ปัสสาวะเป็นเลือด-มีฟอง สัญญาณ “โรคไต” เร่งรักษาก่อนเสี่ยงไตวาย
ปัจจุบันอัตราการเกิดโรคไตสูงขึ้นและ กลายเป็นโรคนิยมที่คนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งหนึ่งในสัญญาณเตือนโรคไตเรื้อรัง คือสีและลักษณะของปัสสาวะ ควรพบแพทย์ เพื่อป้องกันและรักษาไตวายเฉียบพลัน หรือ ภาวะไตล้มเหลวได้
โรคไต (Kidney disease) คือ ภาวะที่ไตทำงานน้อยลง หรือการทำงานผิดปกติของไต เนื่องจากหน้าที่หลักของไต ทำหน้าที่กำจัดของเสีย และสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย รวมถึง หลั่งสารฮอร์โมน ควบคุมน้ำ และแร่ธาตุในร่างกาย ดังนั้น หากไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ หรือผิดปกติ ส่งผลให้เป็นโรคไต ภาวะไตเสื่อม จนทำให้กระทบต่อระบบต่างๆในร่างกายต่อไป โดยโรคไตที่มักพบบ่อย ได้แก่ ไตวาย ไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ และนิ่วในไต ดังนั้น ไม่ควรละเลย และดูแลรักษาไตโดยเด็ดขาด
8 สัญญาณ “โรคไตเรื้อรัง” ไม่ติดกินเค็มก็เป็นได้ ไม่จำกัดอายุ
ไตวายเฉียบพลัน VS ไตวายเรื้อรัง แตกต่างกันอย่างไร? อะไรคือสัญญาณโรค?
ระยะของโรคไต
- ระยะที่ 1 ค่าคัดการกรองของไต (GFR)>90
- ระยะที่ 2 เรียกว่า ระยะเริ่มประเมิน และชะลอการเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง ค่าการกรองของไต (GFR) 60-90
- ระยะที่ 3ไตต้องเพิ่มการดูแลเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนของไต ค่าการกรองของไต (GFR) 3a 45-59 อัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง / 3b 30-44 อัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง
- ระยะที่ 4 ระยะที่ควรเริ่มมีการวางแผนบำบัดไต เนื่องจากไตเข้าภาวะทำงานน้อยลงค่าการกรองของไต (GFR) <30
- ระยะสุดท้าย การเริ่มบำบัดทดแทนไต คือ ภาวะสุขภาพไตเข้าสู่วิกฤต ซึ่งไตสามารถทำงานได้เพียง <15
อาการโรคไต
- ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะมีเลือดเจือปน เนื่องจากเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ทางเดินปัสสาวะ หรืออาจจะเกิดเนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
- ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาจากปัสสาวะ มักเป็นอาการของ ” โรคไตเรื้อรัง “
- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยกว่าปกติ เป็นต้น
- หน้าและเท้าบวม
- ภาวะน้ำหนักลดลง หรือน้ำหนัดขึ้นได้ เนื่องจากตัวบวม
- พบก้อนเนื้อเมื่อลูบคลำบริเวณไต
- ผิวหนังผิดปกติ ซีด คัน มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย
- ปากขม เบื่ออาหาร รวมถึงมีอาการคลื่นไส้
จะเห็นได้ว่า สัญญาณของโรคไต มักแสดงออกมาเด่นชัดจากปัสสาวะ เนื่องจากเป็นการทำของของไตโดยตรง การสังเกตปัสสาวะจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งปริมาณ สี ความขุ่น และกลิ่นของปัสสาวะ ที่จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติหลาย ๆ อย่างของร่างกายได้นอกจากโรคไต
- จำนวนของปัสสาวะ
คนปกติจะถ่ายปัสสาวะวันละ 3 ถึง 5 ครั้ง ควรถ่ายปัสสาวะส่วนใหญ่ในเวลากลางวัน ตั้งแต่ตื่นนอนเช้าถึงก่อนเข้านอน ส่วนกลางคืนหลังเข้านอนแล้วไม่ควรถ่ายปัสสาวะอีกจนถึงเช้า นอกจากจะดื่มน้ำมากหรือในเด็กเล็ก หรือคิดมาก นอนไม่หลับ อาจถ่ายปัสสาวะในเวลากลางคืนได้อีก
อย่างไรก็ตามการถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ อาจเป็นเพราะ ความวิตกกังวลซึ่งกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่ได้เป็นโรคไต หรือโรคของทางเดินปัสสาวะก็ได้ ถ้าปัสสาวะบ่อยเป็นประจำกะปริบกะปรอย อาจเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือเป็นโรคไตพิการเรื้อรัง
ผู้ใหญ่ควรถ่ายปัสสาวะวันละเกือบลิตร และไม่ควรเกินสองลิตรถ้าถ่ายปัสสาวะน้อยไปส่วนใหญ่เกิดจาการดื่มน้ำน้อย หรือเกิดจากการเสียน้ำทางอื่นเช่น เหงื่อออกมาก ท้องเดินท้องร่วง อาเจียนมาก เป็นต้น ส่วนน้อยเกิดจากโรคไต โรคหัวใจ และอื่น ๆ ถ้าถ่ายปัสสาวะมากไปส่วนใหญ่มักเกิดจากาการดื่มน้ำมาก หรือพบในโรคเบาหวาน เบาจืด โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไตพิการเรื้อรังบางระยะ การกินยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
บางครั้งพบว่าไม่มีปัสสาวะเลยหรือทั้งวันถ่ายปัสสาวะได้น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วนของลิตร (น้อยกว่า 1 ถ้วยแก้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ, โรคเป็นพิษเนื่องจากปรอท, โรคไตอักเสบอย่างรุนแรง, ภาวะช็อค (เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ) เป็นต้น
“มะเร็งไต” พบน้อยแต่อัตราเสียชีวิตสูง สัญญาณแรกของโรคคืออะไร?
สัญญาณเตือน! “ปัสสาวะเป็นฟอง” ร่างกายอาจฟ้องโรคไต-เบาหวาน
สำหรับอาการผิดปกติในการขับปัสสาวะ เช่น ปวดท้องน้อยในขณะถ่ายปัสสาวะ แสบที่ช่องถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแล้วรู้สึกไม่สุดอยากจะถ่ายอีกทั้ง ๆที่ไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะขัด อาจมีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
- สีของปัสสาวะ
ปัสสาวะปกติมีสีเหลืองอ่อนเหมือนฟางข้าว ถ้าดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะก็น้อยทำให้สีเข้มขึ้นถึงสีเหลืองอำพัน ถ้าดื่มน้ำมากปัสสาวะก็มากทำให้สีอ่อนลง จนเหมือนไม่มีสีได้ถ้าปัสสาวะมีสีผิดปกติไปจากนี้ เช่น
- สีเหลืองอำพันแดง อาจเกิดจากสีของยูโรบิลิน ซึ่งเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงในเส้นเลือดแตกมากกว่าปกติ
- สีเหลืองน้ำตาลหรือเหลืองเขียว มีฟองสีเดียวกับน้ำปัสสาวะ อาจเป็นสีของน้ำดี จะพบในภาวะดีซ่านของโรคตับหรือท่อน้ำดี
- สีแดงหรือสีน้ำล้างเนื้อ อาจเป็นสีของเลือดซึ่งออกมาจากบาดแผลส่วนใดส่วนหนึ่งของทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจากนิ่วหรือเกิดจากการอักเสบหรืออาจปนเปื้อนมาจากปากช่องคลอดซึ่งเป็นรอบเดือนของผู้หญิงก็ได้
- สีคล้ายน้ำนมอาจเป็นสีของหนอง ซึ่งเกิดจากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะหรืออาจเป็นสีของไขมัน ซึ่งเกิดจากการที่ท่อน้ำเหลืองอุดตัน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเท้าช้าง
ปัสสาวะผิดปกติจะเก็บไปตรวจทำอย่างไร ?
- ก่อนที่จะเก็บปัสสาวะ ควรจะต้องทราบเสียก่อนว่า จะเก็บเพื่อตรวจหาอะไร เช่น ต้องการดูสีควรงดอาหารและยาที่ทำให้เกิดสีก่อนสักวันสองวัน เป็นต้น
- ก่อนถ่ายปัสสาวะเพื่อเก็บตรวจ ควรล้างปากช่องอวัยวะที่จะถ่ายให้สะอาด หรือจะใช้สำลีชุบน้ำเช็ค ถ้าเป็นหญิงต้องเช็ดจากหน้าไปหลังเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากช่องคลอดหรือทวารหนัก
- ควรเก็บปัสสาวะครั้งแรกที่ตื่นนอนเช้า ก่อนกินอาหารหรือน้ำใด ๆ เพราะมีความเข้มข้นมากที่สุด
- ควรเก็บปัสสาวะระยะกลาง ๆ ของการถ่ายมาดู ระยะนี้ปัสสาวะออกมาจากกระเพาะปัสสาวะ ส่วนระยะเริ่มแรกถ่ายกับตอนสุดท้ายที่ขมิบ ควรจะใช้ภาชนะแยกอีกใบหนึ่งหรือสองใบรองไว้ สังเกตการขุ่น ซึ่งอาจจะปนเปื้อนมาจากช่องคลอด ไม่ได้เกิดจากความขุ่นของปัสสาวะก็ได้
- ควรส่งตรวจทันทีเมื่อถ่ายใหม่ ๆ ภายใน 3 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ สสส.
อาหาร 6 กลุ่มที่ผู้ป่วย “โรคไตเรื้อรัง” ต้องรู้ กินแบบไหนช่วยชะลอโรค?