรอรถพยาบาลเพื่อนำส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล เราสามารถทำการลดอุณหภูมิร่างกายได้ด้วยการ พรมน้ำตามร่างกาย ใช้น้ำแข็งประคบตาม คอ รักแร้ ขาหนีบ หรือพัดลมให้อากาศถ่ายเท และไม่ควรมุงดูผู้ป่วยเพราะจะทำให้อากาศไม่ถ่ายเท
วิธีล้างจมูกไม่ให้สำลัก เด็กทำได้ ผู้ใหญ่ทำดี ลดภูมิแพ้จาก PM2.5
การลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรคลมแดด หากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพอากาศร้อนได้ แนะนำให้ปฏิบัติตัวดังนี้
- สวมเสื้อผ้าที่บางเบา เพื่อถ่ายเทอุณหภูมิในร่างกายได้โดยง่าย ไม่อบอ้าวแน่นจนเกินไป
- จิบน้ำบ่อยๆ เท่าที่มีโอกาส เพื่อให้ร่างกายได้ขับอุณหภูมิความร้อนออกจากร่างกายทางเหงื่อ
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่อยู่ในอากาศร้อนจัด เพราะจะไปเพิ่มการขับปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป
- ใช้กำลังกายเท่าที่จำเป็น หากรู้สึกเหนื่อยจนหายใจหอบ หรือเหงื่อออกมากกว่าปกติ ควรรีบหยุดพัก หลีกเลี่ยงการทำงานหนักช่วงสายและบ่าย เพราะอุณหภูมิจะสูงสุดในช่วงนั้นของวัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
สูตรสมูทตี้คลายร้อน! ไฟเบอร์สูง กับวัตถุดิบหาง่ายแค่ 4 อย่าง
“ข้าวเหนียวมะม่วง” หวานฉ่ำรับหน้าร้อน กินแต่น้อย อร่อยได้สุขภาพดีด้วย