สัญญาณ“นิ่วในไต” ไม่รีบรักษาและป้องกันอาจเสี่ยง ไตเสื่อม-ไตวายเรื้อรัง
“นิ่วในไต” สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย จากสถิติมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ช่วงอายุระหว่าง 30 – 40 ปี และรู้หรือไม่ ? หากปล่อยทิ้งไว้นานไม่รีบรักษา อาจเกิดการติดเชื้อบ่อยจนเนื้อไตเสีย ไตเสื่อม และไตวายเรื้อรัง เช็กสัญญาณเตือนนิ่วในไต ?
นิ่วในไต คือ โรคที่เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุแข็งชนิดต่าง ๆ จนกลายเป็นก้อนแข็งที่มีชนิดและขนาดแตกต่างกัน โดยมักจะพบที่ไตบริเวณกรวยไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นผลมาจากการปัสสาวะเข้มข้นมากและตกตะกอนเป็นนิ่ว ซึ่งนิ่วในไตมีโอกาสเป็นซ้ำได้
สาเหตุนิ่วในไต เกิดจากหลายปัจจัย
- กินอาหารแคลเซียม โปรตีน เกลือ และน้ำตาล สูงมากเกินไป
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป
- ใส่น้ำตาลในเครื่องดื่มมากเกินไป
- กินอาหารที่มีสารออกซาเลตยับยังการดูดซึมแคลเซียม อาทิ ถั่ว หน่อไม้ ช็อกโกแลต ผักปวยเล้ง มันเทศ ฯลฯ
ไตวายเฉียบพลัน VS ไตวายเรื้อรัง แตกต่างกันอย่างไร? อะไรคือสัญญาณโรค?
8 สัญญาณ “โรคไตเรื้อรัง” ไม่ติดกินเค็มก็เป็นได้ ไม่จำกัดอายุ
- กินวิตามินซีมากกว่าวันละ 1,000 มิลลิกรัม
- ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
- โรคแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเกาต์
- โรคลำไส้อักเสบ เรื้อรัง
- โรคอ้วนน้ำหนักมากเกินไป
- โรคเบาหวาน
สัญญาณนิ่วในไต
- ปวดเอวข้างที่มีก้อนนิ่ว
- ปวดหลังหรือช่องท้องช่วงล่างข้างใดข้างหนึ่ง
- ปวดเสียด ปวดบิดเป็นพัก ๆ
- มีไข้หนาว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปัสสาวะขุ่นแดง
- ปัสสาวะเป็นเม็ดทราย
- ปัสสาวะแล้วเจ็บ
- ปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะน้อยหรือไม่ออก
- ปวดบิดในท้องรุนแรงถ้าก้อนนิ่วตกลงมาที่ท่อไต
การรักษานิ่วในไตส่วนใหญ่รักษาตามชนิดและสาเหตุ ได้แก่
- การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด หากนิ่วมีขนาดก้อนเล็กมากอาจหลุดออกมาได้เอง โดยการดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อขับออกมาทางปัสสาวะ โดยแพทย์อาจพิจารณาสั่งยาช่วยขับก้อนนิ่วตามความเหมาะสม
- การใช้เครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นการสลายนิ่วขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวและขับออกมาทางปัสสาวะ ผู้ป่วยอาจเจ็บเล็กน้อย และมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา จึงควรทำการรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญอย่างใกล้ชิด
- การส่องกล้องสลายนิ่ว (Ureteroscopy) เป็นการสลายนิ่วขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีกล้อง Ureteroscopy ติดอยู่ด้วยเข้าไปทางท่อปัสสาวะเพื่อทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อขับออกมาทางปัสสาวะ
- การรักษาแบบผ่าตัด (PercutaneousNephrolithotomy : PCNL) ใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่และรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยการเจาะรูเล็ก ๆ บริเวณหลังของผู้ป่วยแล้วใช้กล้องส่องเพื่อนำเครื่องมือสอดเข้าไปทำให้นิ่วแตกเป็นชิ้นเล็ก จากนั้นจึงคีบก้อนนิ่วออกมาทางรูเดิม ซึ่งวิธีนี้ต้องพิจารณาและทำการผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเท่านั้น
ปัสสาวะเป็นเลือด-มีฟอง สัญญาณ “โรคไต” เร่งรักษาก่อนเสี่ยงไตวาย
“ไตวาย” จากเบาหวาน ใครบ้างเสี่ยง? และเทคนิคการกินให้โรคสงบ
ป้องกันนิ่วในไต
- ดื่มน้ำให้มากช่วยลดโอกาสการตกตะกอนของก้อนนิ่ว
- กินแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติให้เพียงพอ
- เลี่ยงเค็ม ลดเกลือในมื้ออาหาร
- ควบคุมการกินเนื้อสัตว์ นม เนย
- กินผักให้เยอะช่วยลดโอกาสเกิดนิ่วได้
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการกินการดื่มน้ำที่ต้องเหมาะสมกับสภาพร่างกายเพื่อไม่ให้ของเสียหรือเกิดการตกตะกอนที่เป็นพิษกับร่างกายของเราได้ อีกทั้งผู้ป่วยหลายรายก็มักไม่มีอาการในระยะแรกและกลายเป็นปัญหาโรครุมเร้าเรื้อรังในอนาคต ฉะนั้นการดำเนินชีวิตที่ดี ย่อมดีกว่าการเป็นโรคที่ต้องรักษา เสียทั้งเวลาชีวิต เสียตั้งทรัพย์สินนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
“มะเร็งไต” พบน้อยแต่อัตราเสียชีวิตสูง สัญญาณแรกของโรคคืออะไร?
7 เมนูจานโปรด “โซเดียมสูง” อร่อยปากลำบากไต กินบ่อยเสี่ยงไตเรื้อรัง