3 สัญญาณอันตรายโรคนิ่ว ปล่อยทิ้งไว้อาจร้ายแรงถึงขั้นไตวายได้
โรคนิ่วในระบบปัสสาวะ โรคที่พบมากในกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งอย่างที่เราทราบว่าการดื่มน้ำน้อยมีผลอย่างมากเลยทีเดียว แต่รู้หรือไม่มีปัจจัยอื่นที่เสี่ยงได้เช่นกัน และ 3 สัญญาณอัตรายที่ควรพบแพทย์โดยด่วนก่อนลุกลาม
นิ่วในระบบปัสสาวะ หรือ bladder stone หมายถึง ผลึกที่ตกตะกอนในน้ำปัสสาวะจากของเสียในร่างกายที่ถูกขับออกทางเลือดที่ผ่านกรองจากไต ตกมาเป็นน้ำปัสสาวะและละลายเป็นน้ำ แต่เมื่อการตกตะกอนผิดปกติ จะอุดที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ไต กรวยไต ท่อปัสสาวะส่งผลให้การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
นิ่วในระบบปัสสาวะ 2 รูปแบบ
- นิ่วจากไตหรือท่อไต ที่หลุดลงมาสะสมเพิ่มขนาดในกระเพาะปัสสาวะ
สัญญาณ“นิ่วในไต” ไม่รีบรักษาและป้องกันอาจเสี่ยง ไตเสื่อม-ไตวายเรื้อรัง
เตือนภัยสายบุฟเฟต์ ปวดท้องไม่หาย อาจพบก้อนนิ่วในถุงน้ำดี
- นิ่วที่เกิดในกระเพาะปัสสาวะเอง ซึ่งในกรณีนี้มักเกิดจากการขับถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด ทำให้มีน้ำปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ นานวันเข้าก็จะเกิดการตกตะกอนแล้วค่อยๆ โตขึ้นเป็นก้อนนิ่ว
3 อาการบอกโรคนิ่ว
- อาการปวด ขึ้นกับตำแหน่งของนิ่ว เช่น อุดที่ท่อไต ปวดท้องร้าวไปหลัง หรือขาหนีบ ปวดเสียดรุนแรง, ถ้านิ่วเคลื่อนลงมาต่ำอุดท่อปัสสาวะจะมีอาการปวดปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก ปวดเบ่ง เป็นต้น
- การติดเชื้อ เชื้อโรคจะอยู่ที่นิ่วและมีการกระจายเชื้อเติบโตขึ้น บางรายรุนแรงมากเข้าสู่กระแสเลือด
- ปัสสาวะเป็นเลือด ลักษณะเหมือนน้ำล้างเนื้อ ถ้าเลือดออกมากอาจเป็นลิ่มปนออกมา มักเป็นร่วมกับการติดเชื้อ หรือเกิดจากนิ่วระคายเคืองเยื่อบุท่อไต
นอกจากนี้อาจจะมี อาการแทรกซ้อน เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และท้องอืด อันตรายกว่านั้นหากมี นิ่วในไต หรือท่อไต ซึ่งก้อนนิ่ว หลุดมาอยู่ในท่อไต ลักษณะนี้จะมีอาการปวดตรงบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดชนิดที่รุนแรงมาก เหงื่อตก และเกิดเป็นพักๆ บางรายปัสสาวะอาจมีเลือดหรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อร่วมด้วย แต่ถ้านิ่วลงมาอุดบริเวณที่ท่อไตต่อกับกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ อยากปัสสาวะ แต่ปัสสาวะขัดได้
สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัดเจน แต่ที่สามารถอธิบายได้ เช่น
- การดื่มน้ำน้อย ทำให้ความเข้มข้นของสารตะกอนในน้ำปัสสาวะมากขึ้น จนเกิดการตกตะกอนจับตัวเป็นก้อนนิ่วได้
- สิ่งแวดล้อมด้านพันธุกรรม คนไทยที่อาศัยที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เกิดนิ่วได้ง่ายกว่าคนภาคอื่น เพราะระบบเผาผลาญ การดูดซึมคัดกรองเกลือแร่ของคนไข้ทำให้มีการตกตะกอนได้ง่ายกว่า
- อายุ พบมากในกลุ่มวัยทำงาน
- เพศ โรคนิ่วนั้นมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 - 3 เท่า
- ยาที่รับประทานบางชนิด
- ภาวะติดเชื่อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ
อั้นปัสสาวะ-กินน้ำน้อยเสี่ยง “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ”พร้อมสัญญาณเตือนโรค
การรักษาทำได้หลายวิธี อาทิ ใช้เครื่องสลายนิ่ว ส่องกล้อง และผ่าตัด การสลายนิ่วด้วยเครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy: ESWL) เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษที่มีการนำคลื่นเสียงความถี่สูงกระแทกก้อนนิ่วให้แตกเป็นผงหรือเม็ดเล็กๆ และขับออกจากร่างกายโดยระบบทางเดินของปัสสาวะ ด้วยการดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้การขับถ่ายเศษนิ่วเล็กๆ ออกได้ง่ายขึ้น
การดูแลป้องกันสามารถทำได้ดังนี้
- ดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องการเหมาะสมกับการใช้ชีวิต หรืออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อลดความอิ่มตัวของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ และลดการก่อผลึกนิ่วที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบทางเดินปัสสาวะ รู้หรือไม่น้ำมะนาววันละ 1-2 แก้วต่อวัน ช่วยยับยั้งให้นิ่วโตช้า หรือเกิดซ้ำช้าขึ้น
- กินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนเหมาะสม โดยเฉพาะอาหารจำพวกผักและผลไม้
- ลดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารหวาน เค็มมาก และอาหารที่มีกรดยูริกสูง(เครื่องในสัตว์)
- เลี่ยงหนังสัตว์ปีก ตับ ไต ปลาซาร์ดีน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตสูง ได้แก่ ผักโขม ช็อกโกแลต ชา ถั่ว แอปเปิ้ล หน่อไม้ฝรั่ง บล็อคโคลี่ เบียร์ น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้ ไอศครีม สับปะรด วิตามินซี โยเกิร์ต
- ผู้ป่วยที่มีนิ่วควรรับประทานอาหารที่มีใยมาก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ที่สำคัญตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อย 1 ปีครั้ง อย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติ และสงสัยว่ามีนิ่วไต ควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตามผู้ที่เคยเป็นนิ่วแล้วมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคนิ่วอีกครั้งก็มีได้มาก ดังนั้น การเรียนรู้วิธีป้องกัน และดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดโรคนิ่วจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
ปัสสาวะปนเลือด สัญญาณ “มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ” สูบบุหรี่เสี่ยงเพิ่ง 3-4 เท่า
ดื่มกาแฟก่อนอาหารเช้า อาจกระตุ้นกรดไหลย้อน-น้ำตาลพุ่ง เครียดกว่าเดิม?