"ไม่แปรงฟัน" ไม่จบแค่กลิ่นปาก แต่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและสมองเสื่อม
รู้หรือไม่ ? การไม่แปรงฟัน-แปรงฟันไม่สะอาด ไม่ได้จบแค่กลิ่นปาก หมดความมั่นใจ หรือคนรอบข้างไม่อยากคุยด้วย แต่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ทั้งหัวใจและสมองโดยตรง
อ.ทพ.ดร.อรรถวุฒิ เลิศพิมลชัย ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ว่า มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าสุขภาพช่องปากสามารถเกี่ยวโยงไปถึงสุขภาพอื่นโดยรวม โดยเฉพาะโรคหัวใจ การที่เราไม่แปรงฟัง แปรงฟันไม่ถูกวิธี ทำมีให้เชื้อโรคมาสะสมอยู่ในช่องปาก ทำให้เกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบหรือรำมะนาดได้ ซึ่งโรคเหงือกดังกล่าวจะมีเชื้อโรคหมักหมมอยู่ตลอดเวลา
“กลิ่นปาก” สัญญาณบอกสุขภาพช่องปากแย่ เช็กอาการบอกโรคเรื้อรัง
“รากฟันเทียม” ทางออกของสุขภาพฟัน คุณภาพต่างจากรากฟันแท้หรือไม่?
โดยเชื้อโรคนี้สามารถหลุดรอดเข้าไปผ่านกระแสเลือดและมีผลต่ออวัยวะต่างๆ ได้ และผลการศึกษาพบว่าคนไข้ 3 ใน 4 หรือประมาณ 75 % ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรครำมะนาด หลายคนแทบไม่มีอาการเลย อย่างมากก็แค่แปรงฟันมีเลือดออก มีกลิ่นปาก หรืออาจมีอาการเหงือกบวม เป็นๆ หายๆ ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคหัวใจและโรงสมองเสื่อมได้โดยที่ไม่รู้ตัว
เช่นเดียวกับ ทันตแพทย์หญิงนฤมล ทวีเศรษฐ์งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยเอาไว้ว่า ฟังผุที่เป็นเรื่องเล็กๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เชื้อโรคจะลุกลามไปที่รากฟัน เกิดหนองส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น ตา โพรงไซนัส และสมองจากที่มีการตรวจพบเชื้อโรคที่ทำให้เกิดฟันผุ “สเตร็ปโตคอคคัส” ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวที่ตรวจพบที่เยื่อบุหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ ดังนั้น จึงมีการตื่นตัวในการป้องกันรักษาสุขภาพฟัน เพื่อไม่ให้โรคฟันผุไปทำให้โรคหัวใจทวีความรุนแรงขึ้นหรือมีผลเสียต่อโรคหัวใจได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้โรคหัวใจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ในทางวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันข้อมูลรับรองว่าฟันผุทำให้เกิดโรคหัวใจได้หรือไม่ แต่พบว่ามีผลเสียต่อโรคหัวใจ เมื่อใดที่มีเลือดออกในช่องปาก เชื้อแบคทีเรียในช่องปากจะสามารถเข้าไปในกระแสเลือดได้ และเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจมีอาการปวดฟันมาเข้ารับการรักษา อาจต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
วิธีลดอาการเสียวฟัน และแปรงฟันยังไงให้ถูกวิธี ป้องกันสูญเสียฟัน
อย่างที่บอกว่า ปัญหาช่องปากหากไม่รีบรักษา อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม อาทิ
- สุขอนามัยย่ำแย่ มีกลิ่นปาก คุณภาพชีวิตย่ำแย่
- เสี่ยงฟันผุ เหงือกอักเสบ บวม ฟันโยก
- โรคปริทันต์อักเสบและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังผ่านทางกระบวนการอักเสบ ซึ่งส่งผลให้มีค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าผู้ป่วยที่มีสภาวะเหงือกปกติ
- การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แย่ลง
- เสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปาก
ความเสี่ยงเหล่านี้จะจบลงโดยไม่ลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ เพียงแค่ดูแลฟันให้สะอาด โดยการแปรงฟันอย่างถูกต้องอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนสม่ำเสมอ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีลดความเสี่ยงโรคต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,โรงพยาบาลรามาธิบดี และ กรมอนามัย
“เสียงแหบ” เรื่องธรรมดา อาจสัญญาณเตือนโรคได้? อาการแบบไหนควรพบแพทย์?
เสียงแหบ-กลืนยาก อาจเป็นสัญญาณ "มะเร็งโคนลิ้น" ชนิดโตเร็วเสี่ยงต่อชีวิต